วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP137.🍓แบบที่ใช้สร้างบ้านมีกี่แบบ?🍓

 🍓แบบที่ใช้สร้างบ้านมีกี่แบบ?🍓





วันก่อนนี้ได้ไปเจอบทความนึงเขาเขียนดี มีลูกค้าถามเขาทำไม "ค่าแบบแพงจัง" และเขาอธิบายว่าเพราะแบบผมไม่ได้จบแค่แบบก่อสร้าง (Construction Drawing) แต่ถ้าให้ผมออกแบบ ผมดูแลยันจบไปถึงแบบหลังก่อสร้าง (As-Built Drawing) วันนี้เราเลยจะมาอธิบายให้ฟังว่า แบบที่สถาปนิกสามารถทำให้ได้สำหรับการสร้างบ้าน 1 หลังมีอะไรบ้าง (หลังเล็กๆ)


   1. Preliminary Drawing (แบบร่างเบื้องต้น)

   2. Construction Drawing (แบบก่อสร้าง)

   3. Shop Drawing (แบบแก้ไข หรือขยายรายละเอียด)

   4. As-Built Drawing (แบบแก้ไขตามหน้างานจริงทั้งหมดหลังก่อสร้างเสร็จ)


โดยปกติผู้ว่าจ้างมักจะรับรู้แค่เพียงว่าถ้าเราจ้างออกแบบเราจะได้แบบเพียงแค่แบบก่อสร้างหรือแบบขออนุญาต (ใช้ตัวเดียวกันเลยถ้าหลังเล็ก) โดยที่ผู้ว่าจ้างไม่รู้ว่าความเป็นจริงแล้วสถาปนิกหลายๆท่านนั้นทำงานสานต่อจนจบโครงการเป็นเรื่องปกติ


📌1.Preliminary Drawing (แบบร่างเบื้องต้น)


    แบบร่างเบื้องต้นจะเกิดในช่วงการออกแบบขั้นต้น 3 ช่วง คือ ช่วงนำเสนอ ,ช่วงปรับแบบ ,ช่วง Fix แบบ เมื่อผู้ว่าจ้างพอใจกับแบบแล้ว สถาปนิกจะทำการรวบรวมแบบร่างขั้นสุดท้าย ส่งมอบให้เจ้าของบ้านไว้ โดยแบบที่ได้ไม่สามารถเอาไปก่อสร้างได้ ใช้เพียงเข้าใจร่วมกันว่าแบบบ้านที่เราตกลงกันไว้คือแบบนี้นะ


📌2.Construction Drawing (แบบก่อสร้าง)


    สำหรับงานบ้านหลังเล็กๆ รายละเอียดไม่เยอะก็สามารถใช้แบบก่อสร้างยื่นขออนุญาตได้ ยกเว้นแบบบ้านขนาดใหญ่ 300 ตรม.ขึ้น มี Detail ในการเขียนแบบเยอะ ก็สามารถแยกแต่ส่วนที่ใช้ในการขออนุญาตออกมาได้ 


    แบบชนิดนี้มีเพียงแบบเดียวก็ใช้ก่อสร้างได้ปกติ (หากละเอียดครบทุกแบบ) สามารถส่งให้ผู้รับเหมาตีราคา ส่งถอด BOQ แยกจากสถาปนิกได้


💕แบบก่อสร้างงานบ้านเล่มเต็มจะประกอบไปด้วย

1.แบบสถาปัตยกรรม by สถาปนิก

2.แบบโครงสร้าง by โยธา

3.แบบสุขาภิบาล by โยธาหรือสิ่งแวดล้อม

4.แบบไฟฟ้า by วิศวกรไฟฟ้า

5.แบบเครื่องปรับอากาศ by วิศวกรเครื่องกล


หากคุณจ้างเต็มทุกลายเซ็นต์ ทุกระบบจะได้ประมาณนี้ (งานบ้านเฉยๆ) เวลายื่นขออนุญาต ดึงแบบเฉพาะที่จำเป็นในการยื่นขออนุญาตออกมายื่นขอได้ แนะนำว่าไม่ควรยื่นตัวเต็มป้องกันการนำแบบไปผลิตซ้ำ


📌ตามกฏหมายในการยื่นขอปลูกสร้างนั้นได้กำหนดจำนวนแบบที่ต้องใช้ยื่นดังนี้


1.แผนผังบริเวณ 1:500

2.รายการประกอบแบบแปลนและแบบแปลนต่างๆ 1:100 ได้แก่ แปลนพื้น / รูปด้าน 2 รูป / รูปตัดทางสั้น ทางยาว / แบบแปลนโครงสร้าง / ผังคาน / ผังฐานราก

3.หากสร้างด้วยวัสดุถาวรหรือทนไฟต้องแนบรายการคำนวณ พร้อมลายเซ็นทุกแผ่น ระบุที่อยู่ สำนักงาน คุณวุฒิผู้ออกแบบ หากเข้าข่ายใช้วิชาชีพควบคุมต้องระบุเลขที่ใบอนุญาต


หมายเหตุ: รูปตัดสามารถใช้เล็กกว่า 1:100 แต่ไม่เกิน 1:250 ได้ หากตัวอาคารยาวเกิน 90 เมตร


อ่านเพิ่ม (ควรอ่าน) https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=174365861850705&id=100889769198315

