วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

💕 สัญลักษณ์รายการประกอบแบบไฟฟ้าในงานบ้านพักอาศัย

 💕 สัญลักษณ์รายการประกอบแบบไฟฟ้าในงานบ้านพักอาศัย



ส่วนมากมักเจอในแบบผังไฟฟ้าส่วนของงานสถาปัตย์ที่แสดงตำแหน่ง,ระยะ,รูปแบบของดวงโคม ปลั๊กไฟ แอร์ ทีวี งานพวกนี้สถาปนิกจะ spec ลงไปในแบบเพื่อนำทางและบังคับระยะต่างๆ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละแบบกับแบบไฟฟ้าที่มาจากวิศวกรไฟฟ้านะจ๊ะ


ปล.ส่วนงานอาคารขนาดใหญ่ อย่าไปดูมันเลย เยอะ ชิพ หาย....


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🎃ทำไมบ้านจัดสรรถึงก่อสร้างได้ไวกว่า 6 เดือน!!

 🎃ทำไมบ้านจัดสรรถึงก่อสร้างได้ไวกว่า 6 เดือน!!



วันนี้จะมาแบ่งปันข้อมูลและสามารถนำเอาไปปรับใช้สำหรับคนที่อยากจะสร้างบ้านให้ไวขึ้น 


โดยปกติเวลาใครสักคนอยากสร้างบ้าน จ้างสถาปนิกออกแบบบ้านก็มักจะรอให้เล่มก่อสร้างออก เริ่มขยับตัวกันอีกทีตอนหาผู้รับเหมาเสนอราคาเพราะเขาจะเริ่มระบุรายละเอียด Material ของตัวบ้านกันแล้ว (ในกรณีที่ไม่มี Material Spec แนบมา) ซึ่งกว่าจะรู้ว่าใช้ของอะไรงบที่ถอดมาซื้ออะไรได้บ้างก็กินเวลาเนิ่นนาน พอจะสั่งของแต่ละทีก็ต้องรอผู้รับเหมาบอกให้เลือกของหรือรอใกล้ๆถึงเวลาก็สั่งของ สุดท้ายเจอปัญหาต้องรอบริษัทผลิตสินค้าอีกนานโข!!!! จบที่อะไรก็ได้.... เละ ตุ้ม เป๊ะ ทั้งเสียเวลา ยืดเยื้อ ผู้รับเหมาเบื่อหน่าย


ในส่วนงานบ้านจัดสรรที่เป็นระบบแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทุกส่วนถูกคัดสรรและเจาะจงมาแล้วนับตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ถามว่าเลือกได้อย่างไร? คำตอบคือ เซลล์ที่วิ่งเสนองานลูกค้าและสถาปนิกรีเควสขอให้ส่งเซลล์มานำเสนอผลิตภัณฑ์หน่อย ยิ่งโครงการใหญ่มีชื่อเสียงยิ่งได้เปรียบมากๆ


💕โดยส่วนใหญ่แล้วจะเทียบผลิตภัณฑ์กันในหมวดงานสถาปัตย์ เช่น 


- โครงหลังคาสำเร็จรูป ดูหน้าตัดความหนาและการรับประกัน ต้องส่งตีราคาและให้วิศวกรออกแบบก่อนสร้างบ้าน

- หน้าต่างอลูมิเนียม  ดูหน้าตัดความหนา มาตรฐาน ความแข็งแรง สวยงาม รูปแบบการทำสี

- วงกบประตู / ประตู ความสวยงาม หน้าตัด 

- พื้นแบบต่างๆ ดูสี ลวดลาย ความหนา ราคา 

- ไม้บันได ราวจับ โดยปกติจะเทียบพร้อมพื้นเพื่อให้ไปโทนเดียวกัน


💕ส่วนงานอื่นๆที่ไม่สามารถตัดชิ้นส่วนนำมาเทียบกันได้ ไม่ส่งผลในเรื่องการรับประกันและราคาก็จะไปเทียบตามร้านค้าที่ผูกสัมพันธ์อันดีไว้สัก 2-3 ที่


- กระเบื้องหลังคา ไปเลือกสีจริง เทียบสีอื่นๆ สิ่งนี้ใช้ระยะเวลาในการผลิตหลายเดือน

- สุขภัณฑ์ ต้องไปที่ Showroom โดยตรงเพื่อหารุ่นปัจจุบันที่ยังไม่ตกรุ่นการผลิต และดูรูปแบบด้วยตาจริงๆ ของพวกนี้ดูที่ Catalog ไม่ได้

- กระเบื้องห้องน้ำ ต้องทำการเลือกวางเทียบกันแยกแต่ละห้องเพื่อทำการคุมโทนหากมีมากกว่า 2 สีขึ้นไป

- สีทาบ้าน ไปเลือกตอนทาบ้านตัวอย่าง (เลือกยากที่สุดอันดับ 1 )


เมื่อเลือกทุกอย่างได้แล้วว่าจะใช้ Material ใดในการออกแบบก็จะถูกระบุลงไปในแบบก่อสร้างและ BOQ หากเลือกกับร้านค้าที่ตกลงไว้ก็จะทำการติดต่อเพื่อสั่งผลิตก่อนที่จะถึงเวลาใช้งานในโครงการเป็น Lot โดยระบุระยะเวลา หากทางร้านค้ามี Sale เฉพาะเขาจะติดตามการก่อสร้างแต่ละ Lot เอง หากเป็น Sale ที่วิ่งเข้าหาโครงการหรือเรียกมาดูแลโครงการก็จะประสานงานโดยเฉพาะกับคนควบคุมงานหน้างาน ส่วนผู้รับเหมาจะได้ Material Spec เอาไปไว้ประกอบดูรายละเอียด รูป หน้าตา รุ่น ตั้งแต่หัวจรดฐานราก และวัสดุบางส่วนที่สามารถหาซื้อได้เองเช่น ลูกบิด Colt งานไฟฟ้า panasonic 


งานโครงสร้างส่วนใหญ่ใช้วัสดุที่หาได้ตามร้านค้าแถวบ้านทั้งใหญ่และเล็กหรือระบบ Precast มักไม่ส่งผลกับระยะเวลาการก่อสร้างมากนัก ส่วนที่ใช้เวลาคืองานสถาปัตย์เสียมากกว่า แต่การจัดการติดต่อประสานงาน เลือกวัสดุ สินค้าไว้ตั้งแต่แรก ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานเป็นอย่างมาก แทบจะไม่ต้องรอการผลิตแถมวางแผนการเข้าติดตั้งได้อีกด้วย


ดังนั้นหากใครอยากสร้างบ้านได้รวดเร็ว ก็ต้องทำการเลือก Material ที่จะต้องใช้ไว้ตั้งแต่ก่อนถึงเวลา บางอย่างรอนานหลายเดือน ทางที่ดีคือ ติดต่อสอบถามตั้งแต่ก่อนสร้างบ้าน สิ่งใดใช้ระยะเวลานานก็สั่งไว้ก่อน สิ่งใดไม่ช้าก็รอใกล้ๆค่อยสั่ง


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🧱 อิฐมวลเบา , คอนกรีตมวลเบา

 🧱 อิฐมวลเบา , คอนกรีตมวลเบา 



ที่มันชื่อว่า "มวลเบา" เพราะตัวมันเบากว่าน้ำค่ะ เอามันไปลอยในน้ำมันก็จะลอยในช่วงแรกแล้วพอมันดูดซึมน้ำมันก็จะจม เขาถึงไม่ให้เอาอิฐมวลเบาไปตากฝนเพราะมันจะอุ้มน้ำในตัวเอง พอเอาไปก่อก็คายน้ำออกทำให้ปูนก่อก่อไม่ติด 


ปูนก่อและปูนฉาบมวลเบาถูกผลิตมาสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะมีความเหนียวช่วยให้เกาะตัวอิฐได้ดี ที่สำคัญผสมสารอุ้มน้ำไม่ให้ตัวอิฐมวลเบาที่ดูดน้ำเก่งมาแย่งน้ำไปจากปูนก่อและปูนฉาบ ซึ่งจะเห็นว่าไม่สามารถใช้ปูนธรรมดาก่อเหมือนอิฐมอญได้ เพราะอิฐมอญมีความหนาแน่นสูง มีการแช่น้ำและผึ่งแห้งก่อนนำมาก่ออิฐช่วยลดการดูดน้ำในปูนก่อ 


ดังนั้นอย่าใช้ผิดประเภทนะจ๊ะ


น้ำความหนาแน่น = 1,000 kg/m3

อิฐมอญความหนาแน่น = 1,500 kg/m3 จมน้ำ

อิฐบล็อกความหนาแน่น = 1,800-2,000 kg/m3 จมน้ำ

อิฐมวลเบาความหนาแน่น = 500-700 kg/m3. ลอยน้ำ


ปล.อย่าดราม่าชื่อเรียกเลย พิมพ์ในมือถือลำบาก จะพิมพ์ 2 ชื่อตลอดเวลาที่เอ่ยถึงก็ไม่ไหว...

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

💵💸ออกแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าก่อสร้าง

 💵💸ออกแบบอย่างไรให้ประหยัดค่าก่อสร้าง



หลังจากที่ได้ถามไปว่าอยากรู้เรื่องไหน เรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่คนอยากรู้และคิดว่ามีประโยชน์แก่คนที่จะสร้างบ้านต่ำกว่า 150 ตรม. เพื่อจะได้มีข้อมูลในการลองออกแบบบ้านหลังแรกในชีวิตดู และแน่นอนเราเขียนบอกบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สถาปนิก (ส่วนตัวคิดว่าถ้าหลังใหญ่เกิน 100 ตรม.ก็อยากให้จ้างสถาปนิกแล้วค่ะ) จะเขียนเฉพาะที่เป็นกลุ่มก้อนที่ส่งผลกับราคา


1️⃣. ช่วงความกว้างคานอยู่ที่ 4 เมตร แต่ไม่เกิน 5 เมตร


นั่นเพราะในการออกแบบเราจะกะคร่าวๆว่าช่วงคานยาว 1 เมตร ความลึกคาน 10 เซนติเมตรหรือ 1/10 ดังนั้น คาน 4 เมตร = คานลึก 40 เซนติเมตร ถ้าถึง 5 เมตร จะทำให้คานลึกถึง 50 เซนติเมตร  ที่สถาปนิกต้องกะก่อนเพราะต้องใช้เขียนรูปตัดนำก่อนส่งโครงสร้าง , ใช้ลองออกแบบตัวบ้านหาสัดส่วนในการขึ้น 3D  


การที่ช่วงคานลึกนั้นมักส่งผลกับการลอดของช่องท่อใต้คาน การตีฝ้าเพดาน ระดับฝ้าเพดานเตี้ยลง คานใหญ่ขึ้น เสริมเหล็กมากขึ้น และข้อสำคัญคือ หากช่วงคานไม่เกิน 5 เมตร นั้นไม่ต้องใช้คนออกแบบโครงสร้าง ควบคุมงานใช้แต่รายการคำนวณ 


2️⃣. โครงหลังคาเป็นก้อนใหญ่


การที่โครงหลังคาจะเป็นก้อนใหญ่นั้น มักพบเจอในบ้านชั้นเดียวที่ออกแบบเป็นก้อน ยิ่งพื้นที่เยอะตัวก้อนก็จะใหญ่แผ่ไปแนวราบและการที่มันใหญ่นี่เองมันส่งผลกับขนาดหลังคา ซึ่งส่วนที่มันแพงคือโครงสร้างเหล็กหลังคาและกระเบื้องหลังคานี่แหละ ยิ่งช่วงกว้างมากโครงหลังคาก็จะยิ่งใหญ่ ยิ่งสูง ยิ่งหนัก นอกจากจะต้องรับน้ำหนักหลังคายังต้องมารับน้ำหนักพวกกันเองด้วย อีกทั้งสะสมความร้อนมหาศาล สถาปนิกถึงชอบบ้าน L,U ไงล่ะ ลดขนาดหลังคา ดักลม ลดความร้อน


ปล.แนะนำว่าอย่าทำหลังคายื่นเข้า ออก ซ้าย ขวา เยอะ เพราะมันจะรั่วตรงรอยต่อโดยเฉพาะตะเฆ่ราง


3️⃣. กระเบื้องหลังคา


บ้านที่ใช้กระเบื้องหลังคาคอนกรีต (ที่คุ้นหูเช่น ซีแพคโมเนีย ) กับหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ (ที่คุ้นหูเช่น ลอนคู่) น้ำหนักตัวแผ่นหลังคาก็ต่างกันแล้ว อีกทั้งความถี่ของแปก็ต่างกัน เช่น หลังคาคอนกรีตใช้แปทุกระยะ 32 เซนติเมตร ส่วนลอนคู่และเมทัลชีท(สังกะสี)ใช้แปทุกระยะ 1 เมตร  ดังนั้นหากอยากลดค่าหลังคาลองเลือกหลังไฟเบอร์ซีเมนต์ดูค่ะ สถาปนิกหลายคนหยิบลอนคู่มาใช้เป็นงานสวยๆมีเยอะค่ะ


ปล.ชายคาปกติยื่นที่ 1.20 เมตร (ไฟเบอร์ซีเมนต์ เมทัลชีท)  หากเกินนี้ต้องปรึกษาวิศวกรก่อนออกแบบ


4️⃣. ยกพื้นบ้าน


ลองสังเกตดูค่ะ ทำไมบ้านจัดสรรพื้นชั้นที่ 1 ถึงเตี้ย นั่นเพราะเขาไม่ต้องการให้มีคานคอดินและคานพื้นชั้นที่ 1 ซ้ำซ้อนกันสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ถ้ายกพื้นสูงก็ต้องมาทำคานคอดินเพื่อรับผนังก่อปิดใต้ถุน จะเปิดโล่งก็ดูไม่ดีเดี๋ยวคนไม่ซื้อ ไหนจะต้องทำบันไดขึ้นบ้านอีกดังนั้นบ้านจัดสรรจึงทำพื้นชั้นที่ 1 อยู่ที่ความสูงจากพื้นดินโดยรอบ 40-50 เซนติเมตรค่ะ  ส่วนใครที่อยากประหยัดส่วนนี้แต่กลัวน้ำท่วมก็สามารถยกพื้นสูงได้ สูงแบบเข้าไปจัดการใต้ถุนบ้านได้เพื่อไม่ให้มันดูเหมือนบ้านสกปรกค่ะหรือปลูกต้นไม้ปิดทับ


ปล.ยกพื้นสูง 1 เมตรขึ้นไป ก็ควรใช้แบบแผ่นพื้นสำเร็จวางเพราะถ้าหล่อในที่มันจะคลานเข้าไปถอดไม้แบบไม่ได้ ปลวกกินบ้าน จะอัดดินเป็นพื้นหล่อก็เปลืองดิน


5️⃣. อย่าซอยผนังยึกยักหลายขยัก


ท่องไว้นะคะ มีผนังต้องมีคานรองรับ ยิ่งผนังหลายขยักยิ่งต้องซอยคานรับเยอะ แล้วการซอยคานไม่ใช่อยู่ดีดีลอยออกมา มันจะวิ่งจากอีกฝั่งไปอีกฝั่งเสมอมันต้องฝากคานกัน


6️⃣. สำรวจขนาดวัสดุ


วัสดุทุกวัสดุมันมีขนาดมาตรฐานของมัน ซึ่งการออกแบบให้มันลงตัวกับขนาดวัสดุจะช่วยเราประหยัดได้เยอะ เช่น

- เหล็กยาว 6,10 เมตร  ซื้อเหล็กมาทำเสาที่สูงต้นละ 3.50 เมตร  แล้วมันจะไปลงตัวยังไง? 2 ต้น 7 เมตร ก็ต้องไปซื้อยาว 10 เมตร จะทำ 3 ต้นก็ไม่ได้ จะขนมายังไงอีก...

