🧱อิฐที่ใช้สร้างบ้านมีอะไรบ้าง?
วันนี้รวบรวมอิฐที่ใช้สร้างบ้านในปัจจุบันมาให้ดูว่ามีอัไรบ้างค่ะ บางอย่างก็ยังไม่แพร่หลายแต่ลองดูไว้เป็นทางเลือก
1.อิฐมอญ หรือ อิฐแดง
2.อิฐเซรามิกหรืออิฐพันปี
3.อิฐบล็อกประสาน
4.บล็อกประสานมวลเบา
5.คอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมวลเบา
6.คอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก
7.คอนกรีตบล็อกนาโน หรือ อิฐบล็อกนาโน
8.อิฐคูลบล็อก Cool Block
9.อิฐขาว
💟การเลือกใช้งานวัสดุแต่ละชนิดในการสร้างบ้าน
🔻1.อิฐมอญหรืออิฐแดง
ค่าการดูดซึมน้ำ : 10-17% แล้วแต่แหล่งผลิต
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,100
จำนวนก้อน/ตรม. : 120
น้ำหนัก/ตรม. : 130 kg
ขนาดก้อน : 3x6x15 cm
จุดเด่น :
- ช่างชำนาญในด้านการก่อเพราะเป็นการก่อผนังที่นิยมมาตั้งแต่อดีต
- เนื้ออิฐมีรูพรุนน้อย ดูดซึมน้ำ จึงใช้ก่อห้องน้ำได้
- การยึด เจาะ ผนัง ทำได้ง่าย
จุดด้อย
- อิฐก้อนเล็ก ใช้ระยะเวลาในการก่อหลายวัน
- ต้องทำเสาเอ็นและคานเอ็น
- สะสมความร้อนที่ตัวอิฐ
ข้อควรระวัง :
- ไม่ควรก่อผนังให้จบแผงในวันเดียวเพราะปูนก่อมีการยุบตัว
🔻2.อิฐเซรามิกหรืออิฐพันปี
ค่าการดูดซึมน้ำ : 4-5% แล้วแต่แหล่งผลิต
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,600
จำนวนก้อน/ตรม. : 14
น้ำหนัก/ตรม. : 120kg
ขนาดก้อน : 7.5x20x35 cm
จุดเด่น :
- ความพรุนน้อยกว่าอิฐมอญ ความหนาแน่นสูง
- รับน้ำหนักได้มากแต่น้ำหนักตัวมันเองไม่มาก
- มีรูกลวงใหญ่ เป็นฉนวนกันความร้อนในตัว
- ขนาดก่อนมาตรฐานกว่าอิฐมอญ
- ตัวก้อนเป็นระบบ Interlog
- ฉาบบางได้ ประหยัดปูน
จุดด้อย :
- ราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรพอๆกับอิฐมอญ
ข้อควรระวัง : นึกไม่ออก นอนน้อยช่วงนี้
🔻3.อิฐบล็อกประสาน
ค่าการดูดซึมน้ำ : 10-18
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,400-1,600
จำนวนก้อน/ตรม. : 40
น้ำหนัก/ตรม. :
ขนาดก้อน : 10x12.5x25
จุดเด่น :
- ใช้การ Inter log กันของเดือย ไม่ต้องมี
- ไม่ต้องเสียเวลาก่อปูนหรือรอปูนก่อเซทตัว
- ไม่ต้องฉาบ
- ไม่ต้องมีเสาเอ็นและคานเอ็น เนื่องจากมีความแข็งแรงจากน้ำปูนที่กรอกและเดือยที่ล็อกกันไว้
จุดด้อย :
- ต้องกรอกน้ำปูนเพิ่มความแข็งแรงโครงสร้าง
- ยังไม่เป็นที่นิยมหรือทางเลือกหลัก แต่มีสร้างกันหลากหลาย
- ส่วนผสมแต่ละที่หลากหลาย
ข้อควรระวัง :
- หากไม่ได้ฉาบผิว ควรเคลือบผนังน้ำยาประเภท Water Repellant ลักษณะใส (โปร่งแสง) ที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้งน้ำและความชื้นได้ดี มีให้เลือกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ชนิดมีฟิล์มสีใส เงามัน 2.ชนิดไม่ขึ้นฟิล์มสี
- ไม่นิยมฉาบทับเพราะจะเพิ่มน้ำหนักโครงสร้าง