--------------------------------------------------

ในทางกลับกัน ถ้าคุณจ้างใครเขียนแบบ เช่น ท้องถิ่น หากคุณตกลงเพียงแค่แบบยื่นขออนุญาต คุณจะได้แบบแค่ตามจำนวนที่ท้องถิ่นกำหนดในการยื่นขออนุญาต (มันคือส่วนย่อยของแบบก่อสร้าง ใช้ก่อสร้างได้แต่จะขาดสุขาภิบาลและไฟฟ้า ต้องไปหาหน้างานเอา ไม่มีแบบนำร่องเหมาะกับงานง่ายๆ ) ดังนั้นเวลาจะจ้างเขียนแบบควรตกลงกันที่แบบก่อสร้างทั้งเล่มโดยประกอบไปด้วย 4 หมวดหลักๆ (ระบบแอร์แล้วแต่บ้าน)


📌3. Shop Drawing (แบบแก้ไข หรือขยายรายละเอียด)


    ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่มีแบบก่อสร้างไหนสมบูรณ์แบบ 100% หรอก มันจึงเป็นที่มาของการทำ Shop drawing เพื่อแก้ไขหรือขยายรายละเอียดต่างๆระหว่างก่อสร้าง เช่น ทำ Pattern การปูกระเบื้องพื้นบ้าน พื้นห้องน้ำ , การแก้ไขหน้างานในส่วนที่ผิดพลาดจากการออกแบบและไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้  ผู้รับเหมาจะบอกให้เจ้าของบ้านตัดสินใจและนี่คือปัญหาเพราะถ้าเจ้าของบ้านไม่รู้เรื่องอะไรเลย และสถาปนิกผู้ออกแบบก็ไม่ได้มาสานต่อ การแก้แบบจะเกิดขึ้นโดยขาดความสวยงามหรือแก้แล้วมีปัญหาตามมา กระทบส่วนอื่นเละเทะไปหมด


   โดยแบบที่ถูกแก้ไขระหว่างก่อสร้าง หากมีสถาปนิกคอยกำกับดูแล แบบทุกอย่างจะเริ่มถูกรวบรวมไว้เพื่อรวมเล่มท้ายสุด


📌4.As-Built Drawing (แบบแก้ไขตามหน้างานจริงทั้งหมดหลังก่อสร้างเสร็จ)


   และแน่นอนที่สุด นี่คือเล่ม Final ที่แท้ทรูที่สถาปนิกจะรวบรวมให้ท่าน  ทาดาาา!!!! ถามว่ามันสำคัญอย่างไร ก็เช่น งานระบบไฟฟ้า งานระบบสุขาภิบาล มันก็จะ Update ล่าสุด งานโครงสร้างเราก็จะได้รู้ว่าตรงไหนผนังอะไร คานซอยตรงไหน เผื่อใช้ต่อเติมในวันข้างหน้า  หรือวันดีคืนดีอยากทำ Interior ก็เอาแบบเนี่ยให้คนออกแบบได้เลย


จบแล้วเห็นความสำคัญกันรึยังคะ บางคนถามทำให้เป็นเล่มเดียวกันไม่ได้เหรอ? คือถ้าไล่เรียงตามลำดับจะเห็นว่ามันเกิดขึ้นตามสถานการณ์ จะทำ As-Built ก่อนได้ไง ใครจะรู้ได้ว่าแบบ Construction นั้น Perfect 100% !!!


---------------------------------------------

❌ปล.ด้านล่างคือแบบสำหรับงานก่อสร้างขนาดใหญ่❌

   1. Preliminary Drawing (แบบร่างขั้นต้น)

   2. EIA permission Drawing (แบบส่งการศึกษาสิ่งแวดล้อม)

   3. Bank Loan Drawing (แบบกู้เงินธนาคาร)

   4. Construction permission Drawing (แบบขออนุญาตก่อสร้าง)

   5. Bidding Drawing (แบบประมูลราคา)

   6. Construction Drawing (แบบการก่อสร้าง)

   7. Shop Drawing (แบบเพื่อรายละเอียดก่อสร้างแต่ละจุด)

   8. Asbuilt Drawing (แบบบันทึกการก่อสร้างที่สร้างจริง)


***ภาพประกอบมีไว้เท่ห์ๆ


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

----------------------------------------------

#boq #สร้างบ้าน #สัญญาจ้างออกแบบ #ผู้รับเหมา #ดีไซน์

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP136. ทำไมถึงถูกโกง?

 ทำไมถึงถูกโกง?



