วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

EP142. เปลี่ยนหลอดไฟ💡เลือกหลอดยังไงดี?


 เปลี่ยนหลอดไฟ💡เลือกหลอดยังไงดี?


เชื่อว่าต้องมีใครหลายๆคนที่อยากจะเปลี่ยนหลอดไฟ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกหลอดอย่างไร ต้องดูตรงส่วนไหนบ้าง ยิ่งสำหรับสาวๆแล้วล่ะก็ อิยั๋ง วะ? งั้นเรามาตั้งสติ ค่อยๆเลือกทีละ Step กันค่ะ


🔻ก่อนอื่นเราต้องแยกส่วนประกอบดวงโคมให้ได้ก่อนว่าหลักๆมันมีอะไรบ้าง


1️⃣.ประเภทการกำเนิดแสง หรือตัวหลอด

- หลอดไส้ (Incandescent Lamp) แสงเกิดจากไส้หลอด กินไฟมาก

- หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube) แสงไฟเกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านปรอท จะคายพลังงานในรูปแบบรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ หลอดก็จะเปล่งแสงออกมา

- หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ การทำงานคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์

- หลอด LED แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำหลอด


2️⃣.ขั้วหลอด 

สำหรับบ้านพักอาศัย ใช้กันอยู่ไม่กี่แบบหรือพูดง่ายๆคือ ประมาณ 7-11 มีขาย โดยหลักๆที่ใช้กันเยอะๆจะแบ่งเป็นแบบดวงโคมและหลอดนีออนแบบราง 

:: ประเภทดวงโคม 💡

- E27 เป็นทรงที่นิยมที่สุด ใช้ได้ทั้งหลอดไส้ LED หลอดตะเกียบ หลอดทรงน้ำเต้า ทรงปิงปอง ทรงกระเปาะ BULB เรียกได้ว่าขวัญใจบ้านพักอาศัยทั่วไป

- E14 เป็นขั้วหลอดจำปา ประเภทหลอดไส้ปัจจุบันสามารถหาซื้อหลอด LED ขั้ว 14 มาแทนหลอดไส้ได้แล้ว

:: ประเภทแบบราง

- G13 ขั้วแบบเขี้ยวใช้กับหลอดนีออน T8, T5 (ฟลูออเรสเซนต์) ซึ่งบ้านสมัยเก่า บ้านต่างจังหวัดมักนิยมหลอดไฟประเภทนี้


3️⃣.ขั้วต่อหลอดไฟ / รูปแบบขั้วที่ฐาน

สำหรับประเภทขั้วต่อหลอดไฟนั้นจะสัมพันธ์กับขั้วหลอดไฟเราสามารถดูจากรูปทรงของขั้วต่อหลอดไฟหรือจากหลอดไฟเก่าที่ถอดออกมาก็ได้  ส่วนประเภทรูปแบบขั้วที่ฐานนั้นก็มีหลายแบบดังนี้

- ขั้วแป้น

- ขั้วห้อย

- ขั้วพร้อมสวิตช์

- ขั้วกันน้ำ

-----------------------------------------------

🔷 วิธีการดูหลอดไฟเพื่อนำไปเลือกซื้อ


🔻STEP 1 : ดูรูปทรงหลอดว่าเป็นหลอดแบบไหน?

ปัจจุบันมีหลอดหลายแบบมากแต่ที่นิยมที่สุดคือ แบบกระเปาะ(BULB)/ แบบคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ /แบบฟลูออเรสเซนต์ หลอดนีออนรางยาว

🔻STEP 2 : ดูที่ขั้วหลอด / ขั้วต่อหลอดไฟเดิม

เพื่อดูว่าเป็นขั้วแบบไหน เช่น หลอดดวงโคม ขั้ว E27 หรือแบบรางนีออน ขั้ว G13

🔻STEP 3 : ทำการเลือกหลอดไฟที่จะเปลี่ยน

โดยหลักๆที่ต้องดูมีดังนี้

- ขั้วหลอดไฟ ให้ตรงกับขั้วต่อหลอดไฟเดิม

- ประเภทหลอดที่ต้องการ เช่น LED , หลอดตะเกียบ

- W หรือ watt อัตราการกินไฟนั่นเอง แต่อย่าคิดจะเอา W น้อยอย่างเดียว เพราะการกินไฟน้อยก็ส่งผลต่อความสว่างของแสง(Lumen)ด้วย ถ้าต้องการสว่างมาก จำนวน W จะยิ่งมาก 

- Lumen คือ ความแรงของแสงที่เปล่งออกมา หากต้องการเปลี่ยนหลอดไฟห้องใหม่ ควรคำนวณค่าความส่องสว่างพื้นฐานในแต่ละห้องประกอบเพื่อช่วยเรื่องการมองเห็นและคุณภาพชีวิต  https://www.facebook.com/100889769198315/posts/155953227025302/?d=n

- โทนแสงที่ต้องการ โดยปกติมาตรฐานมี 4 โทนสี Warm white 2700-3000k ออกส้ม ,ออกส้ม 3500-4100k, Natural white 4000-5000k , Day light 5500-6500k  โดยค่าต่ำๆจะมีโทนแสงสีส้ม ส่วนค่าสูงๆ จะเริ่มขาวไปจนถึงสีฟ้า

- CRI ย่อมาจาก “Color Rendering Index” หรือค่าความถูกต้องของสี ยิ่ง CRI ต่ำ ยิ่งมองเห็นสีของวัตถุค่อนข้างหม่น-ไม่สดใส ในขณะที่ค่า CRI ยิ่งสูง ความสดของสีก็จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับ  

- กระแสไฟ 220-240V สำหรับไฟฟ้าในประเทศไทย

- มาตรฐาน มอก.

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น