- ยังไม่แพร่หลาย ควรหาช่างที่ชำนาญด้านการก่ออิฐบล็อกประสาน
- การสร้างมากกว่า 1 ชั้น ควรปรึกษาวิศวกร
เพิ่มเติม : https://itdang2009.com/วิธีก่อผนังอิฐบล็อกประ/
🔻4.บล็อกประสานมวลเบา
ค่าการดูดซึมน้ำ : 25
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,000-1,100
จำนวนก้อน/ตรม. : 22.22
น้ำหนัก/ตรม. : 200-240
ขนาดก้อน : 9.5x15x30
จุดเด่น :
- ลูกผสมระหว่างบล็อกมวลเบากับบล็อกประสาน
- น้ำหนักเบา
จุดด้อย :
- ไม่ต้องก่อแบบอิฐแต่ต้องใช้น้ำปูนทรายหยอดลงรูแทน
ข้อควรระวัง :
- ยังไม่แพร่หลาย ควรหาช่างที่ชำนาญด้านการก่ออิฐบล็อกประสาน
- ผู้ออกแบบควรศึกษาข้อมูลเรื่องนี้จากผู้ผลิตถึงวิธีการใช้งาน ข้อจำกัด อย่างถี่ถ้วน เนื่องจากข้อมูลเรื่องนี้ใน internet นั้นมีให้ศึกษาน้อยมาก
🔻5.คอนกรีตมวลเบา หรือ อิฐมวลเบา
ค่าการดูดซึมน้ำ : 40+
ความหนาแน่น kg/m3 : 700
จำนวนก้อน/ตรม. : 8.33
น้ำหนัก/ตรม. : 50
ขนาดก้อน : 7.5x20x60
จุดเด่น :
- น้ำหนักเบา ลดน้ำหนักในโครงสร้าง
- ช่างมีความชำนาญ หาได้ทั่วไป
- ตัวคอนกรีตมีความพรุนเสมือนสูญญากาศจึงกันความร้อนได้
- ก้อนใหญ่ ก่อไว ไม่ต้องรอปูนก่อเซ็ตตัว
- มีขนาดก้อนที่หลากหลายตั้งแต่ 7.5 cm จนถึง 25 cm
- ย่นระยะเวลาในการก่อสร้างให้ไวขึ้น
จุดด้อย :
- ตัวคอนกรีตมีความพรุน จึงดูดน้ำได้ดี
- ไม่เหมาะนำไปใช้ในส่วนที่โดนน้ำ น้ำขังตลอดเวลาเช่นห้องน้ำ
- รับน้ำหนักได้น้อยกว่าอิฐมอญ
- ต้องใช้พุกสำหรับผนังอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ
ข้อควรระวัง :
- ใช้ปูนก่อและปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบาเท่านั้น
- ควรเก็บไว้ในที่ที่ไม่โดนฝน
อ้างอิงการดูดซึมน้ำ : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eng_ubu/article/download/84408/67210/204511
และ https://www.tsme.org/home/phocadownload/MENETT21/amm/amm32/the%20effect%20of%20air%20bubbles%20on%20absorb%20moisture%20%20in%20construction%20materials%20of%20building%20amm32.pdf?fs=e&s=cl
🔻6.คอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก
ค่าการดูดซึมน้ำ : 10-11 แล้วแต่แหล่งผลิต
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,800-2,000
จำนวนก้อน/ตรม. : 12-13
น้ำหนัก/ตรม. : 120
ขนาดก้อน : 7x19x39
จุดเด่น :
- ใช้งานได้หลากหลาย มีหลายชั้นคุณภาพ แยกตามประเภทการใช้งาน
- ชั้นคุณภาพ ก : กำแพงภายนอกใต้ดิน บนดิน ไม่มีการปกป้องผิว
- ชั้นคุณภาพ ข : กำแพงภายนอกใต้ดิน บนดิน มีการปกป้องผิว
- ชั้นคุณภาพ ค : ใช้ทั่วไป กำแพงภายในภายนอก มีการปกป้องผิวกันความเสียหายจากดินฟ้าอากาศ
จุดด้อย :
- เนื่องจากความกลวงมีมาก จึงไม่เหมาะกับการทำผนังที่ต้องเจาะเพื่อรับน้ำหนัก
- ซึมน้ำได้ง่าย
ข้อควรระวัง :
- ควรเลือกอิฐที่มี มอก.
