👷♀️👷♂️ทำไมต้องจ้างทีมตรวจบ้านมาตรวจบ้านจัดสรร?
บทความนี้เขียนสำหรับบุคคลที่สนใจจะซื้อบ้านจัดสรร ตึกแถว คอนโดและสามารถนำไปใช้กับการซื้อบ้านมือสองได้ โดยจะเขียนถึงเหตุผลที่ลึกลงไป ไม่ได้มีเจตนากล่าวหาใครเพียงแต่บอกบุคคลทั่วไปที่กำลังตัดสินใจว่าจ้างคนมาตรวจบ้านดีมั้ย?
หลายครั้งที่เห็นคนจ้างคนมาตรวจบ้านจัดสรรแล้วพบว่ามีสิ่งที่ผิดพลาด มีปัญหาอยู่บ่อยๆแล้วมันหลุดการตรวจงานมาได้อย่างไร ไม่มีคนคุมระหว่างก่อสร้างเลยหรือ ?
ทุกคนที่ซื้อบ้านจัดสรร คอนโด ตึกแถวต่างๆ กว่าที่คุณจะได้เข้าไปตรวจบ้านนั่นก็คือตอนที่คุณจะทำสัญญา สิ่งที่คุณเห็นทั้งหมดด้วยตาเปล่าล้วนเป็นงานสถาปัตยกรรม (งานทาสี ฉาบผนัง กระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น) แต่สิ่งที่มองไม่เห็นต้องเข้าไปเปิดดูต้องใช้เครื่องมือ scan ต้องมีเครื่องตรวจวัดนั้นได้แก่ งานโครงสร้าง งานไฟฟ้า งานสุขาภิบาล ซึ่งเป็นงานขอบเขตของวิศวกรระดับภาคีในการตรวจสอบ ปรึกษาให้คำแนะนำ (ถ้าผิดพลาดขออภัย) ซึ่งคนธรรมดาจะไปตรวจยังไง?
⏰ในการก่อสร้างบ้านส่วนที่สำคัญที่สุดนั้นคือ
- งานโครงสร้าง สมัยนี้ส่วนใหญ่สร้างโดยระบบ Precast
- งานไฟฟ้า จากประสบการณ์ตรวจบ้านจัดสรรบอกได้เลยว่าไม่ใช่ทุกคนจะเดินงานระบบไฟฟ้าได้ (ดูไม่เป็นแต่เดินเป็นงูกิงกองไม่น่าจะใช่)
- งานสุขาภิบาล เช่น ตำแหน่งท่อกับ FD.ไม่ตรงกันก็แก้แบบหยาบๆ
- งานสถาปัตยกรรม บางส่วนคนทั่วไปมองเห็นได้ บางส่วนต้องมีเทคนิค
ส่วนวิธีการตรวจเป็นอย่างไร ก็ต้องจ้างเขาแหละนะเพราะงานพวกนี้ไม่ใช่ขอบเขตโดยตรงของสถาปนิกแต่ถ้างานสถาปัตยกรรมอันนี้ใช่
-----------------------------------------------
💎ที่เขียนมายาวมากๆด้านบนแค่เกริ่นไม่ใช่สาระสำคัญที่อยากจะสื่อ สาระสำคัญอยู่ด้านล่างนี้
ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรเนี่ยจะมีคนเซ็นต์ควบคุมงาน 2 คนได้แก่ สถาปนิกกับวิศวกร (ขอเล่าตามประสบการณ์แต่ละที่ก็แตกต่างกันไป)
1️⃣วิศวกร + โฟร์แมน คือ คนที่อยู่ควบคุมหน้างาน บริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตาม master schedule ที่ถูกวางไว้ในแต่ละโครงการโดยจะมีกรอบเวลาที่ตั้งไว้ชัดเจน เช่น จบโครงการ 5 ปี บ้าน 500 หลัง ต้องสร้างให้ได้ปีละ 100 หลัง/1โครงการ เฉลี่ยเดือนละ 8-9 หลัง ยิ่งขึ้นเดือนที่ 2 ก็จะทบมาเรื่อยๆ ลองนึกสภาพยิ่งวิศวกรและโฟร์แมนน้อย จะตรวจสอบงานทุกหลังไม่ให้หลุดได้อย่างไร? ไหนจะต้องประชุมถี่ๆเหมือนคนว่างงานต้องไปติดต่อนู้นนี่ ตรวจหลังนี้หลังนั้นทำอะไรไปบ้างกว่าจะมารู้ตัวอีกที ไม่เห็นแล้ว วันหยุดคนคุมงานหยุดแต่หน้างานบางทีก็ไม่หยุดนะจ๊ะ เพราะกำหนดการส่งงวดงานมันมีอยู่ไม่งั้นผู้รับเหมาจะเบิกรอบไม่ทันขาดเงินหมุน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า "มันมีปัจจัยที่ทำให้บ้านทุกหลังไม่ได้ QC 100% ถึงจะมีคนคุมงานก็ตาม"
(เขียนให้ขนาดนี้ต้องนึกออกแล้วนะว่ากำลังจะสื่ออะไร)
2️⃣สถาปนิก คือ อีกคนหนึ่งที่เข้าตรวจงานเพราะเซ็นต์ควบคุมงานก็ต้องไปตรวจแหละนะ บทบาทนี้ไม่ได้ถูกบังคับด้วยกรอบเวลาว่าบ้านต้องเสร็จตามกำหนด งานที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมก็จะถูกตรวจสอบโดยสถาปนิกเพื่อเป็นการลด Defect ที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด การตรวจต้องเข้าตรวจตลอดเพื่อที่จะได้แก้ให้ทันไม่ต้องมาแก้งวดสุดท้าย (ไม่ตรวจก็เจอคนตรวจของลูกค้าอยู่ดี)
📌สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าอื่นใดนั่นคือ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ตรวจ ควบคุมงานก่อสร้าง ไม่ใช่ทุกคนจะมากประสบการณ์หรือพอมีประสบการณ์ก็ย้ายงาน Up เงินเดือนเป็นเหมือนกันทุกวิชาชีพ
และการที่ควรจะจ้างคนตรวจงานนั่นเพราะคุณไม่มีทางเห็นหรอกว่าระหว่างก่อสร้างเขาทำอย่างไร มีอะไรหมกเม็ดบ้าง การจ้างทีมงานตรวจสอบแบบ Full-Service นั้น ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแลกกับบ้านราคาหลักล้าน เปรียบเสมือนการสร้างบ้านธรรมดาแล้วจ้าง Consult เพียงแต่บ้านจัดสรร Consult ได้ตอนจะซื้อรวดเดียวเท่านั้นเอง
ส่วนจะจ้างใครติดต่อกันเลยเพราะไม่เคยไปตรวจบ้านบทความนี้เขียนในมุมกลับของคนที่เคยทำงานในวงการบ้านจัดสรรมาบอกเท่านั้น
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น