วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

EP.14 ทำสัญญาสร้างบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง (สำหรับคนสร้างบ้านทั่วไป)




เมื่อเจ้าของบ้านดำเนินการขออนุญาตสร้างบ้านสำเร็จแล้วจนได้ใบอนุญาตมา ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำคือทำสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมา ประกอบด้วยเอกสารตามด้านล่างนี้


1.สัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้าน

2.BOQ 

3.แบบก่อสร้าง

4.มาตรฐานงานก่อสร้าง / รายการประกอบแบบ 

5.พรบ.เกี่ยวกับสัญญาสร้างบ้าน 

6.หลักฐานทั้ง 2 ฝ่ายหรือเอกสารประจำตัว 

7.หลักฐานการโอนเงิน / ใบเสร็จรับเงิน 

8.อากรแสตมป์

9.แผนงานการก่อสร้าง (ถ้ามูลค่าสูงหรือเจ้าของบ้านต้องการ)


โดยทั้งหมดต้องทำเป็น 2 ชุดและลงนามทั้ง 2 ฉบับทุกหน้า พร้อมวันที่และมีการอธิบายให้เข้าใจตรงกันและในส่วนที่เป็นข้อความ ควรมีการอ่านต่อหน้าให้รับรู้ทั้ง 2 ฝ่าย


📌เจ้าของบ้านหรือผู้รับเหมาควรเตรียม ?

- เราเป็นฝ่ายจ่ายเงินก่อน ไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาของผู้รับเหมาเพราะเราเปรียบเสมือนนายจ้าง ขอแค่เพียงสัญญาเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่ายและรับรู้เอกสารร่วมกัน


โดยสามารถอธิบายความสำคัญคร่าวๆของเอกสารแต่ละอย่างได้ดังนี้


1.สัญญาก่อสร้างบ้าน

- รายละเอียดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง

- ราคาค่าก่อสร้างบ้านและขอบเขต

- ที่ตั้งสถานที่ก่อสร้าง

- ระยะเวลาในการก่อสร้าง

- ประกอบไปด้วยการแบ่งงวดงาน 

- จำนวนเงินที่ต้องจ่าย จำนวนเงินหักค่าประกันผลงาน

- ค่าปรับกรณีล่าช้า

- ข้อตกลงร่วมกันกรณีมีการจ่ายเงินงวดงานล่าช้า

- ข้อตกลงในการก่อสร้างร่วมกัน

- การหักเงินประกันและการคืนเงินประกัน

https://cdn-cms.pgimgs.com/static/2020/05/Build-Contract.pdf


2.BOQ

- แสดงราคาค่าก่อสร้างทั้ง 4 หมวดชัดเจนประกอบไปด้วยหมวดงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานไฟฟ้า งานสุขาภิบาล

- รายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละหมวดงาน

- แสดงปริมาณ ราคาวัสดุ ราคาค่าแรง

- แสดงค่าดำเนินการและกำไร (บางรายอาจจะไม่แสดงส่วนนี้ แต่ไปบวกในทุกส่วนแล้ว)

สำหรับข้อมูลเชิงลึกสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่นี่

BOQ คืออะไร ทำไมผู้รับเหมาฉันถึงไม่มี?

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103092245644734/?d=n

แนวทางการแจกแจง BOQ สำหรับงานบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/105168232103802/?d=n


3.แบบก่อสร้าง ประกอบไปด้วย

- แบบสถาปัตยกรรม จัดทำโดยสถาปนิก 

- แบบโครงสร้าง ออกแบบโดยวิศวกร รวบรวมแบบโดยสถาปนิก 

- แบบไฟฟ้า ออกแบบโดยวิศวกรไฟฟ้า รวบรวมแบบโดยสถาปนิก

- แบบสุขาภิบาล ออกแบบโดยวิศวกรโยธา รวบรวมแบบโดยสถาปนิก


ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแบบขออนุญาตกับแบบก่อสร้าง

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/108096685144290/?d=n


4.มาตรฐานงานก่อสร้าง / รายการประกอบแบบ

- ปกติมาตรฐานงานก่อสร้างต่างๆจะถูกใส่อยู่ในแบบก่อสร้างแต่ละหมวด ถือเป็นมาตรฐานในการก่อสร้างทั่วไปที่ผู้รับเหมาหรือช่างในประเทศไทยควรรู้และถือปฏิบัติ

