BOQ ที่นำไปใช้งานได้คือแบบไหน?
เขื่อว่าหลายคนตอนนี้คงรู้แล้วว่าสร้างบ้านต้องมี BOQ แต่พอได้มาแล้วยังไงต่อ หรือว่านี่แหละสุดยอดนอนกอดได้เลย? งั้นมาดูกันค่ะว่า BOQ ของคุณใกล้เคียงแบบนี้หรือเปล่า?

โดยปกติที่เห็นๆกันยังไงก็มีสรุปราคาแยกแต่ละหมวดปิดหน้าเล่ม โดยจะประกอบไปด้วย 4 หมวดดังนี้
1.1.หมวดงานสถาปัตยกรรม คิดเป็น 45-55% ของราคาก่อสร้างทั้งหมด
1.2.หมวดงานโครงสร้าง คิดเป็น 30-35% ของราคาก่อสร้างทั้งหมด
1.3.หมวดงานสุขาภิบาลและไฟฟ้ารวมกัน คิดเป็น 15% ของราคาก่อสร้างทั้งหมด
โดยปกติส่วนใหญ่จะหาคนที่จ้างเขียนแบบบ้านหลังเล็กๆแล้วมีงานระบบสุขาภิบาลกับไฟฟ้าที่มาจากวิศวกรโดยตรงยาก แต่ส่วนใหญ่มักได้จากที่สถาปนิกเขียนให้สะมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นแนวทางอ้างอิงที่พอจะให้ผู้รับเหมาตีราคางานระบบได้อยู่แล้ว
ใบสรุปหน้าปกอ่านที่นี่ : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=108381898449102&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa
อ่านเพิ่มเติมการแยกไส้ใน BOQ : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=139473282006630&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

ไม่ว่าราคาบ้านจะ 1 ล้านหรือ 10 ล้าน แล้วเจอการแบ่งงวดงานเป็นแบบมี 10 งวด เฉลี่ยเท่าๆกัน 10 งวด แล้วไม่มีไส้ในเนื้อหาราคาวัสดุ ราคาค่าก่อสร้าง แบบนี้ก็ไม่ต้องคุยต่อให้เสียเวลา เพราะ BOQ ที่ดีต้องมีการจ่ายงวดงานที่เชควัสดุ เชคเนื้อหาได้ตาม BOQ ว่าใช้วัสดุยี่ห้ออะไร ราคากี่บาท ค่าแรงช่างกี่บาท แล้วสุดท้ายราคาค่าก่อสร้างที่จะต้องจ่ายแต่ละงวดจะขึ้นอยู่กับการก่อสร้างหน้างานจริงๆว่าทำถึงไหน (แนะนำอ่านข้อ 3 ใน Link ต่อ)

ส่วนมาก BOQ ที่พบเจอกันคือ BOQ ที่ถอดแล้วแบ่งหมวดงานตามวัสดุที่ใช้ก่อสร้างแยกเป็นหมวดเช่น งานพื้นกระเบื้อง งานผนัง งานหลังคา ซึ่งก็ง่ายดีต่อการตรวจดูราคา แต่จะมายากตอนที่ใช้มันทำสัญญาแล้วไม่สามารถอ้างอิงการจ่ายเงินได้ จึงอยากแนะนำให้ทำ BOQ เป็นแบบจ่ายงวดงานตาม Progress หน้างานตาม Link ด้านล่างนี้
อ่านเพิ่มเติม :

หากใครยังไม่มั่นใจว่า BOQ จะนำไปใช้งานจริงๆได้มั้ย ก็หยิบเครื่องคิดเลขมาดีดราคาแต่ละหมวดงานคร่าวๆได้ตามนี้ (อัตราส่วนนี้อ้างอิงจากหน้าตาบ้านจัดสรรโดยรวมค่าวัสดุและค่าแรงแต่ละหมวด)
- งานเตรียมการ 5-10%
- งานโครงสร้าง ค.ส.ล. 30-35%
- งานโครงหลังคาและกระเบื้องหลังคา 5-10%
- งานผนังรวมเอ็น 10-15%
- งานประตู/หน้าต่าง 10-13%
- งานฝ้าเพดานรวมโครง 2-5%
- งานพื้นทั้งหมด 5-10%
- งานทาสี 2-5%
- งานไฟฟ้าและสุขาภิบาล 12-15%
ไม่ต้องตามนี้เป๊ะ ดูแค่หมวดไหนดีดออกมาไกลเกินจะเป็นไปได้
ส่วนทำไมไม่ครบ 100% เพราะไม่ได้เอามาทุกหมวดและเป็นค่าเฉลี่ย เอาแค่มาให้เชคคร่าวๆ เพื่อดูว่าพอไปวัดไปวาได้มั้ย บางบ้านใช้หน้าต่างมียี่ห้อติดตลาดอย่างดี ราคาอลูมิเนียมอย่างเดียวก็ 10% ขึ้นไปแล้ว