- วัสดุที่เป็นบอร์ด เช่น ยิปซั่มบอร์ด ขนาดทั่วไป 1.20 x 2.40 เมตร จะประหยัดก็ต้องวางแผนให้ดี ให้เหลือเศษน้อยๆ


7️⃣. ประตู / หน้าต่าง ที่เป็นกระจกอย่าเยอะเกินจำเป็น


บ้านที่มีดีไซน์แบบโมเดิร์นจริงๆ มักจะใช้ประตูหน้าต่างแบบชนฝ้าเพดาน สิ่งที่ตามมาคือเรื่องราคา หากจะตีเป็น % ก็เทียบได้ว่าเป็นราคาที่หนักอันดับต้นๆอยู่ที่ประมาณ 10% ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหลัง เนื่องจากยิ่งบานสูงใหญ่ ตัวโครงอลูมิเนียมจะยิ่งมีความหนามากขึ้น กระจกก็ต้องใช้ Laminated หรือ Safety ดังนั้น การออกแบบแบบพอดี โชว์ดีไซน์ในจุดที่ควรโชว์ หรือให้นึกถึงบ้านจัดสรร เขามักใช้ขนาดมาตรฐานที่แต่ละโรงงานมีในการผลิตและเลือกใช้ แบบนี้จะราคาถูกกว่าไซส์ที่ไม่มีในระบบ สามารถเลือกขนาดได้ตาม website ทั่วไป มักจะไม่หนีกัน


ปล.งานหน้าต่าง / ประตูอลูมิเนียม เป็นงานที่ไม่ควรประหยัด ควรใช้ของดี ทนทาน กันฝนดีเยี่ยม มีรับประกัน  


ส่วนงานอื่นๆนั่นคิดว่า หากเป็นงานสถาปัตยกรรมเช่น กระเบื้องพื้น ตีฝ้ากับไม่ตีฝ้า อันนั้นเป็นเรื่องความสวยงามยิบย่อย ทำตอนหลังได้ไม่ส่งผลเท่าไหร่มากนัก ถ้านึกอะไรออกหรือมีใครแนะนำก็จะทาเขียนเพิ่มให้


ตัวอย่างงานสวยๆค่ะ

https://www.archdaily.com/936300/baan-lek-villa-gla-design-studio?ad_source=search&ad_medium=projects_tab


ที่มารูปภาพ : https://homedeedee.com/category/eco-design/

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

💦 สีท่อกับงานบ้านพักอาศัย

 💦 สีท่อกับงานบ้านพักอาศัย



ใช้ให้ถูกสี ถูกประเภท Basic ง่ายๆในการตรวจงานสุขาภิบาลเบื้องต้นและที่สำคัญ ตรวจหา มอก.หรือใช้ท่อที่มียี่ห้อติดหูในตลาด


ปล.เอาที่แบบนิยมใช้ทั่วไปในงานบ้าน ส่วนที่ต่างจากนี้ให้ถามคนออกแบบจ้า


ท่อประปาฝังดิน ไฟฟ้าฝังดิน : แนะนำ HDPE


ท่องานสุขาภิบาล : PVC สีฟ้า  น้ำประปา class 13.5 ท่อโสโครก class 8.5 ท่อน้ำทิ้ง class 8.5/5


ท่อน้ำดื่ม ระบบน้ำอุปโภค : PVC ขาว


ท่อสำหรับต่อมาจากเครื่องทำน้ำร้อน : PP-R สีเขียว (ไม่เหมาะกับการฝังพื้นดินและพื้นคอนกรีตที่มีการทรุดตัว)


ท่อไฟฟ้า : PVC สีเหลืองฝังในผนัง / สีขาว uPVC ทน UV เหนียว ภายนอก เน้นงานตกแต่งไม่ต้องทาทับสี


Edit ข้อมูลเรื่องการนำไปใช้ของท่อ PP-R สำหรับใครอยากอ่านเพิ่มเติม Link ข้อมูลอยู่ใน comment นะคะ 

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

👷‍♀️👷‍♂️ทำไมต้องจ้างทีมตรวจบ้านมาตรวจบ้านจัดสรร?

 👷‍♀️👷‍♂️ทำไมต้องจ้างทีมตรวจบ้านมาตรวจบ้านจัดสรร?



บทความนี้เขียนสำหรับบุคคลที่สนใจจะซื้อบ้านจัดสรร ตึกแถว คอนโดและสามารถนำไปใช้กับการซื้อบ้านมือสองได้ โดยจะเขียนถึงเหตุผลที่ลึกลงไป ไม่ได้มีเจตนากล่าวหาใครเพียงแต่บอกบุคคลทั่วไปที่กำลังตัดสินใจว่าจ้างคนมาตรวจบ้านดีมั้ย?


หลายครั้งที่เห็นคนจ้างคนมาตรวจบ้านจัดสรรแล้วพบว่ามีสิ่งที่ผิดพลาด มีปัญหาอยู่บ่อยๆแล้วมันหลุดการตรวจงานมาได้อย่างไร ไม่มีคนคุมระหว่างก่อสร้างเลยหรือ ?


ทุกคนที่ซื้อบ้านจัดสรร คอนโด ตึกแถวต่างๆ กว่าที่คุณจะได้เข้าไปตรวจบ้านนั่นก็คือตอนที่คุณจะทำสัญญา สิ่งที่คุณเห็นทั้งหมดด้วยตาเปล่าล้วนเป็นงานสถาปัตยกรรม (งานทาสี ฉาบผนัง กระเบื้องหลังคา กระเบื้องพื้น) แต่สิ่งที่มองไม่เห็นต้องเข้าไปเปิดดูต้องใช้เครื่องมือ scan  ต้องมีเครื่องตรวจวัดนั้นได้แก่ งานโครงสร้าง งานไฟฟ้า งานสุขาภิบาล ซึ่งเป็นงานขอบเขตของวิศวกรระดับภาคีในการตรวจสอบ ปรึกษาให้คำแนะนำ (ถ้าผิดพลาดขออภัย) ซึ่งคนธรรมดาจะไปตรวจยังไง?


⏰ในการก่อสร้างบ้านส่วนที่สำคัญที่สุดนั้นคือ


- งานโครงสร้าง สมัยนี้ส่วนใหญ่สร้างโดยระบบ Precast 

- งานไฟฟ้า จากประสบการณ์ตรวจบ้านจัดสรรบอกได้เลยว่าไม่ใช่ทุกคนจะเดินงานระบบไฟฟ้าได้ (ดูไม่เป็นแต่เดินเป็นงูกิงกองไม่น่าจะใช่)

- งานสุขาภิบาล เช่น ตำแหน่งท่อกับ FD.ไม่ตรงกันก็แก้แบบหยาบๆ

- งานสถาปัตยกรรม บางส่วนคนทั่วไปมองเห็นได้ บางส่วนต้องมีเทคนิค


ส่วนวิธีการตรวจเป็นอย่างไร ก็ต้องจ้างเขาแหละนะเพราะงานพวกนี้ไม่ใช่ขอบเขตโดยตรงของสถาปนิกแต่ถ้างานสถาปัตยกรรมอันนี้ใช่


-----------------------------------------------

💎ที่เขียนมายาวมากๆด้านบนแค่เกริ่นไม่ใช่สาระสำคัญที่อยากจะสื่อ สาระสำคัญอยู่ด้านล่างนี้


ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรเนี่ยจะมีคนเซ็นต์ควบคุมงาน 2 คนได้แก่ สถาปนิกกับวิศวกร (ขอเล่าตามประสบการณ์แต่ละที่ก็แตกต่างกันไป)


1️⃣วิศวกร + โฟร์แมน คือ คนที่อยู่ควบคุมหน้างาน บริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตาม master schedule ที่ถูกวางไว้ในแต่ละโครงการโดยจะมีกรอบเวลาที่ตั้งไว้ชัดเจน เช่น จบโครงการ 5 ปี บ้าน 500 หลัง ต้องสร้างให้ได้ปีละ 100 หลัง/1โครงการ เฉลี่ยเดือนละ 8-9 หลัง  ยิ่งขึ้นเดือนที่ 2 ก็จะทบมาเรื่อยๆ ลองนึกสภาพยิ่งวิศวกรและโฟร์แมนน้อย จะตรวจสอบงานทุกหลังไม่ให้หลุดได้อย่างไร? ไหนจะต้องประชุมถี่ๆเหมือนคนว่างงานต้องไปติดต่อนู้นนี่ ตรวจหลังนี้หลังนั้นทำอะไรไปบ้างกว่าจะมารู้ตัวอีกที ไม่เห็นแล้ว  วันหยุดคนคุมงานหยุดแต่หน้างานบางทีก็ไม่หยุดนะจ๊ะ เพราะกำหนดการส่งงวดงานมันมีอยู่ไม่งั้นผู้รับเหมาจะเบิกรอบไม่ทันขาดเงินหมุน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า "มันมีปัจจัยที่ทำให้บ้านทุกหลังไม่ได้ QC 100% ถึงจะมีคนคุมงานก็ตาม"

(เขียนให้ขนาดนี้ต้องนึกออกแล้วนะว่ากำลังจะสื่ออะไร)


2️⃣สถาปนิก คือ อีกคนหนึ่งที่เข้าตรวจงานเพราะเซ็นต์ควบคุมงานก็ต้องไปตรวจแหละนะ บทบาทนี้ไม่ได้ถูกบังคับด้วยกรอบเวลาว่าบ้านต้องเสร็จตามกำหนด งานที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมก็จะถูกตรวจสอบโดยสถาปนิกเพื่อเป็นการลด Defect ที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด การตรวจต้องเข้าตรวจตลอดเพื่อที่จะได้แก้ให้ทันไม่ต้องมาแก้งวดสุดท้าย (ไม่ตรวจก็เจอคนตรวจของลูกค้าอยู่ดี) 


📌สิ่งที่น่าเป็นห่วงกว่าอื่นใดนั่นคือ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่ตรวจ ควบคุมงานก่อสร้าง ไม่ใช่ทุกคนจะมากประสบการณ์หรือพอมีประสบการณ์ก็ย้ายงาน Up เงินเดือนเป็นเหมือนกันทุกวิชาชีพ 


และการที่ควรจะจ้างคนตรวจงานนั่นเพราะคุณไม่มีทางเห็นหรอกว่าระหว่างก่อสร้างเขาทำอย่างไร มีอะไรหมกเม็ดบ้าง การจ้างทีมงานตรวจสอบแบบ Full-Service นั้น ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแลกกับบ้านราคาหลักล้าน เปรียบเสมือนการสร้างบ้านธรรมดาแล้วจ้าง Consult เพียงแต่บ้านจัดสรร Consult ได้ตอนจะซื้อรวดเดียวเท่านั้นเอง


ส่วนจะจ้างใครติดต่อกันเลยเพราะไม่เคยไปตรวจบ้านบทความนี้เขียนในมุมกลับของคนที่เคยทำงานในวงการบ้านจัดสรรมาบอกเท่านั้น

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างสัญญาจ้างออกแบบบ้าน

 📌ตัวอย่างสัญญาจ้างออกแบบบ้าน



Download  

PDF : https://www.mediafire.com/file/8zbjd2ry5gt29od/ตัวอย่างสัญญาจ้างออกแบบ.pdf/file

Excel : https://www.mediafire.com/file/vt4zo0j3yfxrvls/ตัวอย่างสัญญาจ้างออกแบบ.docx/file


สัญญาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ที่อยากจ้างออกแบบได้ศึกษาดูว่าเนื้อหาเป็นประมาณไหน มีส่วนใดบ้างที่สำคัญ เป็นตัวอย่างเฉยๆ อ่านให้เข้าใจแล้วนำไปประยุกต์เอา เมื่อเวลาไปเจอสัญญาอื่นๆจะได้รู้ว่าต้องการเพิ่ม/ลดส่วนไหน ใครคิดว่าตรงไหนไม่ใช่ ไม่พอใจก็ปรับแก้เอาเองได้เลย 


อ่านเนื้อหาอธิบายเพิ่มเติม : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=106591385294820&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa


💎สิ่งที่ควรจะรู้


1.แนวทางการทำสัญญาให้ครอบคลุมไปจนถึงการก่อสร้างสิ้นสุด+แนวทางการจ่ายเงิน+แบบแต่ละประเภท

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=175476545072970&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

2.BOQ คืออะไร

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=103092245644734&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

3.การถอด BOQ แบบจัดลำดับตามการก่อสร้าง ช่วยให้เจ้าของบ้านง่ายขึ้นอย่างมากในเรื่อง "เงิน"

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=178372621450029&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

4.แบบก่อสร้างเต็มๆหรือแบบก่อสร้างที่สร้างบ้านได้อย่างน้อยควรมีอะไรบ้าง

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=174365861850705&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

5.การประเมินราคาบ้านเบื้องต้น (ไม่ใช่ BOQ)

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=116216274332331&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

6.การคิดพื้นที่ใช้สอย

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=117261864227772&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

7.3D กับ Model คืออะไร

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=121027777184514&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

8.แบบที่ใช้ในการก่อสร้างมีอะไรบ้าง

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=121302977156994&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

9.ตรวจสอบรายชื่อสถาปนิกก่อนจ้างออกแบบ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=131467706140521&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

10.BOQ กับ Blank BOQ คืออะไร

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=136005509020074&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

11.จ้างทำ BIM คืออะไร แพงกว่าแต่เจ็บน้อยกว่า เสียหายน้อยมาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=120695590551066&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

13.จ้างออกแบบกับก่อสร้าง บริษัทเดียวกันดีมั้ย

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=135479865739305&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

14.Material Spec คืออะไร

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=118484377438854&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa

🛖 รวมกระเบื้องหลังคา,ระยะแป,องศาที่นิยมใช้กัน

 🛖 รวมกระเบื้องหลังคา,ระยะแป,องศาที่นิยมใช้กัน



แนะนำให้ตรวจเชคระยะแป องศาที่ใช้ได้กับวัสดุมุงหลังคาแต่ละประเภทเพราะแต่ละประเภทมีระยะที่แตกต่างกัน


อ่านเรื่องหลังคาฉบับเต็มได้ที่ : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=148912431062715&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง (สำหรับงานบ้านทั่วไป)

 📌ตัวอย่างสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง (สำหรับงานบ้านทั่วไป)



Download  

PDF : https://www.mediafire.com/file/l8ide2zi2nw3den/ตัวอย่างสัญญาก่อสร้าง2022-12-03.pdf/file

Excel : https://www.mediafire.com/file/7rmcd5vz4qm63rr/สัญญาก่อสร้างล่าสุด2022-12-03.docx/file


หรือใครที่ได้สัญญามาจากที่อื่นลองอ่านดูนะคะว่า เนื้อหาสัญญาต้องไม่ขัดกับ  ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารเพื่อการอยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

https://download.asa.or.th/03media/04law/pca/ba59.pdf?fbclid=IwAR2OZQDu1htHPZ0PVt7Rihcb5_lN3Kb4WlRudOTXY_MvHSm3jYqjNmh4dZE


อย่างที่บอกไม่พอใจตรงไหนแก้ได้เลย เอาไปดัดแปลงกันเอง เจ้าของบ้านที่อยากสร้างบ้านก็โหลดเอาไปอ่านพลางๆ  เวลาทำสัญญาไม่ได้มีแค่เอกสารนี้ตัวเดียวเท่านั้น เอกสารอีกฉบับที่สำคัญมากคือ มาตรฐานงานก่อสร้างในแต่ละหมวดงานซึ่งโดยปกติจะถูกระบุอยู่ในเล่มแบบก่อสร้างหน้าแรกของแต่ละหมวด หากไม่มีในแบบก่อสร้างโปรดร้องขอจากสถาปนิกผู้ออกแบบให้แนบมา (คนละตัวกับรายการวัสดุก่อสร้างหรือ Material specifications)  กรุณาอ่านเพิ่มเติม : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=109184271702198&id=100889769198315&mibextid=qC1gEa


แก้ตามสบาย ปวดตาแก้ไม่ไหวแล้ว....

