🥵หลังคา Metal Sheet ร้อนจังทำไงดี?
เชื่อว่าหลายๆบ้านต้องเจอปัญหาทำไมหลังคา Metal Sheet ร้อนจัง ? แล้วไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง ก่อนอื่นบอกก่อนว่าเรื่องนี้เกิดจากความสงสัยเพราะที่บ้านก็มีส่วนที่ใช้หลังคา Metal Sheet อยู่ได้แก่
1.โรงจอดรถต่อเติม โล่งๆมีฉนวน PE
2.หลังคาต่อเติมหน้าบ้านไม่มีฉนวน PE โล่งๆ
3.ต่อเติมห้องทำงานจากหลังคากันสาด Rainbow เก่าๆ ตีหลังคา Metal Sheet ไม่มีฉนวนทับ
ซึ่ง 1,2 ไม่ร้อนก็ไม่แปลกใจ เพราะ Keyword ของมันคือ โล่ง+ลม แต่ข้อ 3 คือ ในห้องฝ้าเพดาน 2 เมตรนิดๆ แต่ดันไม่ร้อนเย็นสะงั้น เย็นกว่าในบ้านอี๊กกก ก็เลยค้นหาข้อมูลและเจองานวิจัย เลยเอาสรุปงานวิจัยมาให้อ่านกันดีกว่าค่ะ (รู้แหละทำไมห้องเย็น แต่ไม่อยากยัดเยียดความคิด)
🤖 งานวิจัยนี้เป็นวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 9 ฉบับ 2553
http://202.28.117.248/journal/wp-content/uploads/2012/06/02-53.pdf
การศึกษาทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความเร็วลมผ่านช่องว่างของหลังคาเหล็กเคลือบโลหะ เป็นผลการทดลองในช่วงเวลา ปลายเดือน กุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ใช้หลังคาเมทัลชีท กว้าง 0.73 x ยาว 2.00 x หนา 0.47 มม. รูปลอนสูง 38 มม. ติดตั้งเอียง 10 องศา
แบบที่ 1 - ใช้การวางปกติ
แบบที่ 2 - ติดฉนวน PE cool หนา 5 มม.ที่ลอน
แบบที่ 3 - ติดฟอยล์กันความร้อน
แบบที่ 4 - นำ Metal sheet มาประกบบนล่าง
แบบที่ 5 - นำ Metal sheet ประกบบนล่างพร้อมแทรกฉนวนโฟมระหว่างลอนความสูง 5 เซนติเมตร
☃️สรุปผลการทดลองแบบคร่าวๆ
ช่วงกลางวัน
- แบบที่ 1,2 อุณหภูมิในกล่อง 52,50 ต่างกันแค่ 2 องศา ดังนั้นการติดฉนวน PE แทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย อีกทั้งไม่เกิน 5 ปีก็หลุด ร่อน ลงมาแน่นอน
- แบบที่ 5 แบบที่ไม่มีใครทำกัน แต่อุณหภูมิในกล่องอยู่ที่ 38.5 ซึ่งดีที่สุดในการทดลอง เป็นผลมาจากอากาศระหว่างชั้นเมทัลชีททำตัวเป็นฉนวนไปในตัวด้วย
ช่วงกลางคืน
- อุณหภูมิภายในกล่องทั้ง 5 แบบ มีความแตกต่างกันน้อยมาก 1-2 องศา เนื่องจากเมทัลชีทนั้นมีการระบายความร้อนที่ตัวเนื้อวัสดุได้ดี มีความบาง
- แบบที่ 5 จะอุณหภูมิสูงกว่าแบบอื่น 1-2 องศา และแบบที่ 4,3,2,1 ระบายอากาศได้ดีถัดกันมา
- แบบที่ 1 ระบายอุณหภูมิภายในตอนกลางคืนได้ดีที่สุด
📌การประยุกต์นำไปใช้
- แบบที่ 5 ได้ผลดีที่สุดในเรื่องการลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ถึงตอนกลางคืนจะระบายอากาศได้ดีน้อยกว่าแบบอื่นแต่ก็แค่ 1-2 องศา แต่ก็เป็นเพียงการทดลอง หากจะเอารูปแบบมาใช้จริงก็ยังยุ่งยากลำบากอยู่
- แต่ในปัจจุบันที่เห็นมีคนทำกันและสามารถอ้างอิงผลการทดลองนี้ได้ใกล้เคียงก็คงจะเป็นการมุงหลังคาซ้อนทับกัน 2 ชั้น (เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการแก้ปัญหากับหลังคาเดิมที่มีอยู่) เพราะการซ้อนทับจะเกิดช่องว่างอากาศระหว่างชั้นหลังคาซึ่งเหมาะสำหรับบ้านที่มีข้อจำกัดในเรื่อง slope หลังคาต่ำ ต้องใช้เมทัลชีทแต่ความสูงระหว่างพื้นถึงใต้หลังคาดันมีน้อย หากไม่ใข้ตัวช่วยใดใดเลย อุณหภูมิใต้หลังคาตะร้อน 40-50 องศา
- ลมเป็นอีก 1 ตัวแปรที่ช่วยพัดพาอากาศระหว่างชั้นที่กักเก็บความร้อนออกไป (จะทำอะไรดูทิศลมด้วยนะจ๊ะ)
- การติดฟอยล์ความร้อนในแบบที่ 3 ก็ช่วยลดความร้อนได้ดีและตอบโจทย์ในระดับกลางที่สุดเพราะมีช่องว่างของอากาศเป็นฉนวนร่วมด้วย เหมาะสำหรับคนที่มุงใหม่แต่ประหยัดงบก็เพิ่มฟอยล์แล้วลือกความหนาสักหน่อย ดีกว่าซื้อแบบติด PE มาในตัว
- หากนำฟอยล์มาติดร่วมด้วยในแบบที่ 5 น่าจะได้ผลในการลดความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคาได้ดียิ่งขึ้น
- หากมุงใหม่ มีงบประมาณก็ใช้แบบ Sandwich Panel เลยค่ะ
ปล.RTTV คือค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ผ่านหลังคาเข้ามาต่อ 1 ตารางเมตร
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น