วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ปลั๊กภายนอกในแบบระบุ WP คืออะไร ? 🤔

 ปลั๊กภายนอกในแบบระบุ WP คืออะไร ? 🤔



WP ย่อมาจากคำว่า Waterproof แปลว่า "กันน้ำ" แล้วแบบไหนที่มันกันน้ำ ต้องเลือกอย่างไรให้เหมาะสมการใช้งาน ในแบบ spec มาแต่ไม่ระบุรุ่นหรือมีแต่ไม่ชัวร์ อยากเลือกเองต้องดูอย่างไร?


ก่อนอื่นต้องไปทำความรู้จักสิ่งนี้ก่อน  IPxx


📌มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ IP Ratings ( Ingress Protection Ratings) ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า


- ค่า IP จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักคือ รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX  เช่น IP65 IP67 IP68 เป็นต้น  

- ตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 

- ตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8

- แสดงระดับการป้องกัน


เมื่อเราทราบคร่าวๆแล้วว่าเราต้องดู IPxx ประกอบ คราวนี้ก็อยู่ที่ลักษณะการใช้งานในแต่ละจุดที่กำหนดไว้เป็นแบบไหน


📌ลักษณะรูปทรงการป้องกันในแต่ละแบบ (เฉพาะปลั๊กงานบ้านๆ)


1.แบบฝาครอบกันน้ำ เวลาเสียบปลั๊กต้องเปิดฝาทิ้งไว้ และแบบเสียบปลั๊กแล้วยังคงปิดฝาได้

-  มีหลากหลายรูปแบบและคุณภาพ

- บางรุ่นต้องเปลี่ยนหน้ากากและใช้เต้ารับให้ตรงรุ่น

- บางรุ่นครอบทั้งกล่องไปเลย

- ประสิทธิภาพให้ดูที่ IPxx เป็นหลัก


2.แบบกล่องพร้อมฝากันน้ำ เวลาเสียบปลั๊กต้องเปิดฝาทิ้งไว้ และแบบเสียบปลั๊กแล้วยังคงปิดฝาได้

- เหมาะสำหรับใช้ภายนอก กันฝน กันฝุ่นได้

- แบบเปิดทิ้งไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา เหมาะใช้ชั่วคราวเช่น เสียบปลั๊กดูดฝุ่นแถวโรงจอดรถซึ่งมีโอกาสโดนน้ำ

- แบบเสียบปลั๊กแล้วยังปิดฝาได้เหมาะสำหรับในส่วนที่ต้องโดนน้ำ โดนฝน ฝุ่นได้ตบอดเวลา เช่น ปลั๊กสนามแคมป์ปิ้ง ปลั๊กเครื่องปั้มน้ำ ปลั๊กเสียบตามโต๊ะอาหารกลางแจ้ง

- ประสิทธิภาพให้ดูที่ IPxx เป็นหลัก


การเลือกใช้นั้นเราต้องดูสถานที่และการใช้งานว่าเป็นแบบใด และดูค่า IP ประกอบเพื่อดูว่ากันฝน กันฝุ่นได้มากแค่ไหน อีกทั้งดูคุณภาพ วัสดุที่ใช้ด้วยว่าดีแค่ไหน


ปล.ไม่ใช่แค่ปลั๊กนะจ๊ะ โคมไฟก็มีด้วย

-----------------------------------------------

🎈ตัวเลขแสดงความหมายของ IPxx


ตัวเลขหลักเเรก ป้องกันของเเข็ง


ระดับ 0 - ไม่มีการป้องกันใดๆได้เลย

ระดับ 1 - ป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มิลลิเมตรขึ้นไป

ระดับ 2 - ป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12 มิลลิเมตรขึ้นไป

ระดับ 3 - ป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตรขึ้นไป

ระดับ 4 - ป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรขึ้นไป

ระดับ 5 - ป้องกันฝุ่นละออง ฝุ่นสามารถเล็ดลอดเข้าไปในอุปกรณ์ได้เล็กน้อยแต่ต้องเป็นฝุ่นที่ไม่ทำให้เกิดอันตราย

ระดับ 6 - ป้องกันฝุ่นละอองของสารที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนและป้องกันฝุ่นได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์


ตัวเลขหลักที่สอง ป้องกันของเหลว


ระดับ 0 - ไม่มีการป้องกันจากของเหลวใดๆได้เลย

ระดับ 1 - ป้องกันหยดน้ำที่หยดลงมาในแนวดิ่ง

ระดับ 2 - ป้องกันหยดน้ำที่หยดลงกระทบทำมุม 15 องศาจากแนวดิ่ง

ระดับ 3 - ป้องกันน้ำฝนที่ตกกระทบทำมุม 60 องศาจากแนวดิ่งโดยไม่ก่อเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

ระดับ 4 - ป้องกันจากน้ำได้รอบทุกทิศทางโดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย

ระดับ 5 - ป้องกันสายน้ำ (jet water) ได้รอบทุกทิศทางโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

ระดับ 6 - ป้องกันสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงคล้ายๆกับน้ำทะเลสามารถป้องกันน้ำจากหัวฉีดขนาด 12.5 มิลิเมตรได้รอบทิศทางได้โดยมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปได้เล็กน้อย

ระดับ 7 - ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำ,ป้องกันน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกสูงสุด 1 เมตร

ระดับ 8 - ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำภายใต้แรงกดดันได้ ป้องกันน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เมื่อนำอุปกรณ์ลงไปแช่น้ำในความลึกที่มากกว่า 1 เมตร

ระดับ 9K - ป้องกันสายน้ำ (jet water) ที่มีแรงดันสูงพิเศษสามารถป้องกันน้ำได้รอบทิศทาง ที่อุณหภูมิน้ำสูงสุด 80ºC


ที่มา : https://legatool.com/wp/2033/


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น