- มาตรฐานงานก่อสร้างงานโครงสร้างจะอยู่ในแบบแผ่น S-01 หรือ S0-01 

- มาตรฐานงานก่อสร้างสถาปัตยกรรม จะอยู่ในแบบแผ่น A-01 หรือ A0-01 

- มาตรฐานงานก่อสร้างงานไฟฟ้าจะอยู่ในแบบแผ่น E-01 หรือ E0-01

- มาตรฐานงานก่อสร้างงานสุขาภิบาลจะอยู่ในแบบแผ่น SN-01 หรือ SN0-1

หากไม่มีควรมีแนบในสัญญาก่อสร้างด้วย ซึ่งหากดาวน์โหลด เนื้อหามาตรฐานจะค่อนข้างเยอะ ควรให้สถาปนิกเขียนกำกับมาในแบบ เลือกเฉพาะที่จำเป็นจะดีกว่า

https://drive.google.com/file/d/1ZQRsz1Y4Q5o8c2Of1-QeG7YpA5KRFvRV/view?usp=sharing


5.พรบ.เกี่ยวกับสัญญาก่อสร้างบ้าน

พรบ.ชุดนี้ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างในการสร้างบ้าน เนื้อหาโดยรวมเป็นกฎหมายบังคับการรับประกันงานโครงสร้าง 5 ปี งานส่วนควบอาคาร 1 ปี เป็นสิ่งที่ผู้รับเหมาสมควรทราบ

https://download.asa.or.th/03media/04law/pca/ba59.pdf


6.หลักฐานทั้ง 2 ฝ่ายหรือเอกสารประจำตัว 

- บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน

- เอกสารจดทะเบียนบริษัท

- หากเป็นสถาปนิก / วิศวกร ขอใบอนุญาตเพื่อความอุ่นใจ


7.หลักฐานการโอนเงิน / ใบเสร็จรับเงิน 

- โอนผ่านธนาคาร / App เพื่อเก็บสลิปเป็นหลักฐานจะดีกว่าเงินสด


8.อากรแสตมป์

- สัญญาจ้างทำของ เป็นตราสารที่ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามลักษณะเตราสาร 4 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องเสียอากร 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือ เศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้าง (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)


สัญญาจ้างทำของ ดังต่อไปนี้ต้องชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร


(ก) ตราสารที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป สำหรับตราสารที่กระทำตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป หรือ


(ข) ตราสารที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป


ตราสารดังกล่าว หากมิได้มีการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ถือว่าตราสารนั้นไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ต้องชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินและเสียเงินเพิ่มอากร ตามมาตรา 113 และ114 แห่งประมวลรัษฎากร


Cr.https://www.taxguruthai.com/topic/153/สัญญาจ้างทนายว่าความ


เพิ่มเติมเรื่องอากรแสตมป์

https://www.dharmniti.co.th/contract-stamp/

ยื่นเสียแบบออนไลน์ได้แล้ว

https://www.dst.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4077:5-transactions-e-stamp-duty&catid=29&Itemid=180&lang=th


สุดท้ายนี้ อย่าลืมถ่ายรูปหมู่เป็นภาพประทับใจ เผื่อมีปัญหาภายหลังจะได้จำหน้ากันได้


ส่วนด้านล่างนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับทำสัญญาจ้างออกแบบบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/106591385294820/?d=n


❤️รวมบทความเกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103807862239839/?d=n


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น