ใครหลายคนมักมองว่า "การสร้างบ้านคือเรื่องง่าย" และคิดว่า "ใครๆก็ทำได้" จึงพยายามเป็นทั้ง "สถาปนิก วิศวกร คุมงานก่อสร้าง" เสียเอง โดยที่ไม่รู้เลยว่า "ตนเองกำลังจะถูกโกง"
ถึงแม้กฏหมายจะบอกว่า "บ้านต่ำกว่า 150 ตรม. เจ้าของบ้านสามารถคุมงานเองได้ ไม่ต้องใช้ลายเซ็นสถาปนิก วิศวกร ใช้แค่รายการคำนวณโครงสร้าง" แต่ลองนึกดูนะว่า "บ้าน 150 ตรม.ใหญ่แค่ไหน?"
บ้านกว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตร ใหญ่มั้ย? ถามจริงๆว่าตนเองสามารถทำเองได้หมดเลยหรือ?
🔻การสร้างบ้าน 1 หลัง มันคือ การรวมวิชาชีพของ
1.สถาปนิก เรียน 5 ปี ตอนนี้แยกสาขาตั้งแต่มัธยมแล้ว
2.วิศวกร เรียน 4 ปี
3.คอนซัลท์ รวมความรู้ของสถาปนิก+วิศวกร
4.โฟร์แมน หัวหน้าช่าง
5.ผู้รับเหมาก่อสร้าง
6.ซับรับเหมาแต่ละด้าน วิชาชีพเฉพาะด้าน
แล้วคนทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายงานนี้ มักตัดข้อ 1-4 ออกไป แล้วชนกับผู้รับเหมาเอง ทำไมถึงชอบคิดกันว่า "เอาอยู่"
ถ้าสร้างบ้านหลังเล็กๆ กฏหมายเขาเอื้ออำนวยอยู่แล้วให้ใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม แต่สำหรับหลังใหญ่ๆมันเกี่ยวข้องกับชีวิตคน เขาถึงต้องไปสอบเอาใบประกอบวิชาชีพกัน
ถ้าคุณคิดว่าคุณสามารถคุมงานได้ ก็ลองอ่านเนื้อหาในเพจที่เขียนให้ข้อมูลมาประมาณ 160 เรื่อง แล้วลองคิดดูว่า "รู้กี่เรื่อง" ถ้ารู้ไม่ถึง 10 เรื่องนั่นก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า "คุณเสี่ยงที่จะโดนหลอกได้ทุกช่วงเวลา" ตั้งแต่ออกแบบยันก่อสร้าง ที่เขียนข้อมูลในเพจส่วนนึงคือ ให้เจ้าของบ้านมีความรู้ติดตัวไว้ป้องกันการถูกหลอก แต่ไม่ได้เอาไว้ให้เจ้าของบ้านใช้เป็นเล่ห์ เหลี่ยมหลอกคนอื่นเขานะ อีกอย่างถึงจะจ้างคอนซัลท์มาคุมงาน แต่คนที่จะอยู่ดูการก่อสร้างบ้านมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าของบ้าน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเจ้าของบ้านได้
ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงคิดว่า "การสร้างบ้านคือเรื่องง่าย" นั่นเพราะคนทุกคนฝันที่จะมีบ้าน ออกแบบบ้านเอง แต่ต้องไม่ลืมว่า "ความสามารถคุณมีได้แค่ออกแบบพื้นฐาน" แต่ไม่ได้หมายความว่าจะจัดการไปจนถึงการวางตำแหน่งเสา ระยะคาน การใช้สอย รูปแบบหลังคา ท้ายสุดคุณก็จะไปหาคนที่เขาเขียนแบบให้คุณได้
และคุณก็จะเลือกคนที่ถูกที่สุด คนที่เป็นญาติ คนที่วิ่งเข้าหาคุณเมื่อคุณโพสหาคนออกแบบ แต่รู้มั้ย "สถาปนิกที่ดีส่วนใหญ่ไม่วิ่งเข้าหาใคร ไม่แข่งราคาตัดแข้งขากัน" และอีกเรื่องที่จะบอกคือ
วงการนี้ดันมีคนที่คิดว่าตนเองเป็นสถาปนิก "แต่ไม้ได้ร่ำเรียนมาทางสายนี้ ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ" ซึ่งก็ใช้วิธีจ้างเซ็นต์ แล้วรู้มั้ยพวกนี้กินค่าแบบ 7% เท่าๆกับสถาปนิกวิชาชีพ แต่คนที่เป็นสถาปนิกวิชาชีพโดยตรงกลับถูกต่อราคา บางคนไม่กล้าเรียกถึง 7% และการที่จรรยาบรรณห้ามโปรโมทตนเอง ทำให้คนดีดีหางานไม่ค่อยได้ ส่วนคนที่แอบอ้างก็พุ่งเข้าหาเวลามีคนประกาศหาคนออกแบบ คนพวกนี้รู้ว่า "เขาชอบของถูก" ไม่สนหรอกว่ายังไง ขอแค่ได้แบบในราคาที่ถูกชั้น OK
ปกติไม่เขียนเรื่องพวกนี้ แต่แค่อยากพูดเฉยๆว่า "บ้านคือเงินเก็บทั้งชีวิต ราคาที่โดนโกงไปเทียบไม่ได้กับการหาคนคุมงาน หาสถาปนิก หาวิศวกร ที่น่าเชื่อถือมาดูแลบ้านของคุณหรอก"
ปล.เพจนี้ไม่รับงานอะไรทั้งนั้นนะจ๊ะ มีเวลาก็อยากจะนอนอย่างเดียว
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
-----------------------------------------------

EP135. แบบสถาปัตย์ คือ อะไร?

 แบบสถาปัตย์ คือ อะไร?