💵💸ทำไมจ้างออกแบบแล้วยังมีปัญหา?

 💵💸ทำไมจ้างออกแบบแล้วยังมีปัญหา? 



มีปัญหาที่ตัวสัญญาจ้างนี่แหละ โดยสาเหตุมาจากทั้ง


1.ผู้ว่าจ้างไม่รู้ว่าการแบ่งงวดการจ่ายเงินและกรอบเวลาเป็นอย่างไร

2.ผู้ว่าจ้างเกิดความคลางแคลงใจระหว่างออกแบบไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม

3.สัญญาขาดบางส่วนสำคัญคือเรื่อง สิทธิ์ในตัวแบบเมื่อผู้ว่าจ้างอยากยกเลิกการออกแบบทำให้เสียเปรียบ


ปัญหาเรื่องสัญญาจ้างส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอใครโพสหรอก เพราะคิดว่าจ้างออกแบบมันก็คงเป็นแบบนี้แหละ (คงคิดว่าโดนโกงแค่ช่วงก่อสร้าง) ปล่อยผ่านเรื่อยมา สร้างบ้านแค่ครั้งเดียวก็ไม่รู้ว่าสัญญาแบบอื่นของคนอื่นเป็นแบบไหน เวลาหาคนออกแบบก็เกรงใจเมื่อได้พูดคุยไปแล้ว พอเขาส่งสัญญามาก็ได้แต่เซ็นต์เพราะไม่มีใครเคยมาบอกว่ามันต้องดูอย่างไร


🔥ก่อนอื่นมาดูแนวทางการแบ่งงวดงานปกติตามที่คู่มือสถาปนิกแนะนำค่ะ  ย้ำว่าแนะนำไม่ใช่กฎหมาย


1.งวดที่ 1 - xx% ตกลงรับงาน

2.งวดที่ 2 - xx% ส่งรายละเอียดโครงการและแบบร่างขั้นต้น

3.งวดที่ 3 - xx% ส่งแบบร่างขั้นสุดท้าย

4.งวดที่ 4 - xx% ระหว่างเขียนแบบก่อสร้างจนส่งเล่ม

5.งวดที่ 5 - xx% ระหว่างก่อสร้าง"จนจบงาน


อ้างอิง : หน้า 158 https://asa.or.th/handbook/handbook2547/


-----------------------------------------------

คราวนี้มาดูปัญหาที่พบจากตัวสัญญาจากที่อื่นๆ

-----------------------------------------------


📌ตัวอย่างที่ 1 : แบ่งสัญญาจ้างออกแบบเป็น 2 สัญญา (จำนวน%เท่าไหร่ไม่ทราบได้)


สัญญาตัวที่ 1 คือ ในส่วนของงานออกแบบก่อนเข้าสู่ขั้นเขียนแบบ  

สัญญาตัวที่ 2 คือ ส่วนงานเขียนแบบขออนุญาตหรือเขียนแบบก่อสร้าง


สัญญานี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียกล่าวคือ 


ข้อดี - ผู้ว่าจ้างไม่ได้ถูกผูกมัดไปจนถึงแบบก่อสร้าง หากไม่พอใจในการออกแบบก็จบกันที่ช่วงออกแบบ


ข้อเสีย - หากในสัญญาไม่ระบุชัดเจนว่า เมื่อผู้ว่าจ้างมีการจ่ายเงินค่าออกแบบไปแล้วในสัญญาฉบับแรก สิทธิ์ในตัวแบบที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่เกิดขึ้นถือเป็นของผู้ว่าจ้าง แบบนี้ฝ่ายผู้ว่าจ้างจะเสียเปรียบเนื่องจากจรรยาบรรณสถาปนิกกำหนดว่า สถาปนิกไม่สามารถนำงานของผู้อื่นมาออกแบบต่อได้หากสถาปนิกคนเก่าไม่ยินยอม อันจะนำไปสู่การเพิกถอนใบประกอบวิชทชีพของสถาปนิกผู้ที่ละเมิดข้อกำหนดนั้น (เนื้อหาประมาณนี้คร่าวๆ)


-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างที่ 2 : บ้านพื้นที่น้อยกว่า 150 ตรม.แต่จ้างสถาปนิกออกแบบ

ในสัญญาระบุจ้างออกแบบโดยจะได้แบบสถาปัตยกรรม แบบไฟฟ้า แบบสุขาภิบาล แต่สิ่งที่ไม่ได้คือ แบบโครงสร้าง!!!  และแนะนำให้ใช้ผู้รับเหมาที่คุ้นเคยในการสร้างบ้าน


สัญญานี้แปลกตรงไหน?


- เนื่องจากบ้านขนาดต่ำกว่า 150 ตรม.ไม่ต้องจ้างสถาปนิกออกแบบอีกทั้งถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์งานวิศวกรรมควบคุมก็ไม่ต้องจ้างวิศวกรด้วย ใช้เพียงผังบริเวณและรายการคำนวณจากคนที่มีความรู้ความสามารถในการยื่นขอ  ดังนั้น แบบบ้านนี้อาจจะไม่ได้ใช้แบบยื่นขออนุญาตเลยทำให้เป็นช่องทางซิกแซกให้ไม่ต้องทำแบบ

- การไม่มีแบบโครงสร้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถไปก่อสร้างบ้านกับใครได้เนื่องจากไม่มีแบบโครงสร้างจะคิดราคายังไง ผู้รับเหมาก็เสี่ยงเสียเวลาออกแบบคำนวณคิดให้สุดท้ายไม่เอา  

- การไม่มีแบบโครงสร้าง หาก ผรม.ไม่รับสักรายสุดท้ายต้องไปจ้างออกแบบ คำนวณ เขียนแบบอีก แถมไม่มีคน combine แบบอีก

- ผู้ว่าจ้างเสียเปรียบในการคิดเงินค่าออกแบบเนื่องจากค่าออกแบบส่วนใหญ่คิดจากมูลค่างานก่อสร้าง แต่แบบไม่มีงานโครงสร้างก็เสมือนขัดแย้งกับการออกแบบที่ไม่มีงานโครงสร้าง

- จ้างคนถอด BOQ ไม่ได้เพราะไม่มีแบบโครงสร้างสุดท้ายวนไปที่ผู้รับเหมาเจ้าที่คนออกแบบแนะนำ


-----------------------------------------------

📌ตัวอย่างที่ 3 : ขั้นตอนการออกแบบตามแนะนำแต่แบบดูแล้วไม่ตรงความต้องการอยากยกเลิกแบบ


คล้ายๆตัวอย่างข้อที่ 1 ค่ะ หลายคนไม่กล้ายกเลิกแบบเพราะเสียดายเงินค่าออกแบบ แต่การปล่อยเนิ่นนานไปทำให้ต่างฝ่ายต่างเสียเวลา และคนที่เสียมากกว่าคือ ฝ่ายผู้ว่าจ้าง เพราะหากสถาปนิกได้ดำเนินงานไปเรื่อยๆ แล้วจู่ๆมายกเลิกแบบผู้ว่าจ้างจะไม่จ่ายเงินไม่ได้เพราะมีการทำงานเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นหากอยากยกเลิกและต้องการได้แบบไปใช้งานต่อต้องจ่ายความเสียหายที่เกิดขึ้นและตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษรในสิทธิ์ความเป็นเจ้าของนั้น  ส่วนคนที่ไม่จ่ายค่าแบบแถมเอาแบบไปใช้งานโดยไม่ได้รับการยินยอมก็ระวังโดนฟ้องทั้งคนเอาไปใช้และสถาปนิกที่นำแบบไปใช้ต่อ


การยกเลิกแบบแนะนำว่าควรทำในช่วงงานออกแบบเมื่อจ่ายเงินงวดนั้นแล้วเสร็จ หากไม่แน่ใจว่าแบบโดนใจมั้ยก็ควรจะส่งสัญญาณให้สถาปนิกรับรู้ว่าขอตัดสินใจก่อนกี่วันแล้วค่อยเริ่มดำเนินการต่อ เพราะถ้ายกเลิกแบบช่วงงานเขียนแบบก่อสร้างอันนี้ความเสียหายจะมีมากและจ่ายเงินเยอะเลยทีเดียว


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🔑อยากเข้าวงการจัดสรรแต่ไม่รู้ว่าเขามีวิธีหาจุดคุ้มทุนอย่างไร?

 🔑อยากเข้าวงการจัดสรรแต่ไม่รู้ว่าเขามีวิธีหาจุดคุ้มทุนอย่างไร?



บ้านจัดสรรไม่ใช่สร้างไปเรื่อยๆ เสร็จตอนไหนก็เอาเหลือกำไรก็ตามนั้น มันม่ายช่ายยย.........มันมีอะไรที่ลงลึกไปมากกว่านั้น ทุกอย่างมันมีกรอบเวลาของมันหมด นอกเหนือจากการบริหารเงินในโครงการให้ได้ตามงบ ระยะเวลาในการขายโครงการให้จบภายในเวลาที่กำหนดก็สำคัญ


🎉 จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่า


1.โครงการตั้งเป้า 4 ปี และกลับมาทำกำไรในปีที่ 4 ไตรมาสที่ 1 (Breakevent) ระยะเวลาต้องดำเนินตามนี้เพราะสิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ " ดอกเบี้ย " และค่า  บริหารงานต่างๆที่แปรผันตามระยะเวลา ถ้าคุณช้า ไม่ตามกำหนดนอกจากจะมองไม่เห็นกำไรแล้วยังขาดทุนอีกด้วย


2.การกำหนดว่าแต่ละ Quater จะสร้างกี่หลังแล้วเริ่มขายได้เมื่อไหร่ไปจนถึงจุดจบนั้นสำคัญ เพราะมันขึ้นอยู่กับศักยภาพของโครงการในการบริหาร คนงาน เวลา และเงิน


3.ก่อนจะมาเป็นตารางนี้ คุณต้องมีมูลค่า ราคา แต่ละ Item ให้พร้อมก่อน นั่นแปลว่าไม่ใช่อยู่ดีดีจะเป็นตารางนี้ได้ ต้องรู้ราคาค่าพัฒนาที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคาร ค่าบริหารงานก่อสร้างต่างๆ ภาษีที่ต้องเสีย


4.การที่ขายบ้านได้  1 หลังแรก ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้กำไร เพราะเงินที่คุณลงทุนค่าพัฒนาที่ดิน ค่าออกแบบ Head office ก่อนนี้ ใช้เวลาหลายเดือนมันแบกอยู่ จะดูว่าพลิกกลับมาทำกำไรจริงๆต้องเข้าสูตร ใช้ตาราง แล้วจะพบว่า แท้จริงแล้ว กว่าจะได้กำไรคือต้องแบกนานมาก


5.ตารางช่วงบนคือ รายได้จากการขายบ้าน และจำนวนที่ตั้งเป้าก่อสร้างกี่หลังในแต่ละเดือน / ส่วนตารางช่วงล่างคือรายจ่าย / ท้ายสุดคือ หักลบกันจนกว่าจะได้ + แปลว่าหลุดพ้นจากต้นทุนพลิกขึ้นมามีกำไร


Q1 = ไตรมาส 1 / ใน 1 ปี มี 4 quater 


สำหรับใครที่ งง ว่าแต่ละส่วนมาจากไหน ย้อนอ่านโพสเก่าๆได้เลยจ้า

🚽🚾 เทคนิคการเลือกสุขภัณฑ์ห้องน้ำ

 🚽🚾 เทคนิคการเลือกสุขภัณฑ์ห้องน้ำ



สำหรับคนสร้างบ้านแล้วไม่มีที่พึ่งในการเลือกวัสดุตกแต่งบ้าน หนึ่งอุปสรรคที่การก่อสร้างล่าช้านั้นเกิดจากการที่เจ้าของบ้านไม่ยอมเลือก เลือกไม่เป็น ไม่รู้จะเลือกอย่างไร วันนี้เรามีเทคนิคง่าย เบสิคมาแนะนำ


1.สำหรับสุขภัณฑ์ที่เป็นเซรามิก การเลือกให้เข้า Set ไม่ว่าจะถูกจะแพงควรเป็นยี่ห้อเดียวกัน ถึงจะบอกว่าใช้ได้เหมือนกันแต่เวลามีคนมาเห็นเขาจะบอกว่าไม่มีรสนิยมได้เช่นกัน


2.Series หรือรุ่นที่ผลิตควรแบบเดียวกัน เช่น สุขภัณฑ์เซรามิกเป็นชิ้นส่วนที่เห็นชัดที่สุด มีสีขาว มีขนาดใหญ่ ควรเลือกเป็น series เดียวกันเพราะแต่ละแบบนั้นมี Detail ในการออกแบบแตกต่างกัน บางรุ่นเน้นขอบมน ทรงไข่ อ่างอาบน้ำและอ่างอาบน้ำโค้ง  การจะไปเลือกอีก series ที่เป็นเหลี่ยมแบน มาผสมนั้นเป็นเรื่องไม่ควรทำ


3.ก็อกอ่างล้างหน้า สายชำระ ฝักบัวอาบน้ำ โดยปกติพวกนี้ก็มี series เป็นรุ่นเดียวกับตัวเซรามิกหลักมักออกแบบให้มีรูปทรงเข้ากัน หากจะเลือกคนละ series แนะนำให้อิงจากแบบเดิมหรือดู Design ของสุขภัณฑ์เป็นหลัก


4.การเลือกทรงโถสุขภัณฑ์ แนะนำให้ไปลองนั่งดีที่สุด อย่าเลือกจาก catalogue (ถ้าเน้นงบประมาณจำกัดก็จิ้มเลย) สำหรับคนที่มีงบประมาณการเงินควรเลือกโถที่ใหญ่หน่อย รูปทรงยาว อย่าให้รูคอห่านอยู่ลึก เล็ก แคบ ระดับปริมาณน้ำที่ขังในรูคอห่านน้อย อาจส่งผลต่อตำแหน่งการอุจาระทำให้เปื้อนตัวชักโครก สกปรก น้ำกดล้างก็ไม่ออก


5.โถสุขภัณฑ์แนะนำให้ตรงด้านข้างโถเป็นแบบเรียบๆ หยักน้อย ยิ่งหยักตามขดคอห่านยิ่งทำความสะอาดยาก คราบติดฝังง่าย


