วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ระยะหุ้มคอนกรีตคืออะไร ? ทำไมต้องหนุนลูกปูน ?

ระยะหุ้มคอนกรีตคืออะไร ? ทำไมต้องหนุนลูกปูน ?
📌ระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) คือระยะของคอนกรีตที่กำหนดให้อยู่ห่างจากเหล็กเสริมโครงสร้างตามมาตรฐานกำหนด สำหรับงานบ้านพบได้ที่ฐานราก ตอม่อ เสา คาน พื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับอากาศ น้ำ และความชื้น ซึ่งจะทำให้เกิดสนิมในเหล็กได้ หากหุ้มคอนกรีตไม่มากพอจะทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลัง
📌ทำไมต้องหนุนลูกปูน ?
ลูกปูนเป็นวัสดุที่ใช้ดันเหล็กเสริมโครงสร้างรอบไม้แบบให้ได้ระยะตามที่กำหนดในแบบ เพราะถ้าไม่หนุนอะไรเลยจะทำให้เวลาเทคอนกรีต คอนกรีตจะดันเหล็กเสริมเบี้ยวข้าง ติดท้องคานไม่ได้ระยะตามแบบ (ไม่เทก็เบี้ยว)
*** ลูกปูน ก็คือลูกหนุนประเภทหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีทั้งหมด 3 แบบคือ 1.ลูกหนุนที่ทำจากปูน 2.ลูกหนุนที่ทำมาจากเหล็ก 3.ลูกหนุนที่ทำมาจากพลาสติก แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ ลูกปูนนั่นเอง
📌สนิมเกิดได้อย่างไร?
เพราะเนื้อคอนกรีตมีช่องว่างอยู่ภายใน อากาศ น้ำ สารเคมี เกลือ ฯลฯ ก็แทรกตัวเข้าสู่เนื้อคอนกรีตและเข้าไปกัดเซาะเนื้อเหล็กที่ฝังอยู่ในคอนกรีตทำให้เกิดสนิมขึ้น ดังนั้นการหนุนลูกปูนจึงจำเป็นอย่างมากเพื่อให้เหล็กเสริมนั้นถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อซีเมนต์
🌟ข้อกำหนดของทางวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) กำหนดอย่างไร
1.ฐานรากและองค์อาคารส่วนสำคัญที่สัมผัสกับดินตลอดเวลา ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 7.5 ซ.ม.
2.คอนกรีตที่สัมผัสกับดินหรือถูกแดดถูกฝน
- เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม.
3.คอนกรีตที่ไม่สัมผัสกับดินหรือไม่ถูกแดดถูกฝน
- ในแผ่นพื้น ผนัง ตง เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 2 ซ.ม.
- คาน เหล็กเสริมหลักและเหล็กลูกตั้ง ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 3 ซ.ม.
- เสา ทั้งแบบเหล็กปลอกเดียวและเหล็กปลอกเกลียว ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 3.5 ซ.ม.








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น