BOQ คืออะไร ?
BOQ (Bill of Quantities) คือ เอกสารแสดงราคากลางในการก่อสร้าง เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนสร้างบ้าน รายละเอียดในใบ BOQ หลักๆจะแสดงปริมาณงาน และราคาวัสดุก่อสร้างที่ถอดแบบมาจากแบบก่อสร้างทั้งหมด ทั้งจากแบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง และแบบวิศวกรรมระบบ
ใครคือคนที่ควรถอด BOQ กลาง?
- สถาปนิกหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง โดยไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้าง
บทความนี้เหมาะกับใคร?
- เหมาะกับคนที่ต้องการสร้างบ้าน มีแบบบ้านเป็นของตนเองแต่ยังไม่มี BOQ ใช้ผู้รับเหมาทั่วไป ไม่ใช่งานประมูลเอกชน งานราชการ งานสร้างบ้านกับธนาคาร
ทำไมถึงต้องมี BOQ
- เพราะถ้าหากเรามี BOQ ของตัวเองอยู่ในมือ เราจะไม่เสียเปรียบผู้รับเหมา เราจะได้รู้ว่าราคาของบ้านเราที่แท้จริงคือเท่าไหร่ หากเรามีแต่ BOQ ของผู้รับเหมาแล้วเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง เราก็จะดูไม่เป็นโดนเขาหลอกอยู่ดี
จ้างบริษัทออกแบบครบวงจรพร้อมสร้างมี BOQ มาด้วย
- กรณีนี้บริษัทออกแบบที่รับสร้างให้เราด้วยนั้น ให้ถือว่าเขาก็เหมือนผู้รับเหมาคนหนึ่ง การที่ BOQ ออกมาจากคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้าง ให้ถือสะว่าเป็นของผู้รับเหมา เราควรจ้างถอด BOQ แยกด้วย
จะเสียหลักพันหรือโดนโกงหลักแสน?
- การจ้างถอด BOQ 1 หลังสำหรับงานบ้านราคาอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท แต่การจ่ายเงินงวดแรกวันทำสัญญานั้นมีมูลค่า 10-20% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 100,000-300,000 บาท เป็นการจ่ายเงินแลกกับกระดาษที่พอเกิดปัญหาขึ้นมาก็ตามตัวไม่ได้
ดูอย่างไรว่าตั้งใจมาโกง
- งวดงานที่ 1 จนถึงงานโครงสร้างอาคารก่อนขึ้นงานโครงหลังคาทั้งหมด (หรือประมาณงวดที่ 3) โดย % รวมทั้งหมดจะอยู่ที่ 35% ไม่ควรมากกว่านี้ ต้องอย่าลืมว่าผู้รับเหมาเบิกเงินเราไปก่อนถึงค่อยลงมือทำงานเราเสียเปรียบเสมอ
- หรืองวดงาน BOQ ช่วงงวดแรกหนัก ช่วงท้ายๆเบา อันนี้ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง เพราะช่วงที่เสียเงินมากที่สุดคือช่วงงานสถาปัตย์ คือนับแต่โครงหลังคาลงมา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเบิกเงินน้อย
BOQ ดีอย่างไรกับเจ้าของบ้าน
ในกรณีที่เจ้าของบ้านมีแบบก่อสร้างอยู่แล้วในมือและต้องการหาผู้รับเหมามาเสนอราคา หากเจ้าของบ้านไม่มี BOQ ก็สามารถจ้างถอดราคาได้ ค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณ 2,000-3,000 บาท เพื่อให้ได้ราคาบ้านออกมา โดยจะได้ BOQ ออกมา 2 แบบคือ
แบบที่ 1 - แบบที่มีรายการ ราคาครบถ้วน
แบบที่ 2 - แบบที่มีแต่รายการแต่ไม่มีปริมาณงานและราคาต่างๆ
BOQ แบบที่ไม่มีปริมาณงานและราคาต่างๆคือส่วนที่จะไว้ให้ผู้รับเหมาที่จะเสนอราคา ให้ทำการถอดแบบโดยอ้างอิงรายการตามที่ได้ทำไว้แล้ว เวลาทำการเทียบราคาก็จะทำได้ง่าย ไม่งงและตัดสินใจได้ง่าย หาจุดที่ผิดปกติได้ง่ายขึ้น ข้อควรระวังคืออย่าเผลอให้ตัวเต็มไป.....
หากเจ้าของบ้านมี BOQ ที่ได้มาตรฐาน การแบ่งงวดงานใน BOQ จะไม่ใช่การเกลี่ยงวดเท่ากันงวดละ 10 หรือ 20 อีกต่อไป แต่จะเป็นการแบ่งงวดงานการจ่ายเงินตามการทำงานที่แล้วเสร็จของหน้างานจริงๆแทน เช่น BOQ ชุดนี้แบ่งเป็น 15 งวด แต่ละงวดอาจจะไม่เท่ากันเลยสักงวดก็ได้ และไม่ได้หมายความว่าทำเสร็จ 1 งวดแล้วเบิก 1 ครั้ง แต่จะกลายเป็นว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างงานไปแล้วเสร็จจนถึงงวดงานนี้และต้องการเบิก อาจจะเป็น 1-3 งวดงานเบิกทีก็เป็นได้
สิ่งที่เจ้าของบ้านต้องทำคือ ไล่ตรวจความคืบหน้าตามแต่ละงวดงานใน BOQ ว่าครบถ้วนถูกต้องไหมแล้วถึงจ่ายเงิน โดยการจ่ายเงินก็ควรจะมีการทำสัญญาที่เป็นกิจจะลักษณะแต่ต้นและตกลงกันถึงการหักเงินประกันผลงานในการจ่ายงวดงานทุกครั้ง 10% ออกไปด้วย และรวมถึงการขอหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) หรือ ตัวย่อ คือ LG จากทางผู้รับเหมา (ในส่วนนี้มักเกิดขึ้นกับการก่อสร้างมูลค่าหลายล้านบาท)
ปัจจุบัน การถอด BOQ กับการเขียนแบบด้วย AutoCAD นั้นกำลังถูกแทนที่ด้วยโปรแกรมเขียนแบบที่มีความทันสมัยกว่า สามารถขึ้นงาน 3D ออกมาเป็นแบบก่อสร้างและถอดปริมาณ BOQ ขณะขึ้น 3D ออกมาได้ทันที มีความแม่นยำสูงมากซึ่งรู้จักกันในนาม "BIM"
ดูรูปอื่นๆ Click >> https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103092245644734/?d=n
""" สำหรับตัวอย่าง BOQ ที่แนบมาท้ายรายการคือ BOQ ที่ผู้รับเหมาทำงานกับบริษัทเอกชนจึงเป็นระบบผู้รับเหมาลงทุนก่อน ทำงานเสร็จค่อยเบิกตามงวดงาน ไม่มีการวางเงินล่วงหน้า ณ วันทำสัญญาเหมือนการจ้างงานผู้รับเหมาทั่วไปที่ทำงานไม่ใหญ่มาก ดังนั้นงวดงานที่ 1 จึงเป็นงานโครงสร้างเลย
งวดที่ 1 ประมาณ 4%
งวดที่ 2 ประมาณ 7.25%
งวดที่ 3 ประมาณ 5.6%
งวดที่ 4 ประมาณ 6.9%
❤️รวมบทความเกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103807862239839/?d=n
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น