6.อ่างล้างหน้ามีหลากหลายแบบ ทั้งฝังเคาน์เตอร์ วางบน แบบแขวน มีขาตั้งเลือกได้ตามสบาย


7.ก๊อกน้ำควรเลือกให้ตัวก็อกสัมพันธ์กับอ่าง บางคนเลือกอ่างแพงหน่อยแต่ไปประหยัดค่าก๊อกหรือเลือกไม่เป็นได้ก๊อกคอสั้นพอติดตั้งเหลือระยะน้ำจากก็อกพ้นขอบอ่างมานิดเดียว เวลาล้างแทบจะเอามือชิดขอบอ่างส่วนที่เหลือคือโชว์บารมีอ่างล้างหน้า หรืออ่างแบบวางบนเคาน์เตอร์ก็ต้องเลือกก็อกให้ถูกประเภท


8.อ่างอาบน้ำ เลือกขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้วาง


9.ก๊อกอ่างอาบน้ำ / ฝักบัว  ควรตรวจเชคว่าเป็นระบบไหนแล้วเลือกก๊อกให้ถูกต้อง ถ้าใช้ระบบติดตั้งหม้อต้มน้ำร้อนก็เลือกก๊อกผสม ถ้าใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแล้วยืนอาบในอ่างก็ใช้อีกแบบนึง


10.ฝักบัวอาบน้ำ เลือกที่ series ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากไม่ถูกใจก็เลือกที่ใกล้เคียง


สำหรับบางที่ก็จัดสุขภัณฑ์แยกคละกันไป ไม่ได้จัดรวม series แยกโชว์เป็น set เป็นห้อง ก็อยากจะแนะนำให้เลือกที่ชอบมากที่สุดมา 1 ชิ้นแล้วชิ้นต่อไปก็พยายามหา series เดียวกันก่อน ถ้าไม่ได้ของไม่มีของขาดให้เลือกรุ่นใกล้เคียง เท่านี้ก็จะตัดตัวเลือกออกไปได้เยอะและเข้า set กันทั้งห้องน้ำแล้วค่ะ


ปล.เทคนิคเล็กๆ เอามาแชร์ประสบการณ์ ไม่มีคำว่าถูกผิดสำหรับความชอบแต่ละคน

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🚰💧💦 การเดินระบบท่อน้ำในห้องน้ำ

 🚰💧💦 การเดินระบบท่อน้ำในห้องน้ำ



- Air Chamber คือ อุปกรณ์ช่วยลดแรงกระแทกของน้ำเมื่อเกิดการปิด Valve น้ำอย่างกระทันหัน 


(สำหรับบ้านที่ใช้ปั้มน้ำไม่เกิน 300W และสูงไม่เกิน 15 เมตร ไม่จำเป็นต้องใช้ อ้างอิงจากวารสารที่แนบมา)


- Water Hammer นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการไหลในท่ออย่างกะทันหัน ทำให้เกิดโมเมนตัมของของเหลวและถูกเปลี่ยนไปกลายเป็นแรงกระแทกบนประตูน้ำบนผนังของท่อ ซึ่งแรงกระแทกนั้นถ้ามากมีค่ามากพออาจทำให้เกิดความเสียหายกับระบบได้


- ท่อ PPR สีเขียว ชนิดทนน้ำร้อนได้ คือ ท่อสำหรับน้ำร้อนที่มาจาก "เครื่องทำน้ำร้อน" ในงานบ้านมักใช้ส่วนท่อน้ำร้อน


- Stop Valve คือ เป็นอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งฝักบัว ชักโครก สายฉีดชำระ อ่างล้างหน้า เพื่อช่วยควบคุมให้มีแรงดันน้ำที่เหมาะสม รวมไปถึงการปิด Valve เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนอุปกรณ์แต่ละจุด


- Vent Pipe คือ ท่ออากาศ มีหน้าที่ทำให้เกิดความสมดุลของแรงดันอากาศในท่อ ให้น้ำในท่อไหลสะดวกไม่ให้เกิดภาวะสูญญากาศและดึงน้ำออกจากระบบดักกลิ่นต่างๆ ( ไม่ใช่มีเอาไว้ระบายกลิ่นท่อส้วม) 


อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Water Hammer : https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/62/ContentFile1154.pdf

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ปล.จะดึงภาพไปใช้ขออนุญาตก่อน

👷‍♂️👷‍♀️ การเจาะช่องคานเพื่อ Sleeve ท่อ

 👷‍♂️👷‍♀️ การเจาะช่องคานเพื่อ Sleeve ท่อ



ตัดเอาบางส่วนของมาตรฐานงานก่อสร้างในหมวดโครงสร้างมาให้ดูเรื่องการเสริมเหล็กกรณีที่บ้านหลังนั้นมีการเจาะ Sleeve คาน  โดยปกติมาตรฐานเหล่านี้จะถูกระบุอยู่ในเล่มก่อสร้างแต่ละหมวด เมื่อมีการเจาะช่องคานพึงระลึกถึง "แบบและระยะในการเจาะเสมอ"


📌ตัวอย่างมาตรฐานสรุปภาษาชาวบ้าน


1.ตำแหน่งการเจาะ ให้แบ่งคานเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ไม่ควรเจาะคานคือ 1,3 ช่วงที่เจาะคานได้คือ 2 (กลางคาน)


2.แบ่งความลึกคานเป็น 3 ช่วง โดยช่วงที่ไม่ควรเจาะคือ 1,3 ช่วงที่เจาะคานได้คือ 2 (กลางคาน)


3.ขนาดรูที่ต้องเสริมเหล็กพิเศษ

- รูเล็กกว่า 50 mm. ไม่ต้องเสริมเหล็ก

- ขนาด 50-100 mm. เสริมตามรูปที่ 1

- ขนาด 100-200 mm. เสริมตามรูปที่ 2


🔥บ้านที่ระหว่างชั้นต่ำกว่า 3.00 เมตร หากช่องชาฟท์อยู่ไกลจากตัวห้องน้ำชั้นที่ 2 มีโอกาสเจาะคานสูง เพราะเจ้าของบ้านจะค้นพบตอนนั้นว่าฝ้าเพดานสูงได้แค่ 2.55 เมตร ถ้าต้องให้ท่อโสโครกลอดใต้คานอีก เพดานเตี้ยไปอีก 10-15 เซนติเมตร

📚📖 รายการประกอบแบบหรือรายการก่อสร้างคืออะไร?

 📚📖 รายการประกอบแบบหรือรายการก่อสร้างคืออะไร?



ตัวอย่าง : https://download.asa.or.th/ASA_Std_Spec_2009.pdf

โดย : สมาคมสถาปนิกสยาม


คือ รายละเอียดประกอบแบบทั้งทางด้านเทคนิค ความหมายของวัสดุ รายละเอียด ข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ ขั้นตอน วิธีก่อสร้าง การตรวจสอบ การแก้ไข มีความจำเป็นอย่างยิ่งเปรียบเสมือนคำบรรยายของตัวเส้นสายแบบก่อสร้างเพราะการก่อสร้าง บ้าน อาคาร งานสถาปัตยกรรมล้วนประกอบไปด้วยวัสดุนานาชนิด มาตรฐานต่างๆ ซึ่งไม่สามารถแสดงลงในแบบก่อสร้างได้ทั้งหมด ยิ่งอาคารมีขนาดใหญ่ มีหลายระบบก็ยิ่งมีหลายสิ่งมาเกี่ยวข้อง


สำหรับงานบ้านพักอาศัยโดยปกติรายการประกอบแบบมักจะถูกแสดงอยู่ในเล่มก่อสร้างหน้าแรกของแต่ละหมวด โดยจะรวบรวมมาตรฐานเนื้อหาใจความที่สำคัญและแบบ Typical Detail ลงประกบไปในส่วนนี้ด้วย  ส่วนงานที่ใหญ่ขึ้นจะมีแยกเป็นเล่มประกอบรวบรวมแต่ละหมวดขนาด A4 ใช้ประกอบทำสัญญาก่อสร้าง


📌ส่วนใครที่ไม่มีเนื้อหาอะไรเลยมีแต่ลายเส้น นั่นเพราะ


1.เนื้อหาบังคับมาตรฐานการทำงานทำให้เกิดความยุ่งยากในการก่อสร้างแก่ผู้รับเหมาที่ไม่อยากให้สิ่งนี้มากวนจิตใจจึงไม่นำมาทำสัญญา (ถ้าไม่รู้ก็ไม่แนบ)

2.คนออกแบบก็ไม่รู้ถึงความสำคัญ ไม่รู้จะมีไปทำไม (บ้านต่ำกว่า 150 ไม่ต้องจ้างสถาปนิกหนิ)

3.ประสบการณ์ของผู้ออกแบบโดยตรง Level ยังน้อย


💎สร้างบ้านทั่วไปต้องใช้รายการประกอบแบบใดบ้าง?


ย้อนกลับไปดูในสัญญาจ้างออกแบบว่าจ้างออกแบบระบบใดบ้าง ? ในแบบก่อสร้างประกอบไปด้วยกี่หมวด  ไม่ใช่หมายความว่าต้องมีทุกหมวดทำสัญญาทุกหมวดนะจ๊ะ "มีตามเนื้องานในเล่มก่อสร้าง" ส่วนที่ไม่มีในเล่มก่อสร้างตกลงกันทีหลังและเนื้อหาต้องสอดคล้องกับแบบก่อสร้างไม่ใช่ Copy วางคนละ Spec กัน


อ่านมาถึงตรงนี้สงสัยสิใครต้องทำ......คนออกแบบแต่ละหมวดงานสิจ๊ะ ต้อง Spec ว่าใช้อะไร อย่างไหน 


📚📖 ตัวอย่างเล่มรายการประกอบแบบก่อสร้างอาคาร (ไม่ใช่บ้าน) แต่ละหมวด


หมวดงานสถาปัตยกรรม : https://www.cmru.ac.th/file/download/1851/รายการประกอบแบบงานสถาปัตย์%20งานบริเวณ.pdf

หมวดงานโครงสร้าง : https://www.cmru.ac.th/file/download/2004/รายการประกอบแบบโครงสร้าง.pdf

หมวดงานไฟฟ้า : https://www.cmru.ac.th/file/download/2079/รายการประกอบแบบไฟฟ้า.pdf

หมวดงานสุขาภิบาล : https://www.cmru.ac.th/file/download/2078/รายการประกอบแบบงานสุาภิบาล.pdf

หมวดงานระบบเครื่องกล (ปรับอากาศ) : https://www.cmru.ac.th/file/download/3311/รายการประกอบแบบ%20%20เครื่องกล.pdf


เครดิต : ตาม Link 

-----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

❄️☃️ขายางรองแอร์ แผ่นกันสั่นสะเทือนคอยล์ร้อน

 ❄️☃️ขายางรองแอร์ แผ่นกันสั่นสะเทือนคอยล์ร้อน



พอดีจะเขียนเรื่อง Typical Detail แล้วเปิดไปเจอรูปแบบการติดตั้งคอยล์ร้อยเลยเอามาฝาก Item นี้ทำหน้าที่ลดแรงสั่นสะเทือนคอยล์ร้อนเวลาทำงาน และหากติดเรียงชั้นกันหลายตัว แต่ละตัวควรห่างกันไม่น้อยกว่า 25 ซม.  


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🏘ที่ดิน Vs ฮวงจุ้ย Vs การออกแบบ

 🏘ที่ดิน Vs ฮวงจุ้ย Vs การออกแบบ



📖รูปทรงที่ดีที่สุดคือ รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยความยาวมากกว่าความกว้าง 2 เท่า !!!

▪️ทางการออกแบบ : ออกแบบบ้านได้ง่าย ใครๆก็ชอบ ซื้อง่ายขายคล่อง จะสร้างอะไรก็ออกแบบง่าย


📖ปากกว้างก้นแคบ จะทำให้เก็บทรัพย์ไม่อยู่เงินทองรั่วไหล

▪️ทางการออกแบบ : หากเป็นบ้านทรงสี่เหลี่ยมตำแหน่งวางบ้านจะถูกบีบให้อยู่ด้านหน้า ดูไม่แกรนด์และด้านหลังจะเสียพื้นที่


📖ที่ดินแอ่งกระทะหรือท้องมังกรคือ ที่ดินที่ต่ำกว่าที่ข้างเคียงเพราะกระแสต่างๆจะมารวมกัน บ้างก็ว่าให้เลือกเป็นเนินหลังเต่าหรือที่ดินสูงกว่าข้างเคียงได้หน่อย

▪️ทางการออกแบบ : ที่ดินต่ำมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม น้ำจากที่ดินข้างเคียงซึมไหลมารวมกันด้วย และถนนยิ่งทำยิ่งสูง


📖ทรงที่ไม่ควรซื้อ คือ สี่เหลี่ยมชายธงหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ายกเว้นว่าขนาดเกิน 1 ไร่ขึ้นไป

▪️ทางการออกแบบ : ถ้าจ้างสถาปนิกออกแบบ ที่ดินยิ่งบีบยิ่งเค้นการออกแบบอย่างมี Style และได้บ้านที่เป็นเอกลักษณ์


📖ถูกขนาบด้วยถนนทั้งหน้าหลัง เป็นที่ดินที่สร้างหายนะให้ผู้อยู่อาศัย ทำกิจการมักถูกคดโกง

▪️ทางการออกแบบ : โจรก็เข้ามาได้ง่ายโดยเฉพาะปีนเข้ามาทางหลังบ้านเนื่องจากติดถนนอีกฝั่ง อีกทั้งเสียงจากรถที่ผ่านไปมาทำให้เกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ


📖ที่ดินที่ตรงทาง 3 แพร่งตัว T หรือสามแพร่งตัว Y เขาว่าจากเป็นจากตาย

▪️ทางการออกแบบ : สามแพร่งตัว T หากแยกใหญ่มักจะอันตรายจากการเบรคไม่ทัน ไม่รู้ว่ามีแยก  หากเป็นแยกตามหมู่บ้าน ชุมชนจะกังวลเรื่องแสงไฟที่ส่องเข้าบ้านตลอดเวลา

สามแพร่งตัว Y ผู้ขับขี่อาจจะไม่ทันระวังพุ่งเข้าหาตัวบ้านเต็มๆ


📖ที่ดิน 3 เหลี่ยม เกิดปัญหาชู้สาว

▪️ทางการออกแบบ : มันออกแบบยาก ถ้าจะออกแบบได้ขนาดต้องมากพอเพราะระยะ Set back ก็ข้างละ 2 เมตรแล้ว  


📖ที่ดินอยู่ตรงช่วงหัวโค้ง จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

▪️ทางการออกแบบ : ทุกคนทราบดีว่าอุบัติเหตุรถยนต์ตรงมุมโค้งมักจะหลุดโค้งหรือทัศนวิสัยในการมองเห็นมันน้อย จึงง่ายแก่การกวาดไปทั้งกระบิ


📖ที่ดินติดศาสนพิธีที่มีการเผาศพ จะเจ็บป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

▪️ทางการออกแบบ : ปัจจุบันเตาเผาไร้ควัน ไร้มลพิษแล้ว จึงลดการเกิดควันได้  อีกทั้งบางคนอาจจะคิดว่าการมีบ้านติดวัด ติดศาสนพิธี เสียงอาจจะไปรบกวนการพักผ่อนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ คนที่ป่วยก็จะแย่ลงมากขึ้น


📖ที่ดินติดแม่น้ำด้านหลังจะเก็บเงินไม่อยู่

▪️ทางการออกแบบ : ปัจจุบันประเทศไทยพบเจอวิกฤติน้ำท่วมมากขึ้นกว่าแต่เก่า และบ้านติดชายน้ำไม่ต้องกลัวน้ำเซาะตลิ่ง กลัวน้ำท่วมใหญ่จะดีกว่า


📌ส่วนตัวขอออกความคิดเห็นว่า


- ที่ดินแปลกๆไม่ใช่ว่าจะไม่ดีเสมอไป โปรดดูตำแหน่ง Location ทำเลทอง ถ้าเป็นชายธงแล้วบอกอยู่สีลมยังไงก็ดี

- ที่ดินพิสดาร หากขนาดใหญ่เกิน 1 ไร่ สามารถวางตัวบ้านลงไปได้ก็มองว่าดี

- สมัยก่อนที่ไม่ชอบที่ดินพิสดารเพราะเทคโนโลยีในการวัดที่ดินคงยังไม่มี ที่ดินสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้นง่ายสุดต่อการวัดและซื้อขาย

- ความเชื่อนั้นทำให้คนหวาดกลัวได้ง่ายมากกว่าเหตุผล ดังนั้นทุกอย่างมีเหตุผลของมันเสมออีกทั้งยุคสมัยเปลี่ยนไปความรู้มีมากขึ้น เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทจึงควรเชื่ออย่างมีสติ

- ท้ายที่สุด บางครั้งก็เลือกไม่ได้ที่ดินบรรพบุรุษอยู่มานาน ถ้าไม่ร้ายแรงถึงขั้นรถพุ่งเข้าชน อย่างไรเราก็ยังอยู่ได้


เครดิตรูปภาพ : https://m.pantip.com/topic/40960247

ที่มาเนื้อหา : https://m.pantip.com/topic/32266537?  และกลุ่มคนอยากรู้ฮวงจุ้ย

-----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🏘บ้านชั้นเดียวทำไมถึงแพงกว่าบ้าน 2 ชั้น!!!