เมื่อนำค่าก่อสร้างมาหารด้วยพื้นที่ตัวบ้านในส่วนที่มีผนังล้อมรอบและมีหลังคา ประเภทต่ำกว่า 10,000 บาท / ตารางเมตร มันผิดวิสัยในการสร้างได้ สิ่งที่ควรทำไม่ใช่รีบเอา BOQ มาเซ็นต์สัญญา แต่ควรให้ผู้รับเหมากลับไปเชคราคาอีกรอบหรือนำมาเทียบกับ BOQ ในมือเราว่าที่มีอยู่น่ะกี่บาท (หลังเล็กๆจ้างถอดล้านละ 1,000 ) เพราะ Pattern การโกงคือ 1.เอาราคาถูก / ตรม.มาล่อ 2.เบิกงวดที่ 1 ให้เยอะ จบงานโครงสร้างต้องได้ 40-50% ซึ่งบอกแล้วว่ามันไม่ปกติ ต้องย้อนกลับไปอ่านข้อ 4
(ผู้รับเหมาส่วนมากจะเทตอนงานโครงสร้าง เพราะงานหมวดสถาปัตยกรรมตั้งแต่กระเบื้องหลังคาต้องวางเงินสั่งผลิตและเงินจม)





ปกติพวกนี้มี Pattern ของหน่วยวัสดุที่ใช้กันอยู่แล้วเพื่อใช้เชคราคาได้ง่ายตามท้องตลาด เช่น
- เหล็ก คิดเป็น กิโลกรัม ตามร้านค้าก็จะประกาศราคาเหล็กแต่ละอย่างหน่วยเป็น กิโลกรัมเช่นกัน บาง BOQ ระบุหน่วยเป็น "เส้น" มันเสียเวลาในการหาน้ำหนักเหล็กแล้วนำมาคำนวณกลับ ใครพลาดจุดนี้ก็อาจจะเสียท่าผู้รับเหมาแน่นอน

" ค่าดำเนินการ 5-10%+ กำไร 5-10%+ ภาษี 7%"
พอเห็นส่วนนี้ก็จะรู้สึกว่า "แพง โกง ใส่มาทำไม" ก็อยากจะบอกว่านี่คือ Pattern หลักที่เขาใช้ในงานเอกชนและราชการกัน
ข้อดี
- ราคาวัสดุที่ใส่ลงไปจะเป็นราคาตามท้องตลาด ไม่บวกเพิ่มเพราะมีค่ากำไรท้ายสุดแล้ว และถ้าเจอ Pattern นี้ สามารถเชคราคาแล้วสอบถามถึงตัวที่ราคาแพงเกินไปได้ (แต่ถ้าถัวๆกันไป อย่าไปถามเลย)
ส่วนคนที่ไม่ชอบ ไม่อยากเห็น ผู้รับเหมาเขาก็ใจดี + ในราคาค่าของ ค่าแรง เพิ่มให้เลย ทีนี้เชคราคายังไงเอ่ย
ส่วนถามว่าใส่ราคาค่าของที่ขายกันตามตลาดแล้ว ผรม.เขาไม่ได้กำไรส่วนนี้ใช่มั้ย ตอบคือ ก็ได้อยู่เพราะราคาที่เขาซื้อจริงเป็นราคาสำหรับผู้รับเหมา แต่ที่โชว์ใน BOQ น่ะขายปลีก....
สรุป : เรื่องทั้งหมดเคยเขียนไว้แล้ว แต่มันกระจาย วันนี้เลยเขียนสรุปให้ใจความยาวๆให้อ่านอีกรอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น