หลายคนนอกวงการ งง แน่นอนจร้าาว่ามันคืออะไร แบบโครงสร้างยังพอเข้าใจ แต่แบบสถาปัตย์คือ แบบอะไร หน้าตาแบบไหน แผ่นไหนที่มันเรียกกันละหว่า...
จ้างเค้าออกแบบมาจนได้เล่มแบบบ้าน เปิดเชยชม แต่ก็เรียกแบบไม่ค่อยจะถูก สูดหายใจลึกๆแล้วตั้งสติกันจ๊ะ
🔅แบบขออนุญาต = เป็นรูปเล่มเหมือนกัน เนื้อหามีตามมาตรฐานที่ใช้ในการยื่นขออนุญาต มีความละเอียดใช้ในการก่อสร้างได้ บางคนได้แบบนี้มาก็เรียกแบบก่อสร้างได้เช่นกัน
🔅แบบก่อสร้าง = เป็นรูปเล่ม มีความละเอียดครบทุกแบบ หากจ้างบริษัทใหญ่ๆ เล่มก่อสร้างจะมีแบบเนอะกว่าแบบขออนุญาตแบบคนละเรื่อง เพราะเขาจะดึงเอาส่วนที่ไม่ต้องใช้ในการขออนุญาตออก ป้องกันการนำแบบไปใช้ที่อื่น และเดี๋ยวจะกลายเป็นถ่วงความไวในการขออนุญาต อีกอย่างถ้ารอแบบครบกว่าจะได้ขอก็เสียเวลา
เมื่อทราบความแตกต่างแล้ว ก็จะขอเรียกรวมว่า "แบบก่อสร้าง" ไปเลยแล้วกัน
📌แบบก่อสร้าง (For Con) ประกอบไปด้วย
1.แบบสถาปัตยกรรม เรียกสั้นๆ " แบบสถาปัตย์ " , " แบบถาปัต" , " แบบเต็ก ย่อมาจาก Architecture" ตัวย่อในแบบ A
2.แบบโครงสร้าง เรียกชื่ออื่น "แบบสตรัคเจอร์" ตัวย่อในแบบ S
3.แบบไฟฟ้า ตัวย่อในแบบ E (Electric)
4.แบบสุขาภิบาล ตัวย่อในแบบ SN (Sanitary)
ทั้ง 4 หมวดนี้ คือ หมวดงานใหญ่ ที่จะประกอบด้วยแบบแผ่นย่อยที่เกี่ยวข้องกันอีกหลายแบบในหมวดงาน โดยเราสามารถดู List รายการว่าเรามีแบบอะไรบ้างได้ในแบบก่อสร้างประมาณแผ่นที่ 3 โดยดูที่มุมขวาล่างสุดของทุกแผ่น
🔸Drawing Title รายการแบบ คือ บอกว่าแบบนี้คือแบบอะไร
🔸Dwg No. Drawing Number แผ่นที่ คือ บอกหมายเลขแบบ
(แล้วแต่ว่าจะจัดหมวดแบบไหน ) ทำไมใช้ No. ไปหาอ่านเอานะจ๊ะ
1️⃣ แบบสถาปัตย์
สาเหตุที่เรียกว่าแบบสถาปัตย์ เพราะเป็นแบบที่ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับงาน Finishing ต่างๆ ที่ถัดมาจากงานโครงสร้าง
- รายละเอียดเกี่ยวกับงานพื้น งานก่อผนัง สีทาบ้าน วัสดุมุงหลังคาคืออะไร ประตู หน้าต่างแบบไหน ส่วนนี้เรียก งานถาปัต
- บอกระยะ Dimension ย่อยในแบบ
- แบบสถาปัตย์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 40-50% ของราคาก่อสร้าง บ้านจะแพงไม่แพงงัดกันที่ตรงนี้ส่วนหนึ่ง เช่น อยากได้กระเบื้อง ตรม.ละ 600 ปูพื้นบ้าน กับ กระเบื้อง ตรม.ละ 300 ปูพื้นบ้านก็ต่างกันแล้ว
- Dwg No. จะขึ้นต้นด้วย A-xx เช่น A4-01 รูปตัด
2️⃣ แบบโครงสร้าง
แบบส่วนนี้จะอยู่ถัดจากแบบสถาปัตย์ ทั้งที่ในความเป็นจริง การก่อสร้างจะสร้างงานโครงสร้างก่อนก็ตามแต่ถาปัตนำเสมอ
- งานโครงสร้างตั้งแต่ฐานราก ตอม่อ เสา คาน พื้น ไปจนถึงโครงสร้างหลังคา (ไม่รวมวัสดุมุงหลังคา)
- งานส่วนนี้กินมูลค่าประมาณ 30-35%
- Dwg No. จะขึ้นต้นด้วย S-xx เช่น S-02 แปลนคานชั้นที่ 1
สรุป : โครงสร้างก็เหมือนตัวคน ส่วนงานถาปัตก็เหมือน เสื้อผ้า กระเป๋า การแต่งหน้า Life style ของคนๆนั้น จะแต่งตัวบ้านๆไม่เน้นแบรนด์เนมก็ราคานึง จะใส่แต่แบรนด์เนมก็อีกราคานึง แต่ความเป็นคนนั้นเท่ากัน เปลี่ยนไม่ค่อยได้หรอก
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
-----------------------------------------------