 🏘บ้านชั้นเดียวทำไมถึงแพงกว่าบ้าน 2 ชั้น!!!




คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชอบบ้านชั้นเดียว ด้วยสาเหตุหลักๆมาจากไม่อยากเดินขึ้น-ลง , ที่บ้านมีผู้สูงอายุและอีกส่วนหนึ่งคือ คิดว่าราคาถูกกว่าบ้าน 2 ชั้น ซึ่งความจริงมันแพงกว่า....ว่าแต่แพงกว่าที่ส่วนไหนบ้างล่ะ


ก่อนอื่นไม่ว่างทำแบบ ถอดราคาแบบบ้านชั้นเดียวและ 2 ชั้นให้ดูนะคะ เลยไปหาราคาคร่าวๆจากบริษัทรับสร้างบ้านที่เขาลงไว้มาเฉลี่ยให้ดู ไม่ต้องตกใจไปทำไมราคาถึงสูงปรี้ดปร้าดกว่าปกติ เคยบอกไปโพสที่แล้วว่าเขามีต้นทุน Overhead สูงกว่าบริษัทรับเหมาก่อสร้างทั่วไป  ดูแค่เพียงค่าเฉลี่ยอ้างอิงคร่าวๆพอค่ะ


🔻แบบบ้านชั้นเดียว


- 2,090,000 / 100 ตรม. เฉลี่ย 20,900 บาท/ตรม. (หลังคาหมาแหงน)

- 4,990,000 / 162 ตรม. เฉลี่ย 30,802 บาท/ตรม. (หลังคาปั้นหยา)

- 3,490,000 / 137 ตรม. เฉลี่ย 25,474 บาท/ตรม. (ทรงกล่อง)

- 3,950,000 / 170 ตรม. เฉลี่ย 23,235 บาท / ตรม. (ทรงกล่อง)

- 4,490,000 / 170 ตรม. เฉลี่ย 26,411 บาท/ตรม. (หลังคาหมาแหงน)


🔻แบบบ้าน 2 ชั้น


- 2,550,000/ 126 ตรม. เฉลี่ย 20,238 ยาท/ตรม. (หลังคาหมาแหงน)

- 3,950,000 / 198 ตรม. เฉลี่ย 19,949 บาท/ตรม. (ปั้นหยาทั่วไป)

- 3,650,000 / 156 ตรม. เฉลี่ย 23,397 บาท/ตรม. (ทรงนอร์ดิก)

- 5,550,000/ 246 ตรม. เฉลี่ย 22,560 บาท/ตรม. (ทรงกล่อง)

- 5,950,000/ 246 ตรม. เฉลี่ย 24,186 บาท/ ตรม. (ทรงกล่อง)


📌ส่วนไหนที่ทำให้ราคาแพงกว่าบ้าน 2 ชั้น


ลองนึกภาพสร้างบ้าน 150 ตรม. ชั้นเดียว กับ 2 ชั้นดูสิ บ้านชั้นเดียวแผ่เต็มพื้นที่ 150 ตรม. บนที่ดิน ส่วนบ้าน 2 ชั้น คิดง่ายๆก็คือชั้นละ 75 ตรม. แล้วตรงส่วนนี้แหละ 150 กับ 75 ที่มันคือจุดต่างกัน


🔹ฐานราก,เสาเข็ม,งานขุดดิน

- บ้านชั้นเดียวใช้ฐานรากและเสาเข็มเยอะกว่าแน่นอน เช่น ชั้นเดียวใช้ 22 จุด ส่วนบ้าน 2 ชั้นใช้  12 จุด


🔹ไม้แบบ

- บ้านชั้นเดียวแผ่บนที่ดิน 150 ตรม. เวลาเทคอนกรีตหากเทพร้อมกันก็ใช้ไม้แบบเยอะกว่าตามจำนวนฐานราก เสา คาน ที่แผ่บนดิน


🔹โครงหลังคา

- บ้าน 2 ชั้น มีพื้นที่โครงหลังคาน้อยกว่าบ้านชั้นเดียวเกือบเท่าตัว

- ยิ่งขนาดบ้านเป็นก้อนมากเท่าไหร่ การทำหลังคาจั่ว ปั้นหยา ก็ยิ่งใช้จำนวนเหล็กที่มากขึ้นเนื่องจากช่วง span ใหญ่ ทำให้ Slope หลังคาดันตัวโครงสูงขึ้น ยิ่งโครงใหญ่ก็ต้องรับทั้งน้ำหนักหลังคาและน้ำหนักตัวมันเอง


🔹กระเบื้องหลังคา

- บ้าน 2 ชั้น มีพื้นที่มุงกระเบื้องหลังคาน้อยกว่าบ้านชั้นเดียวเกือบเท่าตัว


🔹การยกความสูงชั้นที่ 1

- บ้านชั้นเดียวชอบยกสูง 1.00-1.50 เมตร จึงทำให้เพิ่มคานคอดิน กำแพงก่อปิดใต้ถุน

- บ้าน 2 ชั้น ไม่นิยมยกสูง เพราะจะทำให้สัดส่วนดีดเป็นม้าดีดกะโหลก


ส่วนที่บ้านชั้นเดียวใช้น้อยกว่าก็มีเช่น นั่งร้าน แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะบอกแล้วยิ่งออกแบบแปลนเป็นก้อน ยิ่งทำให้ span เสามีช่วงกว้างส่งผลถึงขนาดหลังคา ผนังก่อ อีกทั้งต้องออกแบบสัดส่วนตัวบ้านไม่ให้เตี้ยตัน จึงต้องดีดความสูง สัดส่วนฐานบ้านและช่วงเสาขึ้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่เห็นบ้านชั้นเดียวสร้างใหญ่ โอ่โถ ตระหง่านตา


Credit : https://idea-home.thailetgo.com/10289?=บ้านพักอาศัยชั้นเดียว-ขนาด-4-ห้องนอน-3-ห้องน้ำ-พื้นที่ใช้สอย-160-ตรม/ดูไอเดียบ้าน/แบบบ้าน

: https://bbs-property.com/หาไอเดียทำบ้าน/แบบบ้าน-2-ชั้น-สวย-ๆ/

: https://m.pantip.com/topic/35450908?


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🔴🔻🛑สัญลักษณ์ในแบบสถาปัตยกรรม

 🟪🔴🔻🛑สัญลักษณ์ในแบบสถาปัตยกรรม




งงใช่มั้ย สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หกเหลี่ยมมันคืออะไร ต้องไปดูความหมายตรงไหน วันนี้เราจะมาสอนอ่านเบื้องต้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถที่จะอ่านแบบได้


ก่อนอื่นต้องรู้จัก "รายการประกอบแบบ และ Drawing list " เสียก่อน ทั้ง 2 อย่างนี้ส่วนมากจะรวมอยู่แผ่นเดียวกันหรือแยกหน้ากัน แต่มักจะอยู่ในหน้าแรกๆรองจากหน้าปกแบบก่อสร้างและอยู่ก่อนแบบแปลนบ้านเสมอ


🔻Drawing List หรือ สารบัญแบบ


- ทำหน้าที่บอกว่า เลขแบบแผ่นนี้ คือ แบบอะไร

- เวลาอยากจะดูแบบแบบไหน ก็ไปดูที่สารบัญแบบก่อนเพื่อหาหมายเลขแบบ และไล่เปิดตามตัวเลขเรียง เช่น หาแบบบันได แผ่นที่ A80-1


🔻รายการประกอบแบบ


- ประกอบไปด้วยแบบ พื้น (F), ผนัง , ฝ้าเพดาน (C) , บัวเชิงผนัง (WB)

- ส่วนใหญ่เป็นงาน Finishing ทั้งหมด เช่น งานพื้น จะจำแนกประเภทพื้นตามสัญลักษณ์ที่ระบุในแปลน เช่น F1 พื้น คสล.ปูกระเบื้อง 60x60 

- หากจะดูว่าแต่ละห้องใช้พื้นอะไร ทาสีอะไร บัวเชิงผนังแบบไหน สามารถดูสัญลักษณ์ที่บอกชื่อห้องในแบบแปลนได้ จะพบสัญลักษณ์ F,C,WB รวมอยู่ในชื่อห้องต่างๆ

- สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับงานบ้านไม่ใหญ่มากส่วนใหญ่เหมือนกัน แสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์เดียวกัน  ยกเว้น❗️ บางบริษัทออกแบบที่จะใช้สัญลักษณ์แตกต่างกันไปบ้าง แต่การระบุ การสื่อสารสามารถเข้าใจได้ และไม่ผิดแต่อย่างใด สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้


📌เรามาดูความหมายของแต่ละสัญลักษณ์กัน ซึ่งสามารถหาความหมายได้ที่ "รายการประกอบแบบและสารบัญแบบ"


1.🔲 = พื้น  F

- บางครั้งใช้ [1] หรือ [F1] 

- มักมีระดับเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เช่น F1 +0.80

2.วงรี = ฝ้าเพดาน C

- บอกประเภทฝ้าเพดาน มักมีระดับเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น C1 + 3.60

3.🔻= ผนัง

- สำหรับงานบ้านทั่วๆไปใช้ 🔻 เพราะวัสดุก่อกับงาน Finishing นั้นมีแค่ไม่กี่แบบ จึงใช้ควบรวมทั้ง 2 ใน 1 รายการได้

4.หกเหลี่ยมขีดกลาง

- สำหรับบ้านขนาดใหญ่ อาคารใหญ่ๆ บางที่ใช้หกเหลี่ยมมีขีดกลาง โดยแบ่งเป็น บน = วัสดุก่อ , ล่าง = Finishing

5.หกเหลี่ยม = หน้าต่าง W

- เช่น หน้าต่างห้องนั่งเล่น W1  ก็ไปเปิดหาเลขหน้าแบบขยายหน้าต่างที่สารบัญแบบ ถ้าแบบน้อยก็เปิดๆไล่หาเอา

6.🔘 = ประตู D

- เช่น ประตูห้องนั่งเล่น D1 ประตูห้องน้ำ D2 ตัวเลขต่างกันแปลว่าคนละแบบ

7.+0.00 หรือ 🔻+0.00

- สามเหลี่ยมเล็กๆติดกับตัวเลข หมายถึงการบอกระดับ หัวสามเหลี่ยมทิ่มลงตรงไหนก็คือ ระดับที่ Finishing นั้น


หมายเหตุ 

- ถ้าแบบไหนใช้ สามเหลี่ยมบอกผนัง ก็จะใช้ Pattern ปกติดังนี้  🔻=ผนัง , 🔴 = ประตู , หกเหลี่ยม = หน้าต่าง

- ถ้าแบบ Advance จะเป็นดังนี้ หกเหลี่ยมขีดกลาง = ผนัง , 🔴 = ทั้งประตูและหน้าต่าง แยกกันที่ W และ D ในวงกลมแทน


ใคร งง ดูรูปประกอบ โลด...