- ควรนำคอนกรีตบล็อกไปแช่น้ำก่อนใช้งาน 1 ก้อน เพื่อดูว่าเปื่อย ยุ่ย หรือไม่
🔻7.คอนกรีตบล็อกนาโน หรือ อิฐบล็อกนาโน
ค่าการดูดซึมน้ำ : -
ความหนาแน่น kg/m3 : -
จำนวนก้อน/ตรม. : 13-14
น้ำหนัก/ตรม. : 218
ขนาดก้อน : 20x40x18
จุดเด่น :
- ไม่ต้องมีเสาและคาน
- เนื้อเป็นคอนกรีต สามารถผสมได้ตามสูตร
- โครงสร้างเป็น Wall bearing system
- ก่อสร้างแบบ Modular หรือต่อแบบเลโก้
- ใช้งานได้หลากหลายประเภท
- ทำตัวอิฐเองได้โดยการซื้อโมลมาหล่อเอง
จุดด้อย :
- เหมาะสำหรับสร้างบ้าน 1-2 ชั้น สูงไม่เกิน 6 เมตรเท่านั้น
ข้อควรระวัง :
- เนื่องจากเป็นระบบการก่อสร้างแบบใหม่ ควรศึกษาและตัดสินใจให้ดี
- ต้องทำการบ่มน้ำเหมือนบ่มคอนกรีต
🔻8.อิฐคูลบล็อก Cool block
ค่าการดูดซึมน้ำ : 14%
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,800-2,000
จำนวนก้อน/ตรม. : 12-13
น้ำหนัก/ตรม. : 110-120
ขนาดก้อน : 7x19x39
จุดเด่น :
- ขนาดก้อนเท่าคอนกรีตบล็อกหรืออิฐบล็อก
- มีโฟม EPS ตรงกลางเป็นฉนวนกันเสียงกันความร้อน
จุดด้อย :
- ถึงจะมีโฟมมาชูจุดขายด้านการกันเสียงกันร้อน แต่ตัวมันเองยังมีจุดด้อยคือ สามารถยุ่ยได้เมื่อโดนน้ำ
ข้อควรระวัง :
- เทสการแช่น้ำ 1 ก้อนก่อนใช้เพื่อดูคุณภาพวัสดุ
🔻9.อิฐขาว
ค่าการดูดซึมน้ำ : 15%
ความหนาแน่น kg/m3 : 1,600
จำนวนก้อน/ตรม. : 30-32
น้ำหนัก/ตรม. : 150
ขนาดก้อน : 7x11x24
จุดเด่น :
- มีให้เลือกทั้งแบบก่อโชว์และก่อฉาบ
- ความหนาแน่นสูงเท่าอิฐเซรามิก
- ตัวอิฐมีร่อง ช่วยในการฉาบแบะยึดเกาะ
- ใช้ปูนก่อ ปูนฉาบ เช่นเดียวกับอิฐมอญเนื่องจากอัตราการดูดน้ำต่ำ ไม่แย่งน้ำเหมือนอิฐมวลเบา
- ดึงข้อดีของอิฐมอญกับอิฐมวลเบามารวมกัน
จุดด้อย :
- ต้องสั่งกับผู้ผลิตโดยตรง ไม่ได้มีขายทั่วไปตามท้องตลาด
- ค่าจัดส่งที่สูงตามเพราะสถานที่ผลิตมีน้อย
หมายเหตุ : ข้อมูลที่นำมานั้น เป็นข้อมูลจากผู้ผลิตซึ่งบางทีอาจจะไม่ได้ตรงกับ มอก. และบางข้อมูลนั้นอาจคลาดเคลื่อนเนื่องจากส่วนผสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละที่
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น