134. ถอดบทเรียนบ้านลูฟี่ ผนังยืดหยุ่นได้ จาก โหนกระแส

 ถอดบทเรียนบ้านลูฟี่ ผนังยืดหยุ่นได้ จาก โหนกระแส



เพิ่งมีโอกาสได้ดูย้อนหลัง อาจจะดูช้าไปหน่อย ว่าจะไม่ตามกระแส แต่แค่เปิดฟัง 5 นาทีแรก นึกว่าซีรี่ย์เกาหลี เงื่อนงำ ซับซ้อน เข้าใจเลยทำไมถึงเป็นแบบนี้ และคนน่าจะโดนกันเยอะ เดี๋ยวสรุปเป็นข้อให้ฟังก่อนเลยแล้วกัน
⛔️ ปัญหาที่เกิดจากบ้านหลังนี้ได้แก้
1.ซื้อแบบบ้านสำเร็จรูป
2.ขนาด 177 ตรม. ราคา 1.8 ล้านบาท
3.แบ่งงวดเป็น 5 งวด
4.งวดที่ 1 ทำสัญญา เตรียมงาน 380,000
5.งวดที่ 2 ถึงจะเริ่มลงมือสร้าง 360,000
6.งวดที่ 3 จ่ายแต่ไม่ได้ของ 360,000
7.ฝ่าย ผรม.ไม่มีวิศวะ และ ผรม.ไม่เข้าหน้างาน
8.ฝ่ายเจ้าของบ้านไม่มีคอนซัลท์ ปรึกษาใครไม่ได้เพราะแบบซื้อมา
9.ไม่กำหนดรูปแบบเสาเอ็น ไม่มีราคาในแบบ
10.เหล็กหนวดกุ้ง ดิ้นได้
11.เหล็กเสาเอ็น ทับหลังไม่ได้มาตรฐาน
12.ผนังสูง 4 เมตร โยกเยกได้
13.กำแพงถล่มระหว่างก่อสร้าง
14.หลังคารั่ว น้ำซึม
15.เปลี่ยนแบบเข็ม I18 เป็น I22
1️⃣. ซื้อบ้านสำเร็จรูป
หากคุณต้องการประหยัดเงินค่าออกแบบบ้าน ไม่จ้างสถาปนิกแล้วไปซื้อบ้านสำเร็จรูปมาใช้งาน แล้วคิดว่าจะปรับนู้นนี่ตามอำเภอใจ ชั้นจะเป็นสถาปนิกเอง รวมถึงเป็นวิศวกรเอง ขอเปลี่ยนแม้กระทั่งเสาเข็ม มันไม่ใช่เรื่องสมควรอย่างยิ่ง นั่นเพราะคุณไม่มีความรู้และความสามารถ ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ แล้วการที่คิดว่ามีคนเซ็นต์แบบ ซื้อแบบพร้อมลายเซ็นต์แล้วหวังว่าจะปรึกษาเค้าได้ ฝันไปไกลมากค่ะ เขาไม่ให้คุณตามตัวหรอก เพราะการขายแบบแบบนี้มันผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ตัดแข้ง ตัดขาเพื่อนร่วมอาชีพ (แต่ลืมๆไปเหอะ คนพวกนี้ไม่ได้เกรงกลัวกันหรอก) อีกทั้งค่าแบบไม่กี่พันจะเอาอะไรนักหนาจ๊ะ ถูกและดีไม่มีใครทำ
2️⃣. ขนาด 177 ตรม. ราคา 1.8 ล้านบาท
ไม่ต้องกดเครื่องคิดเลข หารง่อยๆตก ตรม.ละ 10,000 บาท ฟังดูแล้วเป็นไปได้ยาก เป็นไปไม่ได้สำหรับบ้านหลังนี้ นั่นเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าบ้านชั้นเดียวราคาถูก no no no..... ไม่จ่ะ คิดตามนะ บ้านแผ่หลากินพื้นที่ 177 ตรม. บนดินเต็มๆ ต่างจากบ้าน 2 ชั้น 177 ตรม. บนดินนะจ๊ะ เพราะบ้าน 2 ชั้นจะกินพื้นที่ประมาณครึ่งเดียว 90-100 ตรม. นั่นแปลว่า จำนวนเข็ม การตอก ขุด กลบ ไม้แบบ จำนวนเสา ขนาดหลังคา บ้านชั้นเดียวรับไปเต็มๆ ในขณะที่บ้าน 2 ชั้นจะถูกหาร แต่บ้าน 2 ชั้นจะแพงตรงนั่งร้าน การทำงานที่สูง ส่วนบ้านหลังนี้หรอ....ผนังสูง 4 เมตร....ก็โดนนั่งร้านเข้าไปด้วย ยกพื้นสูงอีก ทีนี้เข้าใจยังว่ามันจะ ตรม.ละ 10,000 ได้ไง เจ้าของบ้านต้องเข้าใจจุดๆนี้
3️⃣. การแบ่งงวดงานออกเป็น 5 งวด
ถ้าติดตามเพจจะรู้ว่า การแบ่งงวดงานแบบหารเท่าๆกันแบบนี้ มันไม่ได้แบ่งตาม BOQ แบ่งตามลูกทุ่งๆแบบที่ ผรม.บอกแหละ คือ Catch me if you can จำไว้นะเด็กๆ บ้านราคาหลักแสน บ้านเป็นหลัง กรุณาจ่ายเงินตามงวดงาน BOQ เท่านั้น ถ้าไม่รู้ว่า BOQ กับการแบ่งงวดงานกากๆเป็นยังไง อ่านได้ในเพจเลย การแบ่งงวดงานแบบไม่มีรายละเอียด มันเอาไว้ใช้แค่งานต่อเติมหลักหมื่น เน้นความพึงพอใจ แต่ถ้าบ้านคุณพี่ราคา 1.8 ล้าน แบ่ง 5 งวด ก็ต้องสวดภาวนาทุกๆวัน
4️⃣5️⃣6️⃣ จ่ายงวด 380,000 , 360,000 , 360,000