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🛑สาเหตุที่แบบโครงสร้างกับแบบสถาปัตย์ไม่ตรงกัน

 🛑สาเหตุที่แบบโครงสร้างกับแบบสถาปัตย์ไม่ตรงกัน



1️⃣ขาดความรู้ ความเข้าใจในการเขียนแบบ เช่น เลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปวาง แต่ในรูปตัดเขียนเป็นพื้นหล่อในที่ทั้งหมด


2️⃣ขาดการกำชับ-การสื่อสารเรื่องโครงสร้างบางส่วนที่สำคัญระหว่างสถาปนิกและวิศวกร เช่น คานส่วนนี้ขอความลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร แต่ออกแบบมา 60 เซนติเมตร และไม่ได้มีการตรวจแบบเพราะคิดว่ากำชับแล้ว หรือ สถาปนิกคิดแต่ไม่ได้บอก


3️⃣มีการเปลี่ยนแบบไปมาทั้งจาก Owner ที่บรรเจิดไม่สิ้นสุดและสถาปนิกที่เคลียร์แบบยังไม่ลงตัว แต่ดันส่งแบบไปให้วิศวกรคำนวณแล้ว 


4️⃣การเปลี่ยนแบบบ่อยๆ ส่วนหนึ่งตัวโปรแกรมจะเกิดการ Error เมื่อมีการนำ Block ที่มีชื่อซ้ำกัน นำของใหม่ไปแทนที่ของเก่า แต่ตัวโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนเป็นแบบใหม่ ทำให้ต่างฝ่ายต่างคิดว่านี่แหละตัว Update ที่สุดแล้ว


5️⃣สถาปนิกไม่ทำการ Combine แบบหรือทำการ Combine แล้วแต่ไม่หมด บางส่วนเกินความรู้ เกินประสบการณ์ เช่น บางจุดไม่มีฐานราก เข็ม ซึ่งถ้า Combine แบบแต่แรกจะพบความผิดปกติ


6️⃣สถาปนิกไม่ได้เขียนโครงสร้างนำไปก่อน เพื่อเป็นการกำหนดแนวความคิด-ความเข้าใจ เพราะบางส่วนในงานโครงสร้างเกี่ยวข้องกับงานโครงสร้าง เช่น ต้องการคานยื่นเป็าขาเพื่อทำครีบเสา แต่วิศวกรก็ออกแบบคานด้านหน้าติดมาด้วย


7️⃣สถาปนิกไม่เข้าใจงานออกแบบว่าโครงสร้างต้องเป็นแบบไหน มาตรฐานการออกแบบที่ใช้กันทั่วๆไปคือเท่าไหร่ที่จะทำให้เกิดปัญหาน้อยสุดและไม่เปลืองโครงสร้าง เช่น ออกแบบคานยื่น 2 เมตรโดยช่วงคานที่ยื่นไม่ได้ออกมาจากช่วงคานหลักต่อเนื่องกัน


8️⃣วิศวกรไม่ดูแบบให้ดี เช่น แบบบ้านทั่วไปใช้เสา 20x20 แต่ออกแบบมา 25x25 


9️⃣ จ้างใครไม่รู้ออกแบบแล้วจ้างเซ็นต์ (ส่วนบ้านต่ำกว่า 150 ตรม.ไม่ใช้สถาปนิกก็ขอข้ามไป)


1️⃣0️⃣ทั้งการเขียน Cad และใช้ BIM แบบก็สามารถหลุดได้ถ้าไม่มีมาแต่แรก เช่น จุดนี้ลืมฐานราก-เข็ม และคิดว่าใช้การยื่นคานเอาได้ แบบก็จะผิดพลาดแต่ต้น


📌ทำไมภาระการ Combine แบบจึงตกที่สถาปนิก


- เป็นคนออกแบบ รู้รูปแบบ Design มากที่สุด และเป็นคนรวบรวมแบบก่อสร้าง

- การ Combine แบบนั้นไม่ใช่หน้าที่สถาปนิกผู้เดียว เพียงแต่สถาปนิกเป็นด่านแรกในการรวบรวมแบบ ส่วนด่านต่อไปก็คือ คนควบคุมงานที่เซ็นต์ลงในแบบแต่ความเข้มข้นจะน้อยลงไป บางโครงการก็เป็นหน้าที่ Consult ร่วมด้วย

- หากแบบไม่สมบูรณ์ สถาปนิกมีหน้าที่ทำแบบให้สมบูรณ์โดยเฉพาะแบบที่เกี่ยวกับการออกแบบโดยตรง (อ่านจรรยาบรรณกับคู่มือสถาปนิก เรื่องการแบ่งงวดค่าออกแบบประกอบ)

- นี่เป็นหลักเบื้องต้น โลกแห่งการทำงานมีอะไรหลากหลายมากกว่านี้ แต่สำหรับงานบ้านทั่วไปไม่ซับซ้อน คนเกี่ยวข้องจึงน้อย สถาปนิกจึงเป็น Main สำคัญเมื่อแบบมีปัญหาทั้งแบบสถาปัตย์ โครงสร้าง ไฟฟ้า สุขาภิบาล โปรดติดต่อไปยังสถาปนิกผู้ออกแบบแล้วสถาปนิกจะประสานไปยังแต่ละส่วนเอง ไม่ควรนำแบบมาถามใน Internet เพราะคนรับผิดชอบแบบคือคนที่เซ็นต์ลงในแบบ


📌"Combine แบบ ทำกันอย่างไร" 


สถาปนิกจะ Combine แบบโดยการรวมแบบจากวิศวกรแต่ละสาขา แล้วนำแบบมาซ้อนทับ Layer กันในโปรแกรมเขียนแบบ CAD หรือ 3D ก็แล้วแต่ เพื่อดูว่าส่วนใดไม่ตรงกับที่ออกแบบไว้แล้วทำการแก้แบบให้ตรงกัน Clearing   สรุปคือ Combine+Clearing แบบ จากนั้นเมื่อแบบออกมาเป็นเล่มก่อสร้าง  ผู้รับเหมา Consult หรือใครต่างๆ ก็ต้องมา Clear แบบ เพื่อทำความเข้าใจแบบว่าอาคารที่จะสร้างเป็นแบบไหน ส่วนใหญ่มันก็เริ่มตั้งแต่ได้แบบไปถอด BOQ แล้ว หากผู้รับเหมาไม่ Clear แบบ ก็จะนำมาซึ่งการขาดทุน สร้างแบบผิด  ส่วนผู้รับเหมาจะ Combine แบบได้ก็ต้องได้แบบกระดาษไขหรือ File cad , File BIM  แต่ส่วนใหญ่ก็คงได้แต่พิมพ์ขาว จึงต้องทำการ Clear แบบกันมากกว่า


ส่วนใครที่งงว่าอะไรคือแบบโครงสร้าง-แบบสถาปัตย์  อ่านได้ที่นี่  : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=160318666588758&id=100889769198315


ปล.แบบไม่ตรงกันมีทุกที่ แต่อยู่ที่ว่าใครเคลียร์แบบมากกว่ากันค่ะ

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

📖🗞แบบพื้นฐานที่ใช้ในการก่อสร้างบ้าน

 📖🗞แบบพื้นฐานที่ใช้ในการก่อสร้างบ้าน




หลายคนจ้างออกแบบแต่ไม่รู้หรอกว่าแบบที่ได้มานั้นเป็นเช่นไร มีจำนวนแผ่นเท่านี้ มีแบบเท่านี้ OK มั้ย? เอาไปสร้างบ้านได้มั้ย มีปัญหาอ๊ะป่าววว 


ก่อนอื่นต้องบอกตรงนี้ว่า Skill การเขียนแบบ ประสบการณ์ในการทำงานของแต่ละคนไม่เหมือนกันซึ่งทั้งหมดส่งผลต่อประสิทธิภาพการเขียนแบบ บางคนบอกว่า แบบเท่านี้แหละสมบูรณ์แล้วใช้ก่อสร้างได้ เจ้าของบ้านก็ไม่รู้หรอกว่าสมบูรณ์จริงมั้ย? นอกจากจำนวนแบบที่จำเป็นต้องมีแล้ว คุณภาพการเขียนแบบยังเป็นสิ่งที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ซึ่งในส่วนคุณภาพการเขียนแบบนั้น สถาปนิกด้วยกันดูออกแต่เจ้าของบ้านดูไม่ออก จึงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายจริงๆ ยังไงก็ดูเรื่องแบบที่ควรจะมีในการสร้างบ้านก่อน 


📌ตามกฏหมายในการยื่นขอปลูกสร้างนั้นได้กำหนดจำนวนแบบที่ต้องใช้ยื่นดังนี้


1.แผนผังบริเวณ 1:500

2.รายการประกอบแบบแปลนและแบบแปลนต่างๆ 1:100 ได้แก่ แปลนพื้น / รูปด้าน 2 รูป / รูปตัดทางสั้น ทางยาว / แบบแปลนโครงสร้าง / ผังคาน / ผังฐานราก

3.หากสร้างด้วยวัสดุถาวรหรือทนไฟต้องแนบรายการคำนวณ พร้อมลายเซ็นทุกแผ่น ระบุที่อยู่ สำนักงาน คุณวุฒิผู้ออกแบบ หากเข้าข่ายใช้วิชาชีพควบคุมต้องระบุเลขที่ใบอนุญาต


หมายเหตุ: รูปตัดสามารถใช้เล็กกว่า 1:100 แต่ไม่เกิน 1:250 ได้ หากตัวอาคารยาวเกิน 90 เมตร


🔻สามารถใช้เพียงแบบที่เขากำหนดไว้ยื่นขอได้โดยไม่ต้องใช้แบบทั้งหมด (ป้องกันการนำแบบไปผลิตซ้ำและมีมากแผ่นก็ยิ่งเสียเวลาทำแบบ เรื่องเยอะ)


📌สำหรับบ้านไม่เกิน 2 ชั้น พื้นที่ต่ำกว่า 150 ตรม.และอยู่นอกเหนือพื้นที่ควบคุมกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น (เอาง่ายๆถามท้องถิ่นแถวบ้านว่าเข้าข่ายต้องยื่นแบบขออนุญาต Version เต็มมั้ย)


- ใช้เพียงแผนผังบริเวณที่ตั้งโดยสังเขปและเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน


กฎกระทรวง 2564 

https://download.asa.or.th/03media/04law/fubr/c3_bcmr68e-64.pdf


ที่กฎหมายกำหนดในการยื่นขออนุญาตนั้นเป็นเกณฑ์ต่ำสุด แต่เวลาไปยื่นจริงๆเราจะพบว่าแต่ละท้องที่ขอมากกว่านั้น (เป็นปัญหาที่ขอไม่พูด ไม่รู้มากพอ ) 


📌แถบสีแดงในรูปประกอบ


คือ แบบที่ทางท้องถิ่นมักกำหนดในการยื่นขออนุญาต ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดและบางท้องถิ่นเรียกขอแบบส่วนเกินไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้นถ้าไม่อยากมีปัญหา เสียเวลา ทะเลาะเรื่อยเปื่อยก็ดูแบบให้ครบตามแถบสีแดง หากมีครบบ้านสร้างเสร็จเป็นหลังแน่นอน แต่อาจจะไม่สมบูรณ์เพราะขาดไฟฟ้ากับสุขาภิบาลที่ไม่ได้กำหนดในการยื่นขออนุญาต เพราะบางที่ไฟฟ้าและประปายังเข้าไม่ถึง แต่ถ้าบ้านท่านมีครบก็แนะนำให้เพิ่มแถบสีเหลืองเข้าไป


📌แถบสีเหลืองในรูปประกอบ


คือ ส่วนที่แนะนำเพิ่มขึ้นมา

- ผังฝ้าเพดาน ดวงโคม ปลั๊ก คือ Guide Line นำร่องในงานสถาปัตย์ เพื่อเอาไว้ให้เจ้าของบ้านนำแบบไปหาช่างมาทำตามแบบหรือนำแบบส่งให้วิศวกรไฟฟ้าคำนวณไฟฟ้า

- ผังสุขาภิบาลชั้น 1,2 และแบบขยายสุขาภิบาลห้องน้ำทุกห้อง โดยวิศวกร

- แบบขยายต่างๆที่จำเป็น เช่น รั้วประตูหน้าบ้าน ราวกันตกระเบียง แบบขยายโรงจอดรถ แบบขยายโครงสร้างที่จำเป็น 

--------------------------------------------------

❗️อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะยังสับสนว่าถ้าได้แบบในแถบสีแดง+เหลือง คือ ครบถ้วนใช่มั้ย? 


คำตอบคือ นั่นคือแบบพื้นฐานที่เจ้าของบ้านควรจะเรียกจากผู้ออกแบบให้ครบตามที่แนะนำ ส่วนแบบที่ครบถ้วนคือแบบที่ ไม่ว่าคนอ่านแบบสงสัยตรงไหน ก็สามารถมีคำตอบ มีแบบขยายทุกจุด ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สถาปนิกควรจะเขียนแบบออกมาให้ครบถ้วนกับบ้าน 1 หลังมากที่สุด ไม่ว่าจะเล็กหรือจะใหญ่ จำนวนแผ่นไม่ได้วัดว่าแบบครบถ้วนหรือสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพแบบในเล่มมากกว่าว่าสามารถนำไปใช้ก่อสร้างโดยเกิดปัญหาน้อยที่สุด

--------------------------------------------------


📌แบบขยายใดบ้างที่ต้องเขียนเพิ่ม


หากจ้างสถาปนิกแล้วแบบที่ออกแบบนั้นมีส่วนตกแต่ง ความพิเศษต่างๆ ที่ต้องให้ระยะ ต้องทำการเขียนแบบขยายเพิ่มออกมาเพื่อให้แบบสมบูรณ์ครบถ้วน ก่อสร้างได้ถูกต้องตามแบบที่ออกแบบ

- แบบขยายทุกส่วนที่เกี่ยวกับงานตกแต่ง เช่น แผงบังแดด pattern กระเบื้องห้องน้ำ ราวกันตก บัวหน้าต่าง 

 - แบบขยายงานโครงสร้างช่วงรอยต่อ เช่น แบบขยายรอยต่อโครงสร้างเหล็กกับคอนกรีต 


📌ส่วน Drawing List ทั้งหมดในรูปประกอบนั้น มักเกิดขึ้นกับงานสร้างบ้านที่มีดีไซน์ เอกลักษณ์ ลูกเล่น มีระบบครบทั้งหมด ค่าก่อสร้างต่อตารางเมตรค่อนข้างสูง แบบขยายเยอะ มีมาตรฐานในการเขียนแบบสูงมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแบบไม่ครบตามนี้คือไม่ดี เพราะบ้านแต่ละแบบดีไซน์ต่างกันสามารถจบงานได้ ไม่ลึกลับซับซ้อน 


ส่วนว่าจะหาสถาปนิกที่เขียนแบบดี มีมาตรฐาน เขียนถูกต้อง ตามเก็บงานจนจบ ไม่ทิ้งงานจากไหน  ..... เอ่อ อันนี้ช่วยไม่ได้จริงๆ คงได้แต่แนะนำให้ขอดูผลงาน ไปดูหน้างานจริง หาทางสอบถามเจ้าของบ้าน ช่วยได้แค่นี้จริงๆค่ะ 


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

📖แบบก่อสร้างหน่วยเมตร Vs หน่วยมิลลิเมตร

 📖แบบก่อสร้างหน่วยเมตร Vs หน่วยมิลลิเมตร



งงมั้ย ทำไมแบบที่ถือถึงเป็นหลักพัน แต่แบบคนอื่นที่โชว์กันหลักหน่วยหลักสิบ....นั่นเพราะหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน ใช้ได้เหมือนกัน แล้วทำไมถึงต้องใช้เขียนแบบไม่เหมือนกัน....


