วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

💵💸ทำไมจ้างออกแบบแล้วยังมีปัญหา?

 💵💸ทำไมจ้างออกแบบแล้วยังมีปัญหา? 



มีปัญหาที่ตัวสัญญาจ้างนี่แหละ โดยสาเหตุมาจากทั้ง


1.ผู้ว่าจ้างไม่รู้ว่าการแบ่งงวดการจ่ายเงินและกรอบเวลาเป็นอย่างไร

2.ผู้ว่าจ้างเกิดความคลางแคลงใจระหว่างออกแบบไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม

3.สัญญาขาดบางส่วนสำคัญคือเรื่อง สิทธิ์ในตัวแบบเมื่อผู้ว่าจ้างอยากยกเลิกการออกแบบทำให้เสียเปรียบ


ปัญหาเรื่องสัญญาจ้างส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอใครโพสหรอก เพราะคิดว่าจ้างออกแบบมันก็คงเป็นแบบนี้แหละ (คงคิดว่าโดนโกงแค่ช่วงก่อสร้าง) ปล่อยผ่านเรื่อยมา สร้างบ้านแค่ครั้งเดียวก็ไม่รู้ว่าสัญญาแบบอื่นของคนอื่นเป็นแบบไหน เวลาหาคนออกแบบก็เกรงใจเมื่อได้พูดคุยไปแล้ว พอเขาส่งสัญญามาก็ได้แต่เซ็นต์เพราะไม่มีใครเคยมาบอกว่ามันต้องดูอย่างไร


🔥ก่อนอื่นมาดูแนวทางการแบ่งงวดงานปกติตามที่คู่มือสถาปนิกแนะนำค่ะ  ย้ำว่าแนะนำไม่ใช่กฎหมาย


1.งวดที่ 1 - xx% ตกลงรับงาน

2.งวดที่ 2 - xx% ส่งรายละเอียดโครงการและแบบร่างขั้นต้น

3.งวดที่ 3 - xx% ส่งแบบร่างขั้นสุดท้าย

4.งวดที่ 4 - xx% ระหว่างเขียนแบบก่อสร้างจนส่งเล่ม

5.งวดที่ 5 - xx% ระหว่างก่อสร้าง"จนจบงาน


อ้างอิง : หน้า 158 https://asa.or.th/handbook/handbook2547/


-----------------------------------------------

คราวนี้มาดูปัญหาที่พบจากตัวสัญญาจากที่อื่นๆ

-----------------------------------------------


📌ตัวอย่างที่ 1 : แบ่งสัญญาจ้างออกแบบเป็น 2 สัญญา (จำนวน%เท่าไหร่ไม่ทราบได้)


สัญญาตัวที่ 1 คือ ในส่วนของงานออกแบบก่อนเข้าสู่ขั้นเขียนแบบ  

สัญญาตัวที่ 2 คือ ส่วนงานเขียนแบบขออนุญาตหรือเขียนแบบก่อสร้าง


สัญญานี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียกล่าวคือ 


ข้อดี - ผู้ว่าจ้างไม่ได้ถูกผูกมัดไปจนถึงแบบก่อสร้าง หากไม่พอใจในการออกแบบก็จบกันที่ช่วงออกแบบ


ข้อเสีย - หากในสัญญาไม่ระบุชัดเจนว่า เมื่อผู้ว่าจ้างมีการจ่ายเงินค่าออกแบบไปแล้วในสัญญาฉบับแรก สิทธิ์ในตัวแบบที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่เกิดขึ้นถือเป็นของผู้ว่าจ้าง แบบนี้ฝ่ายผู้ว่าจ้างจะเสียเปรียบเนื่องจากจรรยาบรรณสถาปนิกกำหนดว่า สถาปนิกไม่สามารถนำงานของผู้อื่นมาออกแบบต่อได้หากสถาปนิกคนเก่าไม่ยินยอม อันจะนำไปสู่การเพิกถอนใบประกอบวิชทชีพของสถาปนิกผู้ที่ละเมิดข้อกำหนดนั้น (เนื้อหาประมาณนี้คร่าวๆ)


-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างที่ 2 : บ้านพื้นที่น้อยกว่า 150 ตรม.แต่จ้างสถาปนิกออกแบบ

ในสัญญาระบุจ้างออกแบบโดยจะได้แบบสถาปัตยกรรม แบบไฟฟ้า แบบสุขาภิบาล แต่สิ่งที่ไม่ได้คือ แบบโครงสร้าง!!!  และแนะนำให้ใช้ผู้รับเหมาที่คุ้นเคยในการสร้างบ้าน


สัญญานี้แปลกตรงไหน?