ทำไม ผรม.ถึงติดต่อไม่ได้เมื่อได้รับเงินงวดที่ 3 ต้องมองถึงมูลค่างานจริงๆก่อน สมมติราคา / ตรม. ที่แท้จริงอยู่ที่ 12,000 บาท (แบบกัดก้อนเกลือกิน)
- พื้นที่ 177 ตรม. จะได้ราคาอยู่ที่ 2,124,000 บาท
- แอดพูดบ่อยๆเสมอว่า งานโครงสร้างประมาณ 30% ของมูลค่างาน (หลังนี้โครงหลังคาน้อย) แปลว่าราคาโครงสร้างของหลังนี้อยู่ที่ 637,200
มาถึงตรงนี้เห็นอะไรหรือยังว่า ราคาที่จ่ายไป 2 งวดแรกคืองานโครงสร้างล้วนๆ แต่หน้างานทำเกิน มีหลังคา ก่อผนังแล้ว ดังนั้นความน่าจะเป็นมี 2 ทางคือ
1.ดูทรงแล้วขาดทุน ขนาดคิดราคา 12,000 ต่อ ตรม. ยังหายไป 300,000
2.ไม่พูดดีกว่า กลัวโดนฟ้อง ลูกยังเล็ก
ดังนั้นงวดที่ 3 ราคา 360,000 หากฟ้องร้องกันจริงๆ ผรม.กางหลักฐานมาว่า ก็จ่ายไปพอๆกับหน้างานจริง ... เสียเวลาอ่ะ สัญญาจ้างทำของก็ดูกันที่ว่า จ่ายกันไปกี่บาทอ่ะนะ
7️⃣8️⃣. ไม่มีคนคุมงานทั้ง 2 ฝั่ง
หวานหมูเลย หมูในอวย ลูกไก่ในกำมือ การสร้างบ้านประกอบด้วยหลากหลายวิชาชีพดังนี้
1.สถาปนิก เรียน 5 ปี
2.วิศวกร เรียน 4 ปี
3.คอนซัลท์ รวมความรู้ของสถาปนิก+วิศวกร
4.โฟร์แมน หัวหน้าช่าง
5.ผู้รับเหมาก่อสร้าง
6.ซับรับเหมาแต่ละด้าน วิชาชีพเฉพาะด้าน
คุณพรี่เป็นใคร จะตัดตอน 1-4 ออก แล้วชนกับ 5,6 โดยตรง ต่อให้ฝั่ง ผรม.มีวิศวกรคุมงานมาเอง คุณพรี่ก็ต้องเอาของฝั่งตัวเองมา ไม่ใช่บ้านมีปัญหาแล้วถาม Tik Tok ปัญหามันเกิดตั้งแต่ซื้อแบบสำเร็จมาแล้ว เหมือนคนลอยคอกลางมหาสมุทร วนเวียนไปด้วยฉลาม รอวันจมเท่านั้นเอง
9️⃣,1️⃣0️⃣,1️⃣1️⃣,1️⃣2️⃣ ปัญหาผนังบ้านกับเสาเอ็น คานเอ็น
อันดับแรกที่คนมักไม่สนใจอ่าน สถาปนิกขาดความรอบคอบในการระบุมาตรฐานงานก่อสร้างลงในแบบ ซึ่งมาตรฐานงานก่อสร้างนี่คือ พระเอกสุดๆ ตัวละครลับ ต้องมีระบุในเล่มก่อสร้าง เวลามีปัญหาขึ้นมาก็มานั่งอ่าน มาดูว่าใครทำผิด เพื่อ? เขาให้อ่านตอนสร้าง ไม่ใช่ตอนจะฟ้องร้องกัน ปัญญาอ่อน.... รูปแบบการยึดหนวดกุ้งที่ต้องยึดหลายจุดมากๆ ระยะการยึด ระยะการฝัง การยึดด้วย Epoxy ต้องมีระบุในแบบ คอนกรีตที่เอามาทำเสาเอ็น คานทับหลังต้องมีความแข็งแรง ผสมหิน ไม่ใช่มีแต่ทราย เอาจริงๆ ทุกงานมันมีดีเทลของมัน มันต้องมีระบุในมาตรฐานงานก่อสร้าง
อีกเรื่อง เสาเอ็น คานทับหลัง ถือเป็นงานโครงสร้างยิ่งผนังเยอะ ใหญ่ ยิ่งต้องมีราคาแยกใน BOQ ให้ชัดเจนว่า นี่คือราคาเสาเอ็น คานทับหลัง และในแบบก็ต้องชัดเจน คนเขียนแบบต้องรู้วิธีการเขียนแบบ
1️⃣3️⃣ กำแพงถล่ม
อันนี้ขำๆ ตอนไปตรวจงานบ้าน 2 ชั้น คนงานกำลังก่อกำแพง จู่ๆ กำแพงถล่มลงไปชั้นล่าง นั่นเพราะ ในขณะก่อปูนก่อยังไม่แห้ง ผนังยังไม้แข็งแรง อีกทั้งยังไม่ถึงตำแหน่งที่ต้องมีเสาเอ็น พอเจอแรงลมเข้าไป ปูนก่อยังยึดไม่ได้ก็ถล่มลงมา เรื่องก่อปูนก็สำคัญอย่าก่อทั้งผนังในวันเดียว ปูนก่อจะยุบนะจ๊ะ
1️⃣4️⃣ หลังคารั่ว น้ำซึม
ตอบไม่ได้ว่ามาจากสาเหตุใด แต่ให้ข้อมูลได้ว่า
1.Slope ต้องได้ ถ้าไม่ได้น้ำจะย้อน
2.มุงสวนทิศทางลม ฝนไม่น่ากลัวเท่าลม+ฝน
3.ไม่ตัดมุมก่อนมุง ทำให้กระเบื้องซ้อนทับกัน 4 ชั้น
1️⃣5️⃣. เปลี่ยนแบบเข็ม I18 เป็น I22
เปลี่ยนให้ดีกว่าทำได้ แต่ คนที่จะทำได้คือ วิศวกรผู้ออกแบบในบ้านหลังนั้นเท่านั้นนะจ๊ะ
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
-----------------------------------------------

