หลายคนยังสงสัย สับสน งุนงง งงงวยคิดว่าทั้ง 2 อย่างคือเรื่องเดียวกัน ดินทรุดบ้านก็ต้องทรุดสิ บ้านทรุดเพราะดินทรุดไง !!! ความจริงถ้าทำถูกต้องตามหลักวิศวกรรม มันจะกลายเป็นคนละเรื่องอย่างสมบูรณ์
🏠บ้านทรุด เกิดจากอะไร?
ถ้าเราสร้างบ้าน 1 หลัง วิศวกรคำนวณให้มีการลงเข็มและตอกถึงดินดาน (ชั้นดินแข็งที่สุด ณ ที่นั้นๆ) น้ำหนักของบ้านจะถูกถ่ายเทตั้งแต่โครงหลังคา ลงเสาและคาน ต่อม่อ ฐานราก เข็ม และไปจบที่ชั้นดินดานด้านล่างคือตัวรับน้ำหนักที่แท้จริง ดังนั้นการที่บ้านจะทรุดได้นั้นมีโอกาสน้อยมากเพราะตัวบ้านยืนอยู่บนชั้นดินดานแล้ว ดินโดยรอบแทบไม่มีผล แม้จะเป็นดินถมใหม่ ถมเก่า ดินบรรพบุรุษก็แทบไม่ได้อยู่ในกระบวนการถ่ายน้ำหนักนี้เลย
📌การที่บ้านจะทรุดนั้นเกิดจาก 2 สาเหตุคือ
1.มีการตอกเข็มแต่ไม่ถึงดินดาน ใช้แรงเสียดทานจากดินข้างๆรับไว้ เมื่อดินเปลี่ยนสภาพก็รับน้ำหนักไม่ได้เกิดการทรุด
2.การต่อเติมส่วนอื่นๆแยกตามมาแล้วไปเกาะกับโครงสร้างเดิม เมื่อส่วนที่ต่อเติมไว้รับน้ำหนักไม่ได้ด้วยเหตุผลใดก็ตามมันจึงไปดึงให้บ้านฉีก พอบ้านฉีดคนก็จะเข้าใจว่าบ้านทรุด บ้าน 1 หลังที่อยู่บนโครงสร้างเดียวกันมันก็จะช่วยกันรับน้ำหนักจึงเป็นการยากที่จะทรุด
📌ดินทรุด แล้วบ้านจะทรุดมั้ย
ดินมันก็ทรุดไปเรื่อยๆของมัน จะหยุดตอนไหนก็ไม่มีใครคาดเดาได้ แต่การทรุดของดินไม่ส่งผลกับบ้านที่ลงเสาเข็มถึงชั้นดินดาน ยกเว้นลงไม่สุด การที่ดินทรุดไปเรื่อยๆนั้นจะส่งผลทำให้ดินใต้บ้านต่ำลงจนเกิดเป็นโพรงใต้บ้าน เมื่อเห็นโพรงบางคนก็คิดว่าบ้านชั้นทรุดดด ช่วยด้วยย!!! ไม่จ้า แค่ดินทรุดลงตามธรรมชาติ บางคนกังวลใจตัวอะไรจะเข้าไปอยู่ใต้บ้านหรือมองว่าบ้านจะไม่สวย ก็สามารถหาวิธีแก้ได้หลากหลายวิธี
บางส่วนที่มากับบ้านแต่ดันทรุดลงไป นั่นเพราะส่วนนั้นไม่มีเข็มรองรับหรือเพราะใช้เข็มสั้น เน้นแรงเสียดทานจากดินนั่นเอง
ปล.ส่วนดินถล่มนี่ต้องออกแบบกำแพงกันดินโดยปรึกษาวิศวกรนะจ๊ะ
❤️รวมบทความเกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/103807862239839/?d=n
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น