🔘แบบหน่วยเมตร


- พบได้ในอาคารก่อสร้างตั้งแต่งานบ้านขึ้นไป เพราะถ้างานขนาดเล็กความละเอียดในการระบุตัวเลขจะไม่พอ และพื้นที่ในการระบุเลขหลักเซนติเมตร หลักมิลลิเมตรค่อนข้างยาก

- ออฟฟิศที่ทำเฉพาะงานออกแบบอาคาร บางที่เลือกใช้แค่ระบบเดียวคือ หลักเมตร เช่น 2.00 เมตร มักไม่ค่อยพบ 2 ระบบ เนื่องจากยากในการ Combine แบบให้มาตราส่วนลงตัวได้ในแบบ 1 หน้า


🔘แบบหน่วยมิลลิเมตร


- พบได้ในแบบก่อสร้างขนาดเล็ก เช่น แบบบ้าน Knock down เนื่องจากยิ่งเล็กยิ่งต้องละเอียด เพราะมีการใช้วัสดุต่างชนิดกัน มีรอยต่อ จึงทำให้ต้องมีการให้ระยะถี่ขึ้น

- พบได้ในงานอาคารเหล็ก อาคารไม้ เนื่องจากไม้และเหล็กมีหลากหลายขนาด มีความหนาที่ต้องให้ระยะอย่างละเอียด

- พบได้ในงาน Interiors เนื่องจากงานตกแต่งภายในเป็นงานที่มีความซับซ้อนของตัววัสดุ การเขียนแบบโดยให้ระยะความหนาของวัสดุจะทำให้ไม่ผิดพลาดในรอยต่อวัสดุ และเป็นงานที่มี Detail ค่อนข้างจุกจิก ไม่เหมาะกับหน่วยเมตร ระบุ Dimension ไม่พอ

- พบได้ในงานก่อสร้างบ้านเช่นกัน 

- บริษัทออกแบบที่ทำครบวงจรมักเลือกใช้หน่วยมิลลิเมตร ทั้งงานบ้าน งานตกแต่งภายใน งานต่างๆ เพื่อง่ายในการ Combine แบบ ไม่ต้องทำการย่อขนาดแบบไปมา

- บริษัทออกแบบที่ทำงานร่วมกับต่างชาติ นิยมใช้หน่วยมิลลิเมตร เพื่อใช้ในการก่อสร้างต่างประเทศ (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศแต่ละบริษัทด้วย)


สำหรับแบบก่อสร้างงานบ้านทั่วไปส่วนใหญ่เขียนหน่วยเมตรกันอยู่แล้ว ส่วนใครที่เจอหน่วยมิลลิเมตรไม่ต้อง งง เพราะมันไม่ได้อ่านยากขนาดนั้น และทีโอกาสพบเจอ


📌ตัวอย่างการอ่านค่า

▪️หน่วยเมตร - 4.00 = 4 เมตร

▪️หน่วยเซนติเมตร - 400 = 400 เซนติเมตร = 4 เมตร

▪️หน่วยมิลลิเมตร - 4000 = 4000 มิลลิเมตร = 400 เซนติเมตร = 4 เมตร [ 4000 มิล = 4 เมตร ]


🔻สำหรับสถาปนิกบางท่าน บางออฟฟิศที่เขียนหน่วยใดหน่วยหนึ่ง มักจะเลือกเพียงหน่วยเดียว เพราะการเขียน 2 หน่วยนั้นมันมีอุปสรรค ปัญหาหลายอย่างดังนี้


- เวลาคุยกัน ถามกันเรื่องขนาด คนนึงพูดหลักเมตร เช่น 4 เมตร ส่วนหลักมิลลิเมตร เรียก 4000 สร้างความงุนงงในการจูนตัวเลขกัน

- ยากในการ Combine แบบ เพราะหลักเมตรเวลาเขียนแบบ เช่น ผนังยาว 4 เมตรก็เขียน 4 เมตร แต่หน่วยมิลลิเมตรเขียน 4000 ทำให้ขนาดของแบบแตกต่างกันสิ้นเชิง การจะย่อแบบเพื่อนำแบบที่แตกต่างกันมารวมในแผ่นเดียวกันทั้งเสียเวลาและประสาทแดกมาก

- การสร้างมาตรฐาน Pattern ของตัว Dimension แนวการใช้ระยะของทั้ง 2 หลักนั้นก็แตกต่างกันสิ้นเชิง เช่น งานอาคารเน้น Center to Center ส่วนงานขนาดเล็ก งานอินทีเรียหน่วยมิลลิเมตร เน้น ขอบถึงขอบ


ปล.สำหรับหน่วยเซนติเมตร เขาว่ามีใช้กันแต่พอดีไม่ค่อยเจอ

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

บทบาทหน้าที่สถาปนิก Vs วิศวกร

 📌จากเรื่องตรวจสอบโครงสร้างบ้านที่แชร์ไป พอดีเพิ่งได้ตั้งใจอ่าน สรุปตามนี้ใช่หรือไม่ (ไม่เชี่ยวชาญเท่าไหร่ ไม่มั่นใจ อย่าด่ากันเลย)



1️⃣.หากวิศวกรเป็นคนออกแบบและเป็นคนคุมงานด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแบบไปจากแบบที่ออกแบบไว้ในเล่มก่อสร้าง ภาคีสถาปนิกสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ แต่ไม่สามารถไปบอกได้ว่า อันตราย ไม่แข็งแรง วินิจฉัยในส่วนงานวิศวกรรมเพราะเกินขอบเขต หน้าที่ 


- เรื่องนี้ส่งผลถึงการลงชื่อควบคุมงานของภาคีสถาปนิก การควบคุมงานนั้นสามารถทำให้เป็นไปตามแบบเท่านั้น หากไม่เป็นไปตามแบบในส่วนงานด้านวิศวกรรม ไม่สามารถไปสั่งให้ทุบ รื้อ ถอน ให้ความเห็น ควรให้วิศวกรเป็นคนเข้ามาตรวจสอบแทน


2️⃣.ภาคีวิศวกรโยธา สามารถตรวจสอบอาคารได้ แต่การรับรองต้องให้ระดับวุฒิวิศวกรเท่านั้นรับรอง 


- เรื่องนี้ส่งผลถึงบริษัทรับตรวจบ้าน เพราะต้องมีการตรวจโครงสร้างด้วยแน่นอน สถาปนิกจึงไม่สามารถไปตรวจสอบโครงสร้างได้ ตรวจสอบได้เพียงงานที่เกี่ยวกับทางด้านสถาปัตยกรรม


3️⃣.งานที่เข้าข่ายต้องใช้วิศวกรออกแบบ ตรวจสอบ

1.อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป 

2.โครงสร้างของอาคารที่ช้ันใดช้ันหนึ่งมีความสูง ตั้งแต่ 4 เมตรข้ึนไป 

3.อาคารท่ีมีระยะห่างระหว่างศูนย์กลางเสาหรือสิ่งรองรับอื่นต้ังแต่ 5 เมตรข้ึนไป หรือองค์อาคารยื่นจากขอบนอกของที่รองรับตั้งแต่  2 เมตรขึ้นไป

4.อาคารที่มีพื้นที่รวมกันต้ังแต่ 150 ตารางเมตรข้ึนไป ซึ่งอยู่บนพื้นที่เชิงลาดที่มี ความลาดตั้งแต่ 35 องศาขึ้นไป


อ้างอิง : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/042/T_0017.PDF


4️⃣.งานโครงสร้างได้แก่

- เสาเข็ม ฐานราก ตอม่อ คาน เสา พื้น โครงหลังคา ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของคนที่ลงลายเซ็นต์ออกแบบและควบคุมงาน 

- ผนังถือเป็นส่วนประกอบไม่ใช่งานโครงสร้าง

- งานทางด้านสถาปัตยกรรม ได้แก่พวก ผนัง กระเบื้องหลังคา พื้น สีทาบ้าน ประตู หน้าต่าง ความถูกต้อง


อย่าเพิ่ง งง สถาปนิกไม่สามารถไปชี้ว่า อันนี้ไม่แข็งแรง ทุบ...ในส่วนงานโครงสร้าง  แต่สามารถตรวจได้ว่า หนุนลูกปูนมั้ย ผูกเหล็กครบมั้ย ให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างและข้อกำหนดในการทำงาน ซึ่งมันจะมีเขียนอยู่ในเล่มก่อสร้าง


ส่วนในการออกแบบบ้าน สถาปนิกสามารถคุยกับวิศวกรในเรื่องการออกแบบบางส่วน เพื่อถามว่าทำแบบนี้ได้มั้ย ถ้าไม่ได้ต้องทำอย่างไรถึงจะใกล้เคียง ถ้าทำไม่ได้เลยจริงๆก็ต้องตามวิศวกร..

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🚾 ระยะการติดตั้งอ่างล้างหน้ารูปแบบต่างๆ

 🚾 ระยะการติดตั้งอ่างล้างหน้ารูปแบบต่างๆ



จะหล่อ Counter แบบต่างๆ ดูระยะรูปแบบกันให้ดีนะคะ หากไม่มั่นใจ Search ดูระยะการติดตั้งแต่ละแบบ เพราะส่วนมากตกม้าตายกันตอนหล่อ Counter ผิดระยะกัน


- มาตรฐานที่ผู้ผลิต American Standard , Cotto , Mogen แนะนำสำหรับงานบ้านพักอาศัยคือ 85 เซนติเมตร ใครคิดว่าสูงไปใช้ระยะ 80 เซนติเมตร

- สำหรับห้องน้ำสาธารณะ ผู้สูงอายุ คนพิการแนะนำที่ 80 เซนติเมตร จากขอบบนอ่างล้างหน้า

- สำหรับห้องน้ำเด็ก แนะนำที่ 50 เซนติเมตร จากขอบบนอ่างล้างหน้า

📌อยากได้แบบก่อสร้างที่สร้างแล้วไม่มีปัญหาทำอย่างไร?

 📌อยากได้แบบก่อสร้างที่สร้างแล้วไม่มีปัญหาทำอย่างไร?



นี่เลยค่ะ มีเพียงแบบเดียว...As-built Drawing หรือก็คือ แบบก่อสร้างตามหน้างานจริงขณะก่อสร้าง พูดง่ายๆก็คือ ต้องสร้างบ้าน สร้างอาคารให้เสร็จก่อนถึงจะได้มันมาครอบครอง (ต้องอยู่ในสัญญาด้วยนะ)  ซึ่งหมายความว่า ไม่มีแบบก่อสร้างใดที่จะทำให้การก่อสร้างบ้านสมบูรณ์แบบ ไม่มีปัญหาระหว่างทาง 100%


**** กรุณาอ่านให้จบหากอยากจะสร้างบ้านเพราะมันสำคัญ ยาวมาก เขียน 3 เรื่องควบ แต่จำเป็นต้องเขียนรวมกัน ****


⛔️เนื้อหานี้เหมาะกับใคร


1.ผู้ที่ต้องการสร้างบ้านพื้นที่เกิน 150 ตรม. จึงเข้าหลักสถาปัตยกรรมควบคุม ต้องจ้างสถาปนิกออกแบบ จึงเกี่ยวเนื่องถึงหลักการ ข้อมูลต่างๆ การบริการในวิชาชีพสถาปนิก

2.บ้านต่ำกว่า 150 ตรม. ไม่จำเป็นต้องใช้สถาปนิกแต่อยากจ้างสถาปนิก ก็เข้าหลักการด้านบน

3.ไม่ใช้สถาปนิก และจ้างคนที่ไม่ใช่สถาปนิกออกแบบ ทั้งต่ำกว่า 150 ตรม. จ้างเซ็นต์เมื่อเกิน 150 (ผิดกฏหมาย) เนื้อหาด้านล่างจะใช้ไม่ได้กับคนที่ไม่ใช่สถาปนิก 


🔻มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแบบที่ใช้สร้างบ้านมีอะไรบ้าง


   1. Preliminary Drawing (แบบร่างเบื้องต้น)

   2. Construction Drawing (แบบก่อสร้าง)

   3. Construction permission Drawing (แบบขออนุญาตก่อสร้าง)

   4. Shop Drawing (แบบแก้ไข หรือขยายรายละเอียด)

   5. As-Built Drawing (แบบแก้ไขตามหน้างานจริงทั้งหมดหลังก่อสร้างเสร็จ)


อ่านเพิ่มเติม : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0MHtXZFAb35qNqNYAB742mMrzeMYzw7Y6f5RNE9o8qGBwNfU1eTWpNEHNh4WD8X3El&id=100889769198315


ซึ่งหากคุณจ้างสถาปนิกออกแบบสิ่งที่คุณจะได้ตามกระบวนการจ้างออกแบบแน่ๆคือ  1,2,3 ส่วนจะได้ 2 หรือ 3 นั้นต้องตกลงในสัญญากันให้ดี


💕สมมุติว่าจ้างออกแบบและได้เล่มก่อสร้างข้อ 2,3 มา


จะเห็นได้ว่าแบบทั้ง 2 แบบนั้นคือแบบที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการสร้างบ้านจริงๆขึ้นมา ซึ่งปัญหามันจะเกิดตอนสร้างบ้านนี่แหละ 

 ⁃ ปัญหาจากตัวแบบเองที่มีแน่นอนอยู่แล้ว (อธิบายไปหลายโพสละ) = ปัญหาจากแบบ

 ⁃ ต่อให้อ่านแบบเป็น มีคนคุมงาน แต่บางครั้งการสื่อสารกับคนหลายๆคนก็ทำให้งานผิดพลาดได้เช่นกัน จึงจะเห็นว่าไม่ใช่แค่แบบอย่างเดียวที่มีปัญหา = ปัญหาจากคน

 ⁃ ปัญหาจากเรื่องวัสดุที่เลือกใช้หมดรุ่น เปลี่ยนแบบ เลิกผลิต รอสินค้า = ปัญหาจากวัสดุ

 ⁃ ไม่รู้ว่าวัสดุไหนต้องสั่งก่อน ต้องใช้เวลาการผลิต = ปัญหาจากการวางแผนงาน


ยกตัวอย่างมาพอคร่าวๆ ให้ดูว่า ปัญหาในการก่อสร้างไม่ได้เกิดจากแบบอย่างเดียว ต่อให้แบบดีแค่ไหนแต่มันก็มีเรื่องให้ผิดพลาดได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องแบบมีปัญหา ยังไงก็มีแต่อยู่ที่ว่ามากน้อยแค่ไหน 


แบบก่อสร้างพื้นฐานที่เวลาจ้างสถาปนิกออกแบบแล้วควรจะได้มีอะไรบ้าง : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0Zw1wkzLm2Gxu64fzG99UMfFKMgC9oWHMV5f6EFX1k7PyRyeE6xkwXaJ4U9DibQDwl&id=100889769198315


🔴 ทางแก้ปัญหาล่ะ มีมั้ย?


🔻ก่อนจะพูดถึงทางแก้ เรามาดูหลักการการจ่ายงวดงานที่อยู่ในคู่มือสถาปนิก 2547 มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พศ.2532 ได้ระบุการจ่ายเงินวิชาชีพไว้ดังนี้ (ไม่ใช่กฎหมาย)


1.งวดที่ 1 - 5% ตกลงรับงาน

2.งวดที่ 2 - 20% ส่งรายละเอียดโครงการและแบบร่างขั้นต้น

3.งวดที่ 3 - 20% ส่งแบบร่างขั้นสุดท้าย

4.งวดที่ 4 - 40% ระหว่างเขียนแบบก่อสร้างจนส่งเล่ม

5.งวดที่ 5 - 15% ระหว่างก่อสร้างจนจบงาน

อ้างอิง : หน้า 158 https://asa.or.th/handbook/handbook2547/


🔻เรามาดูประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องมาตรฐานแนวทางในการปฏิบัติการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พศ.2558 กำหนดขั้นตอนการออกแบบไว้ 6 ขั้นตอน (ขอย่อบางส่วน)


1.ขั้นตอนการออกแบบแนวความคิด

2.ขั้นตอนการออกแบบร่าง

3.พัฒนาแบบร่าง

4.ทำแบบก่อสร้าง

5.ให้คำปรึกษาด้านการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

6.งานกำกับดูแลช่วงการก่อสร้าง

 ⁃ ตรวจเยี่ยมสถานที่ครั้งคราวเพื่อดูการก่อสร้างและความก้าวหน้าของงาน

 ⁃ ให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมที่จำเป็นที่เกิดจากแบบหรือระหว่างก่อสร้าง

 ⁃ อนุมัติวัสดุ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับความงามของงานออกแบบ


จากข้อ 6 จะเห็นว่าถ้าหากแบบมีปัญหา ก่อสร้างต่อไม่ได้ สถาปนิกต้องจัดการแก้ไข


ถึงแม้จะกำหนดมาตรฐานมา แต่ทั้งนี้ในข้อกำหนดก็ระบุว่าในการจ้างออกแบบว่า "ซึ่งอาจจะครบทุกขอบเขตและขั้นตอนของประเภทงานนั้นๆ หรือเป็นบางส่วนก็ได้ตามแต่ตกลง ให้ถือสัญญาว่าจ้างเป็นเอกสารสำคัญ"  อิหยังว้าาา.... ดังนั้นดูให้ดีว่าสัญญาจบถึงข้อ 4(ส่งแบบก่อสร้าง) หรือ 6(สร้างจนบ้านจบ)