EP133. รูปแบบหน้าต่าง Vs % ในการรับลมเข้าบ

 

รูปแบบหน้าต่าง Vs % ในการรับลมเข้าบ้าน


- บานเลื่อนส่วนใหญ่ กินพื้นที่ส่วนที่เปิดไม่ได้ไปเกือบครึ่ง จึงทำให้รับลมได้ไม่ถึง 50%
- บานเกล็ด หากเปิดเต็มที่ก็รับลมได้เต็มที่
- บานกระทุ้ง ขึ้นอยู่กับรูปทรงของตัวบาน หากเป็นบานสั้นๆ สามารถเปิดรับลมได้ดี แต่ส่วนใหญ่มักเปิดแค่ 45 องศา ส่วนรูปแบบทรงยาวมากๆ ยิ่งเปิดตัวบานได้น้อยจะเปิด 45 องศาก็ลำบาก ดังนั้นลมจึงขึ้นกับการเปิดแบะขนาดบาน
- บานเปิดเดี่ยว รับลมได้ดี เปิดได้เต็มที่ 90 องศา ลมจึงเข้าเต็มๆ
- บานยก คล้ายบานเลื่อน ต่างกันแค่เปิดแนวตั้งแบะเปิดได้แค่ครึ่งหนึ่งของช่องเปิด
** ที่มาตัวเลขอ้างอิงนำมาจาก website ต่างประเทศ ดูได้ที่ comment
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
-----------------------------------------------

EP132. กระจกที่ใช้กันมีแบบไหนบ้าง?

