สาเหตุหลักๆมาจากการเก็บความร้อนของตัวบ้านที่มาจาก 2 ส่วนคือ
1.หลังคา
2.ผนังบ้าน / กระจก
โดยทั้ง 2 ส่วนนี้มีการกระจายความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านที่ไม่เหมือนกันและมีผลกับความร้อนภายในบ้านแต่ละที่แตกต่างกัน โดยจะอธิบายในมุมกว้างๆและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาที่ช่วยบรรเทาความร้อนภายในบ้านให้ด้วยนะคะ
1.หลังคา
- หลังคาคือส่วนที่รับความร้อนจากแสงแดดในช่วงกลางวันทุกทิศทุกทางจึงเป็นตัวที่ทำให้บ้านร้อนมากที่สุด
- ความร้อนจากกระเบื้องหลังคาถ่ายลงมายังช่องว่างเหนือฝ้าเพดานหรือส่วนโครงหลังคาบ้าน
- ความร้อนขังตัวอยู่ในหลังคาและแผ่ความร้อนลงมาที่ตัวบ้านอีกทีนึงทำให้บ้านชั้นเดียวที่ฝ้าเพดานเตี้ยจะร้อนมาก ถ้าบ้านชั้นบนก็จะร้อน
- การถ่ายเทอากาศจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิ 2 ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเกิดในตอนที่อากาศเริ่มเย็นลงนั่นคือช่วงเย็น ความร้อนในหลังคาจะลอยขึ้นสูงออกไปตามซอกกระเบื้องและลมช่วยพัดพาออกไป
สรุปคือ มีมวลก้อนความร้อนขังตัวอยู่ในชั้นหลังคาและแผ่ความร้อนลงมา ต้องหาวิธีระบายความร้อนออกไป บ้านก็จะเย็นลง
วิธีการแก้ไข☀️
- หากเป็นหลังคาเก่าก็ใช้สีทาหลังคาสะท้อนความร้อนช่วย หรือเลือกใช้หลังคาที่สะท้อนความร้อนออกไปได้
- เลือกสีหลังคาที่เป็นสีอ่อนช่วยในการดูดกลืนพลังงานดังนี้ พื้นผิวหลังคาสีดำ แสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 5% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัสดุ 95% พื้นผิวหลังคาสีเทา เมื่อแสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 50% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัสดุ 50% พื้นผิวหลังคาสีขาว เมื่อแสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 95% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัสดุ 5%
- ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้แผ่นหลังคา ซึ่งมีหลากหลายแบบ
- ติดตั้งฉนวนใยแก้วเหนือแผ่นฝ้าเพดานเพื่อกันความร้อนแผ่ลงตัวบ้านด่านสุดท้าย
- ใช้ฝ้าเพดานภายนอกให้เป็นรุ่นระบายอากาศ
- ติดพัดลมดูดอากาศที่ฝ้าเพดานและกระเบื้องหลังคาเพื่อดึงความร้อนออกไป
- บางคนติดสปริงเกอร์ที่หลังคาเพื่อบดความร้อนที่กระเบื้องหลังคา
- ติดช่องระบายอากาศที่หน้าจั่ว
📌สำหรับตัวผู้เขียนคิดว่าวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุดคือ ติดพัดลมดูดอากาศฝ้าเพดานชั้นบนสุดตรงโถงกางเพื่อดูดอากาศในบ้านให้ขึ้นไปบนหลังคา ให้อากาศมีการ flow ของลมและลดอุณหภูมิลง ติดพัดลมดูดอากาศที่ฝ้าเพดานในห้องน้ำเพื่อดูดความร้อนเข้าห้องน้ำ และติดพัดลมดูดอากาศที่ผนังห้องน้ำเพื่อดูดความร้อนในห้องน้ำออกไปอีกที เวลาพังก็เปลี่ยนง่าย ไม่ต้องปีนหลังคา หากต้องการดูดอากาศออกก็ปิดประตูห้องน้ำไว้ ยิ่งติดสัก 2 ห้องก็ระบายอากาศไว เลือกรุ่นที่มีตะแกรงกันแมลง ส่วนถ้าจะกันผีก็ห้อยพระเครื่องติดไว้ เวลาซ่อมแซมก็ง่ายไม่ต้องปีนหลังคา หลักการก็คล้ายกับ scg ที่ดูดอากาศจากพื้นด้านนอกเข้าบ้านแล้วใช้พัดลมดูดอากาศที่ฝ้าเพดานโถงกลางดูดความร้อนขึ้นไปบนชั้นหลังคาและใช้พัดลมดูดรุ่นพิเศษที่ออกแบบสำหรับกระเบื้องหลังคาดูดความร้อนไปอีกที
2.ผนังบ้าน / กระจก
- ผนังที่รับแดดแรงที่สุดคือทิศใต้ไปจนถึงทิศตะวันตก
- ความร้อนสะสมในผนังและคายความร้อนในตอนกลางคืน ทำให้บ้านร้อนกว่าจะเย็นก็หลังเที่ยงคืนขึ้นไป
- ยิ่งวัสดุที่นำมาก่อผนังเป็นวัสดุที่แน่น ตัน ไม่มีความพรุนของอากาศ ยิ่งทำให้สะสมความร้อนสูง
วิธีการแก้ไข
- ปัจจุบันมีตัวเลือกผนังมากมายที่ออกแบบมาให้กันความร้อน เพียงแต่ยังไม่เป็นที่นิยมซึ่งถ้าเจ้าของบ้านยังไม่พร้อมจะเปิดใจก็ต้องใช้วิธีอื่นเข้าช่วย
- การก่อผนัง 2 ชั้น / การกรุผนังเพิ่มอีกชั้น ตรงผนังทางทิศใต้และทิศตะวันตกเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน
- เลือกใช้สีรองพื้น และสีทาบ้านที่สะท้อนความร้อนหรือเป็นฉนวน
- ติดตั้งระแนงเพื่อลดอัตราการกระทบของแสงบนผนัง
- เลือกใช้หน้าต่างที่มีกระจก 2 ชั้นหรือติดฟิล์มสะท้อน
- ปลูกต้นไม้บังแดดในฝั่งที่โดนแสงแดดมากที่สุด
📌สำหรับผู้เขียนคิดว่า การลดความร้อนที่ผนังบ้านกับกระจกได้ดีที่สุดคือ การปลูกต้นไม้และปรับทัศนียภาพรอบบ้าน การปลูกต้นไม้ช่วยปรับความร้อนใต้ต้นไม้และเมื่อลมพัดอากาศใต้ต้นไม้เข้าบ้านจะทำให้เราได้อากาศที่ไม่ร้อนมาก อีกทั้งยังแผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาในระยะยาว การปลูกหญ้าหรือลดพื้นที่คอนกรีตรอบตัวบ้านเป็นอีกเรื่องที่สำคัญและถือเป็นตัวดีที่ทำให้ความร้อนจากพื้นคอนกรีตเข้าบ้าน อีกทั้งสะท้อนความร้อนเข้าบ้านด้วย มีแต่เสียกับเสียแต่คนส่วนใหญ่มองข้ามกันมากที่สุด
ที่มารูปภาพ : SCG , banidea , และอื่นๆ
❤️รวมบทความเกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103807862239839/?d=n
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น