อ้างอิง : https://www.act.or.th/uploads/news/837/m.arch_201603311743.pdf


🔻จรรยาบรรณของสถาปนิก

 ⁃ หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง : ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ละทิ้งงานสถาปัตยกรรมควบคุมที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันควร

อ้างอิง : https://download.asa.or.th/03media/04law/aa/cr58.pdf


จากที่อ้างอิงมา 3 เหล่าทัพจะพบได้ว่า ทั้งหมดล้วนบอกไปในทาวเดียวกันคือ จนจบงานก่อสร้าง


ซึ่งในการสร้างบ้าน ด่านที่ปวดหัวมากที่สุดคือด่านงานก่อสร้าง ซึ่งทางออกสำหรับเรื่องนี้ก็มีอยู่คือ การทำสัญญาครอบคลุมไปจนจบงานก่อสร้างบ้าน แต่ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำกันมาจาก


 ⁃ ผู้ว่าจ้างไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องการทำสัญญา หลักในการทำสัญญาตามคำแนะนำในคู่มือสถาปนิก งานบริการมูลฐาน มาตรฐานการออกแบบที่กำหนดไว้เป็นข้อบังคับ จรรยาบรรณคืออิหยังวะ? เขาเขียนสัญญาแบบไหนก็เซ็นต์ตามนั้น มารู้ตัวอีกที สัญญาระบุว่าจ่ายงวดสุดท้าย 100% เมื่อได้แบบก่อสร้าง  นั่นหมายถึงอะไร? หมายความว่า เขาอาจจะไม่ตามแก้แบบเวลามีปัญหาจากตัวแบบที่เกิดจากการออกแบบ เขียนแบบ จบสัญญากันแล้วเลิกแล้วต่อกัน บางคนอาจจะตามดูแลให้จนจบงาน แต่ขอเบิก 100% ตอนส่งแบบก่อสร้างกลัวผู้ว่าจ้างยึกยัก  หรือชั้นตามดูให้นะแต่ขอคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม 

 ⁃ สถาปนิกยืนกรานตั้งแต่ตอนทำสัญญาว่าขอจบการจ่ายเงิน 100% ที่การส่งแบบก่อสร้าง ซึ่ง OK ชัดเจนดีไม่ผิด ถ้าพอใจสถาปนิกคนนี้ทำสัญญาได้เลย เพราะการเบิกจ่ายงวดที่เขียนมา นั่นไม่ใช่ข้อกฎหมายที่บังคับให้สถาปนิกทุกคนปฏิบัติตาม แต่ก็ต้องนึกถึงตอนบ้านมีปัญหาด้วยนะจ๊ะ ว่าจะแก้เกมส์อย่างไร ช่วงก่อสร้างบ้านนี่แหละปัญหา No.1


📖ส่วนแบบประเภทที่ 4.Shop Drawing และ As-Built Drawing นั้น สำหรับงานบ้านพักอาศัย การที่คุณจะได้แบบนี้นั้นจะเกิดจาก สถาปนิกสานต่องานระหว่างก่อสร้างที่มีปัญหา เขียนแบบเพิ่มเติมเรียก Shop Drawing และรวบรวมแบบระหว่างก่อสร้างตามการก่อสร้างบ้านจริงเรียก As-Built Drawing (ระบุในสัญญาแต่งานบ้านมักไม่ค่อยเจอคนทำ แค่หาคนที่เขียน Shop drawing ให้ก็ยากแล้ว) 


💕แล้วทำไงสถาปนิกถึงจะสานต่อล่ะ

1.สัญญาไปจนจบงานก่อสร้าง

2.จรรยาบรรณเฉพาะคนล้วนๆ ทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา


📣 การกันงวดสุดท้ายไม่ใช่เครื่องการันตีว่าสถาปนิกจะอยู่กับคุณไปตลอดจนจบงานก่อสร้าง แต่อย่างน้อยก็ยังไม่ต้องจ่ายงวดนี้แหละนะ... แลกกัน พอทำใจได้บ้าง


ดังนั้นเมื่อใครคิดจะจ้างสถาปนิกออกแบบบ้านแล้วบังเอิญผ่านมาเห็นโพสนี้ ก็อยู่ที่คุณแล้วว่าจะตัดจบแบบไหน (เอาแค่งานบ้านนะ อย่าไปปนเรื่องอื่น )


สรุป : ถือสัญญาเป็นสำคัญ ถ้าสัญญาระบุครอบคลุมการออกแบบครบ 6 ขั้นตอน งวดการจ่ายเงินก็จะไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ งวดสุดท้ายเบิกเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ 


⛔️ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา


1.ท่านต้องมีข้อมูลเรื่องการทำสัญญาการจ่ายเงิน มาตรฐานการจ้างออกแบบ ซึ่งเขียนไปแล้ว อ่านเยอะๆ

2.ท่านต้องทำสัญญาให้ครอบคลุมไปจนถึงการจบงานก่อสร้างและการจ่ายงวดสุดท้ายเมื่อจบก่อสร้าง

3.จ้างสถาปนิกออกแบบหากเกิน 150 ตรม.และเชคใบประกอบวิชาชีพ เพราะมันเป็นกฎหมายควบคุม (ส่วนบ้านต่ำกว่า 150 ตรม. อยากจ้างสถาปนิกทำได้เลย ทำตามที่แนะนำไป)

3.ไม่รู้แล้ววววว ช่วยได้แค่นี้ ช่วยไม่ได้ทุกคน เขียนแค่นี้ไม่พูดล้าววว

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

✅ มาเชคบันไดบันไดกันเถอะว่าเดินชนคานมั้ย?

 ✅ มาเชคบันไดบันไดกันเถอะว่าเดินชนคานมั้ย?






ปัญหาอย่างหนึ่งของการออกแบบบ้านชั้น 2 แล้วไม่ค่อยระวัง คือ เดินขึ้นชั้น 2 แล้วติดคานเหนือศีรษะ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตขึ้นๆลงๆ ซึ่งบางคนก็มองว่าบันไดใช้พื้นที่ไม่เยอะ ยื่นตูดออกจากตัวบ้านนิดหน่อยก็พอ บางคนก็แบ่งล็อคให้บันไดเต็มที่หมดปัญหาพื้นที่บันไดไม่พอ


ยิ่งแบบที่ไม่ต้องใช้สถาปนิกออกแบบ ไม่ต้องยื่นขออนุญาต (ต่ำกว่า 150 ตรม.) ต้องระวังให้ดี


📌ปัญหามันมักจะเกิดกับบันไดตัว U หรือเรียกกันว่า Dog leg (บันไดขาหมา) และบันไดตัว L ซึ่งกฎหมายระบุเรื่องบันไดไว้ว่า 


1.บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักทุกช่วง 3 เมตรหรือน้อยกว่านั้น 

2.และชานพักบันไดต้องความกว้างและยาว ไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

3.ระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักลันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร  

4.ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนหักส่วนเหลื่อมกันเหลือไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร


รูปที่ 1 : จำนวนขั้นช่วงล่างเท่ากับช่วงบน ✅


มักไม่เกิดปัญหาเพราะแนวคานรับตัวบันไดช่วงบนจะตรงกับบันไดขั้นแรก (กรณีคานตรงๆไม่มีการขยักพื้น) ทำให้มีพื้นที่ระหว่างขั้นบันไดกับใต้ท้องฝ้าเพดานมากพอ ระยะดิ่งเกินกฎหมายกำหนดแน่นอน


รูปที่ 2 : จำนวนขั้นช่วงล่าง น้อยกว่า ช่วงบน ✅


ไม่เกิดปัญหาเพราะบันไดขั้นแรกไม่ได้อยู่ตรงกับแนวคานด้านบน  (กรณีคานตรงๆไม่มีการขยักพื้น) 


รูปที่ 3 : จำนวนขั้นช่วงล่าง มากกว่า ช่วงบน ❌


ส่วนมากมักเกิดปัญหา ยิ่งขั้นช่วงล่างมีจำนวนมากกว่าช่วงบนหลายขั้น และคานที่วิ่งรับบันไดด้านบนเป็นแนวตรงทำให้เมื่อเดินขึ้นบันไดไป 3-4 ขั้น หัวจะชนฝ้าเพดานหรือคาน ยิ่งระยะระหว่างพื้นชั้นที่ 1 กับ ชั้นที่ 2 มีน้อยเกินไป เช่น 3.00 เมตร ยิ่งต้องระวังเรื่องนี้ให้ดีมากๆ


แต่สำหรับบันไดที่ขั้นล่างมากกว่า 1-2 ขั้น มักไม่ค่อยพบปัญหา แต่ก็ควรตรวจเชคเบื้องต้นดังนี้


💟 วิธีการเชคระยะขั้นบันไดกับที่ว่างเหนือศีรษะ (Floor to Floor 3.15 M.)


1.ดูความสูงระหว่างชั้น 1 และชั้น 2 ว่าเท่าไหร่ เช่น 3.15 เมตร

2.ดูว่าโครงสร้าง+ระยะฝ้าเพดานเท่าไหร่ เช่น โครงสร้าง 55 เซนติเมตร ฝ้าเพดาน 5 เซนติเมตร รวมเป็น 60 เซนติเมตร

3.ดูว่าจำนวนขั้นล่าง เกิน จากขั้นบนมากี่ขั้น โดยดูใน แบบขยายบันไดลากแนวคานบนตัดลงมาถึงขั้นบันไดด้านล่าง เช่น ล่าง 9 ขั้น บน  7 ขั้น แปลว่าเกินมา 2 ขั้น (3 ลูกตั้ง) แต่ละขั้นสูง 17.5 เซนติเมตร จะได้ 52.5 เซนติเมตร

4.นำทั้งหมดมาลบกัน 3.15-0.60-0.525 = 2.025 เมตร  เลยตามกฎหมายกำหนด 1.90 เมตร


📣 Trick : 


บันได U : ดูจากแนวบันไดขั้นสุดท้ายด้านบนในแปลนปกติจะมีคานมารับบันได คานตัวนี้แหละ ดูว่าตรงกับบันไดขั้นล่างขั้นไหน กี่ลูกตั้ง

บันได L : คานมักติดศีรษะตรงคานรับพื้นอีกฝั่งที่อยู่ตรงข้ามบันไดทางขึ้นชั้น 2


แปลว่า หากความสูงระหว่างชั้น 3.15 แล้วบันไดขั้นล่างมากกว่าขั้นบน 3 ขั้น (ขั้นละ 17.5 เซนติเมตร) จะทำให้เหลือพื้นที่ 2.025 เมตร หากมากกว่า 3 ขั้นขึ้นไปจะเหลือต่ำกว่า 1.90 เมตร จะผิดกฎหมาย ขออนุญาตไม่ผ่าน เวลาเดินจะต้องคอยหลบศีรษะ ถึงแม้จะไม่ชนแต่สัญชาตญาณสั่งหลบ


⛔️ปัญหาอยู่ตรงไหน


- บางคนเขียนแบบหมวดสถาปัตยกรรมเป็นพื้นหล่อในที่ทั้งหลัง สร้างจริงแบบโครงสร้างเป็นวางแผ่นพื้นสำเร็จ ระยะโครงสร้างของทั้ง 2 ชนิดจะต่างกันอยู่ 10 เซนติเมตร ทำให้ตอนเขียนขออนุญาต ถ้าตรวจไม่ดีก็ผ่าน ยิ่งถ้าไม้ต้องยื่นแบบขออนุญาตยิ่งมีปัญหา

- ส่วนใหญ่ออกแบบความสูงระหว่างชั้นที่ 3.00 เมตร  หากหักโครงสร้างก็เหลือใต้คานมากสุดอยู่ที่ 2.45 , 2.55 กรณีคานลึก 40 เซนติเมตร การจะยื่นบันไดล่างมากกว่าบนจึงต้องระวัง เพราะการยื่น 1-2 ขั้น ก็ได้ระยะตามกฎหมายกำหนด แถมคนสูง 180 ก็ต้องเดินหลบศีรษะ


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

🏡เทคนิคออกแบบบ้าน EP.1 : วางแปลนบ้านอย่างไร ให้อยู่สบาย

 🏡เทคนิคออกแบบบ้าน EP.1 : วางแปลนบ้านอย่างไร ให้อยู่สบาย



ใครหลายคนที่เซิจอ่านเรื่องการวางแปลนบ้านให้ถูกกับทิศทางแดด ลม ใน Internet แล้วมาอ่านโพสนี้อาจจะ งง ว่าทำไมไม่เหมือนที่อื่น ... นั่นเพราะส่วนใหญ่ใน Internet มักจะนำเสนอว่า


☀️ทิศใต้ + ทิศตะวันตก คือ ทิศที่แดดร้อน ให้เอาห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ไปวาง Block แดดไว้


ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องว่าแดดประเทศไทยนั้นอ้อมใต้จึงเป็นทิศที่ร้อนมาก และร้อนนานถึง 6 เดือนแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้นึกถึงคือ ทั้ง 2 ทิศนี้ดันเป็นทิศที่ลมจากตะวันตกเฉียงใต้นั้นพัดเข้ามาเต็มๆถึง 8 เดือน เรียกได้ว่าเป็นลมหลักของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เมื่อห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องครัว ถูกวางในตำแหน่งทางทิศตะวันตกและทิศใต้ทั้งหมด นั่นเท่ากับว่าลมไม่เข้าบ้านเลย เพราะห้องที่พูดมาทั้งหมดนั้นมีหน้าต่างน้อยมากโดยเฉพาะห้องเก็บของกับห้องน้ำ และเป็นห้องที่ต้องปิดประตูตลอดเวลา เมื่อมีทางเข้าแต่ไม่มีทางออก ลมก็ไม่เข้ามาในห้องนะเพราะเกิดสภาวะสมดุลความดัน


ดังนั้น 💨 การเอาห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องครัวไป Block แดด = Block ลมไม่ให้เข้าบ้าน ❌


" ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับลมมากกว่าแดด "


นั่นเพราะแดด มีทิศทางที่แน่นอนและสามารถออกแบบตัวเสริมอื่นๆเพื่อมาช่วยลดความร้อนเข้าบ้านได้


ส่วนลมนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ สภาพและตำแหน่งที่ตั้งทำให้ทิศทางลมไม่เหมือนกัน อีกทั้งลมแต่ละที่ก็ยังมีทิศทางลมต่างกัน ไม่สามารถบังคับให้ลมเข้าบ้านได้และเป็นสิ่งที่ต้องการในการออกแบบบ้านให้อยู่สบายมากที่สุด  ผิดกับแดดที่เราต้องป้องกัน


การออกแบบให้รับลมยังมีโอกาสที่ลมจะเข้าบ้านมากขึ้น แต่การ Block ทางลมนั้นเท่ากับปิดโอกาสให้ลมเข้าบ้านเกือบ 100%


ส่วนใครบอกไม่เอาลม ฝุ่นเยอะ เชิญ....ตามสบาย


รวมเทคนิคการลดความร้อน,ลม,พืชสีเขียว

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=150404540913504&id=100889769198315


ภาพประกอบด้านล่าง : บ้านและสวน

----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------