 กระจกที่ใช้กันมีแบบไหนบ้าง?



1️⃣ กระจกแผ่น (Sheet glass) กระจกธรรมดา ความแข็งแรงต่ำ ผิวไม่เรียบ เป็นคลื่น มีความใสมาก
▪️การลดความร้อน : กระจกขนาด 12mm ลดได้ 8% หรือการติดฟิล์มประเภทต่างๆ เช่น ฟิล์มลดความร้อน ฟิล์มนิรภัยเสริมเข้าไปในของเดิม
▪️การนำไปใช้ : ใช้ในส่วนที่ไม่ได้เน้นความสวยงามหรือต้องการโชว์สินค้า กระจกหน้าต่างธรรมดา
2️⃣ กระจกโฟลต (Float glass) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 กระจกโฟลตใส (Clear float glass) เป็นกระจกรูปแบบพื้นฐานในการนำไปทำกระจกชนิดอื่นๆ
▪️การลดความร้อน - ความร้อนจะผ่านตัวกระจกได้มาก ทำให้กระจกอมความร้อนน้อย กันความร้อนได้ไม่ดี
▪️การนำไปใช้ - มักนำกระจกประเภทนี้ไปดัดแปลงทำกระจกในแบบอื่นๆดังนี้
- กระจกเทมเปอร์ และกระจกกึ่งนิรภัย
- กระจกลามิเนต
- กระจกเคลือบผิวประเภทต่างๆ
2.2 กระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted float glass) ซึ่งการเกิดสีนั้นเกิดจากการผสมออกไซด์ของโลหะชนิดต่างๆ จนทำให้เกิดเป็นสีขึ้น เช่น สีเขียว สีเทา สีฟ้า ยิ่งสีเข้มมากก็ยิ่งลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มาก
▪️การลดความร้อน - กระจกประเภทนี้กันความร้อนเข้าบ้านด้วยการสะสมความร้อนไว้ที่ตัวกระจก โดยมีออกไซด์ที่ใส่ลงไปเป็นตัวแปร ความร้อนที่ผ่านเข้าตัวบ้านจะมีน้อย แต่ถ้าจับที่กระจกจะรู้ได้ถึงความร้อนที่สะสมในแผ่นกระจก ด้วยความที่มันสะสมในกระจกมันจึงเสี่ยงกับการแตก โดยเฉพาะถ้านำไปติดตั้งในที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกและภายในจะเสี่ยงกับการระเบิด
▪️การนำไปใช้ - มักนิยมนำไปทำประตู หน้าต่าง ในบ้านพักอาศัย บ้านจัดสรร อย่างที่โฆษณากันว่า "กระจกเขียวตัดแสง (Tinted float glass) " ก็คือตัวนี้นั่นเอง อย่าสับสนกับกระจกสีธรรมดา อันนั้นกันความร้อนแทบไม่ได้
3️⃣ กระจกอบความร้อน (Heat treated Glass) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered safety glass) คือ การนำเอากระจกธรรมดาหรือกระจกที่มีปริมาณของโลหะที่ผสมเข้าไปในสัดส่วนที่น้อย มาทำให้อ่อนตัวลงอีกครั้งและทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้กลายเป็นกระจกที่มีความแข็งแรงกว่าเดิม 5-10 เท่า เวลากระจกแตกจะเป็นเมล็ดข้าวโพด 🌽ไม่ร่วงหล่น
▪️การนำไปใช้ - ใช้ในส่วนที่ต้องการความปลอดภัยสูงโดยเฉพาะ คือ กระจกกั้นห้องน้ำ ราวระเบียงกระจก ประตูหน้าต่างที่บานมีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยอาจนำไปประกบติดกันในรูปแบบกระจกลามิเนตเทมเปอร์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและช่วยลดความร้อนที่ผ่านกระจกไปในตัว
(หากใช้ในส่วนโดนน้ำ เมื่อทำเป็นกระจกเทมเปอร์ลามิเนตควรหลีกเลี่ยงฟิล์ม PVB)
3.2 กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) คือ การนำเอากระจก 2.1 กระจกโฟลตใส (Clear float glass) มาทำให้อ่อนตัวลงอีกครั้งและทำให้เย็นตัวแบบช้าๆ วิธีการนี้เพิ่มความแข็งแรงให้กระจกเดิม 2-3 เท่า เวลาแตกจะเป็นรูปปากฉลาม 🦈 แต่ไม่ร่วงหล่น
4️⃣ กระจกเคลือบผิว หรือกระจกสะท้อนแสง (Surface coated glass) กระจกประเภทนี้คือการนำกระจกธรรมดาหรือกระจกโฟลตใส นำมาทำการเคลือบที่ผิวกระจกหรือนำไปทำให้เป็นเนื้อเดียวกับผิวกระจก มีหลากหลายรูปแบบ เช่น
4.1 กระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass) กันความร้อนด้วยการเคลือบผิวหน้าด้านหนึ่งให้สะท้อนแสงได้สูง จึงทำให้ข้างนอกทึบแสง มองจากข้างนอกไม่เห็นแต่คนข้างในมองเห็น สบายตา มักนิยมใช้ในตึกสูงๆ ตึกใหญ่ๆ
▪️ การลดความร้อน - ช่วยลดแสงเข้าอาคารได้ 30% แต่ปัญหาคือ มีโอกาสแตกร้าวจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันของผิวกระจกภายนอกและภายใน
▪️การนำไปใช้ - ใช้สำหรับอาคารที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ต้องการแสงในปริมาณที่ควบคุมได้
4.2 กระจกแผ่รังสีต่ำ(Low-E Glass) กระบวนการเหมือนกระจกสะท้อนรังสีแต่เติมโลหะเงินบริสุทธิ์ลงไปเคลือบผิวหน้าเพื่อแก้ปัญหาอุณหภูมิแตกต่างกันของกระจก จึงทำให้ประสิทธิภาพในการกันแสงลดลง
5️⃣ กระจกดัดแปลง (Processed Glass) คือ การนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกอบกัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
5.1 กระจกฉนวน (Insulation Glass) คือ กระจกประกอบกัน 2 แผ่นแบบเว้นช่องตรงกลาง โดยช่องตรงกลางจะใส่สารดูดความชื้น ฉนวน หรือก๊าซเฉื่อย ซึ่งกระจกแบบนี้สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีมาก
▪️การลดความร้อน - สามารถเลือกกระจกที่จะนำมาประกอบกัน 2 แผ่นได้ว่าจะเอาชนิดไหน วัตถุประสงค์อะไร เช่น กันความร้อนเข้าบ้านแต่ไม่กั้นแสงสว่าง
▪️การนำไปใช้ - สำหรับงานบ้านๆก็คงไม่ค่อยได้ใช้กันนัก เนื่องจากมีราคาสูงเหมาะสำหรับงานเจาะจงบางประเภท เช่น ตู้กระจกที่กันอุณหภูมิแต่ยังคงต้องการการมองเห็นสินค้า เช่น ตู้เลือกน้ำ 7-11
5.2 กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass) คือ กระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกันโดยยึดด้วยแผ่นฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Brutyal) , SGP (Sentry Glass) , EVA (ethylene-vinyl acetate copolymer) หรือ พวกเรซิน เมื่อเวลากระจกแตกจะไม่หลุดออกมาเนื่องจากมีตัวกลางในการประสานกระจก
▪️การลดความร้อน - แผ่นฟิล์มที่นำมาประสานกระจกคือตัวที่ทำให้กระตกลามิเนตได้เปรียบกระจกประเภทอื่นๆ
▪️ การนำไปใช้ - ข้อได้เปรียบของกระจกชนิดนี้คือ
- สามารถเลือกชนิดกระจกที่จะมาประกบกันได้ตามการใช้งานและความต้องการ
- สามารถเลือกชนิดตัวกลางในการประสานกระจกได้ ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ เช่น ลดความร้อน ลดเสียง
🔻ฟิล์มสำหรับลามิเนต
- ฟิล์ม PVB มีหลายสีสัน เหมาะกับงานห้างโชว์สินค้าใช้กระจกแผ่นใหญ่ เพราะฟิล์มตัวนี้ไม่เหมาะกับส่วนที่โดนน้ำ น้ำจะซึมเข้าฟิล์มตามขอบ ดังนั้นถ้าจะใช้กระจกลามิเนตฟิล์ม PVB กับ ห้องน้ำ ราวกันตกนอกบ้าน หรือส่วนที่โดนน้ำนั้นไม่ควรอย่างยิ่งหากจะใช้ควรซีลขอบให้ดี และไม่เหมาะกับบานประตูที่ต้องเปิดเข้า-ออกตลอด จะทำให้ตัวกระจกแยกออกจากฟิล์ม
- ฟิล์ม SGP มีสีเดียวคือ สีใส ไม่กลัวน้ำ ทนความชื้น ดังนั้นฟิล์มตัวนี้จึงเหมาะกับกระจกลามิเนตที่ใช้ในส่วนที่โดนน้ำ และความแข็งแกร่งนั้นมากกว่า PVB ถึง 100 เท่า จึงสามารถใช้ความหนากระจกได้น้อยกว่าฟิล์ม PVB ราคาจึงแพงและใช้เฉพาะโครงการใหญ่ๆ
สรุป : การเลือกกระจกมาใช้งานในบ้านสมัยปัจจุบัน
1.กระจกสีตัดแสง (Tinted float glass)
2.กระจกธรรมดา ใช้การติดฟิล์มเพิ่ม
3.กระจกเทมเปอร์ เหมาะสำหรับห้องน้ำ ราวระเบียง ประตู หน้าต่างบานใหญ่
4.กระจกลามิเนต การเลือกใช้แต่ละที่ในบ้านขึ้นอยู่กับฟิล์มด้วย
ส่วนแบบอื่นๆ น่าจะเกินความต้องการและราคาเกินความต้องการของงานบ้านๆเล็กๆทั่วไป
**หากบทความนี้มีส่วนไหนที่ผิดพลาดไป สามารถให้ข้อมูลและแก้ไขเพิ่มเติมได้ค่ะ
อ้างอิงเนื้อหา : จุลสาร ACS https://www.eptg-acsc.co.th/mix.../images/Column/column5.pdf
ข้อมูลประกอบอื่นๆ https://krajok.com/lamidelam/