วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP58. 💟 สร้างบ้านธรรมดาต้องผูกเหล็กปลอกแบบไหน?

 💟 สร้างบ้านธรรมดาต้องผูกเหล็กปลอกแบบไหน?



หลายวันก่อนเคยเห็นโพสเกี่ยวกับการผูกเหล็กสร้างบ้าน วันนี้เราเลยรวบรวมข้อมูลพร้อมแหล่งอ้างอิงมาให้เพื่อให้คนที่จะสร้างบ้านได้เข้าใจและตัดสินใจได้ถูกต้อง


📌บ้านธรรมดา 1-2 ชั้นทั่วไปต้องผูกของอ 90 หรือ 135 ?


- โดยปกติอาคารทั่วไปซึ่งก็คือ บ้านธรรมดาทั่วไปด้วยนี่แหละ ไม่เข้าข่ายให้ต้องผูกเหล็กของอ 135 สามารถผูกธรรมดาหักตรงๆ ของอ 90 ได้


อ้างอิง : กฎกระทรวงกำหนดเรื่องการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่ 2564


- เว้นแต่ในพื้นที่เสี่ยงบริเวณ 3 ต้องออกแบบสำหรับบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ให้ต้านแผ่นดินไหวได้

- หากต้องการให้บ้านรับแรงแผ่นดินไหวได้ ควรปรึกษาวิศวกรให้ออกแบบเรื่องแผ่นดินไหว ไม่งั้นตอนสร้างบ้าน ผูกเหล็กแล้ววิศวกรไม่ได้ออกแบบไว้ เดี๋ยวจะมีปัญหากับผู้รับเหมาตอนผูกเหล็ก ทำไมไม่ดัด 135


สรุป : ผูกตามแบบที่วิศวกรกำหนด ส่วนพื้นที่เสี่ยงที่กฎหมายอาคารกำหนด ก็ตามนั้น


ข้อสำคัญ : ควรดูในแบบโครงสร้างว่า "แบบขยายเสาและหน้าตัดคาน" ที่ปรากฎในแบบเป็นการผูกเหล็กแบบไหน เพราะมักจะปรากฎความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่าง หน้างานจริง กับ แบบขยายที่ส่วนมากมักเขียน ของอ 135 โดยมักจะพลาดในจุดนี้กันเยอะและเป็นปัญหาถกเถียงกันถึงความถูกต้องว่าแบบไหนถูก? ซึ่งควรรีเชคกับวิศวกรเพื่อความถูกต้อง

-----------------------------------------------

📌ของอ 135 ต่างจากของอ 90 อย่างไร?


- ของอ 135 ช่วยในเรื่องการต้านแผ่นดินไหว

-----------------------------------------------


📌ประเทศไทยมีแผ่นดินไหวด้วยหรอ?


- อ้างอิงจากกรมธรณีวิทยา ประเทศไทยยังมีรอยเลื่อนที่มีพลัง พบได้ในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ตามรูปประกอบล่าสุด 2563

-----------------------------------------------



📌อาคารแบบไหนที่เข้าเกณฑ์


🔻พื้นที่บริเวณที่ 1 และ 2

- อาคารสาธารณะต่างๆ 

- อาคารพักอาศัยสูงเกิน 15 เมตร อาคารสูงเกิน 5 ชั้น

🔻พื้นที่บริเวณที่ 3

- อาคารสาธารณะต่างๆ

- อาคารพักอาศัยสูงเกิน 10 เมตร หรือสูงเกิน 3 ชั้น

- บ้านจัดสรร/อาคารพาณิชย์ว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

-----------------------------------------------


📌พื้นที่ไหนที่เข้าเกณฑ์ต้องออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหว


▪️บริเวณที่ 1 พื้นที่เฝ้าระวัง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าอาคารอาจได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพเมื่อเกิดแผ่นดินไหว 


- ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี และหนองคาย


▪️บริเวณที่ 2  บริเวณที่มีความเป็นไปได้ว่าอาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพในระดับปานกลาง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว 


- ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พังงา ภูเก็ต ระนอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี 


▪️บริเวณที่ 3 บริเวณหรือพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ว่าอาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้าความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพในระดับสูงเมื่อเกิดแผ่นดินไหว 


- ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ จัแม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม กฎกระทรวงกำหนดเรื่องการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่ 2564

: https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/mr/mr64-68b.pdf


: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/275/T_0016.PDF


อ้างอิงรูปภาพแผนที่ : กรมธรณีวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น