- เนื่องจากบ้านขนาดต่ำกว่า 150 ตรม.ไม่ต้องจ้างสถาปนิกออกแบบอีกทั้งถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์งานวิศวกรรมควบคุมก็ไม่ต้องจ้างวิศวกรด้วย ใช้เพียงผังบริเวณและรายการคำนวณจากคนที่มีความรู้ความสามารถในการยื่นขอ  ดังนั้น แบบบ้านนี้อาจจะไม่ได้ใช้แบบยื่นขออนุญาตเลยทำให้เป็นช่องทางซิกแซกให้ไม่ต้องทำแบบ

- การไม่มีแบบโครงสร้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถไปก่อสร้างบ้านกับใครได้เนื่องจากไม่มีแบบโครงสร้างจะคิดราคายังไง ผู้รับเหมาก็เสี่ยงเสียเวลาออกแบบคำนวณคิดให้สุดท้ายไม่เอา  

- การไม่มีแบบโครงสร้าง หาก ผรม.ไม่รับสักรายสุดท้ายต้องไปจ้างออกแบบ คำนวณ เขียนแบบอีก แถมไม่มีคน combine แบบอีก

- ผู้ว่าจ้างเสียเปรียบในการคิดเงินค่าออกแบบเนื่องจากค่าออกแบบส่วนใหญ่คิดจากมูลค่างานก่อสร้าง แต่แบบไม่มีงานโครงสร้างก็เสมือนขัดแย้งกับการออกแบบที่ไม่มีงานโครงสร้าง

- จ้างคนถอด BOQ ไม่ได้เพราะไม่มีแบบโครงสร้างสุดท้ายวนไปที่ผู้รับเหมาเจ้าที่คนออกแบบแนะนำ


-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างที่ 3 : ขั้นตอนการออกแบบตามแนะนำแต่แบบดูแล้วไม่ตรงความต้องการอยากยกเลิกแบบ


คล้ายๆตัวอย่างข้อที่ 1 ค่ะ หลายคนไม่กล้ายกเลิกแบบเพราะเสียดายเงินค่าออกแบบ แต่การปล่อยเนิ่นนานไปทำให้ต่างฝ่ายต่างเสียเวลา และคนที่เสียมากกว่าคือ ฝ่ายผู้ว่าจ้าง เพราะหากสถาปนิกได้ดำเนินงานไปเรื่อยๆ แล้วจู่ๆมายกเลิกแบบผู้ว่าจ้างจะไม่จ่ายเงินไม่ได้เพราะมีการทำงานเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นหากอยากยกเลิกและต้องการได้แบบไปใช้งานต่อต้องจ่ายความเสียหายที่เกิดขึ้นและตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรในสิทธิ์ความเป็นเจ้าของนั้น  ส่วนคนที่ไม่จ่ายค่าแบบแถมเอาแบบไปใช้งานโดยไม่ได้รับการยินยอมก็ระวังโดนฟ้องทั้งคนเอาไปใช้และสถาปนิกที่นำแบบไปใช้ต่อ


การยกเลิกแบบแนะนำว่าควรทำในช่วงงานออกแบบเมื่อจ่ายเงินงวดนั้นแล้วเสร็จ หากไม่แน่ใจว่าแบบโดนใจมั้ยก็ควรจะส่งสัญญาณให้สถาปนิกรับรู้ว่าขอตัดสินใจก่อนกี่วันแล้วค่อยเริ่มดำเนินการต่อ เพราะถ้ายกเลิกแบบช่วงงานเขียนแบบก่อสร้างอันนี้ความเสียหายจะมีมากและจ่ายเงินเยอะเลยทีเดียว


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น