⛰ รู้จักโครงสร้างหลังคากันเถอะ❗️
มั่นใจว่าเจ้าของบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้จักชื่อเรียกของโครงหลังคาและก็ไม่ได้สนใจเรื่องของหลังคามากไปกว่า Plan บ้านอย่างแน่นอน แต่ครั้นเวลาเห็นช่างทำหลังคาก็อยากจะคุยกับช่างว่า ไอ้นั้นเรียกว่าอะไร มีไว้ทำไม ก็อาจจะเคอะเขิน เรียกไม่ถูก เลยไม่กล้าคุย วันนี้เราจะมาเผยเรื่องหลังคากันแบบลงลึก นิดส์นึง
💙โครงสร้างหลังคามีอะไรบ้าง
1.วัสดุมุงหลังคา - เช่น เมทัลชีท กระเบื้องซีเมนต์
2.แป / ระแนง- แป/ระแนง คือโครงสร้างที่รับน้ำหนักกระเบื้องหลังคา โดยจะอยู่ติดกับกระเบื้องเลย และระยะของแปจะขึ้นอยู่กับวัสดุหลังคาที่เลือกใช้ เช่น เมทัลชีทจะใช้แป @1.00 เมตร , กระเบื้องซีแพคใช้แป @0.32 เมตร เรียกได้ว่า "วัสดุหลังคาเปลี่ยน ระยะแปเปลี่ยนตาม"
@ คืออะไร อ่าน : https://www.facebook.com/100889769198315/posts/145502474737044/?d=n
3.จันทัน - จันทันนั้นคือตัวรับน้ำหนักจาก " วัสดุมุงหลังคา + แป " จันทันนั้นมีชื่อเรียก 2 อย่างคือ "จันทันเอกและจันทันพราง" ต่างกันแค่จันทันเอกพาดลงบนอะเสหัวเสาส่วนจันทันพรางพาดลงบนอะเสระหว่างหัวเสา แต่รวมๆก็คือจันทัน แน่นอนว่าเมื่อเริ่มมีการถ่ายน้ำหนักลง โครงสร้างจะต้องเริ่มมีขนาดและความแข็งแรงมากขึ้น ดังนั้นตัวมันจะใหญ่กว่าแปแน่นอน และทิศทางการวางคือ ขวางแป
4.ตะเฆ่สัน , ตะเฆ่ราง - หากมองในแปลนคือตัวที่เฉียงทำมุม 45 องศา ตัวที่ยกขึ้นเป็นสันเรียก "ตะเฆ่สัน"
(มีเฉพาะ ปั้นหยา ,มะนิลา) ส่วนตัวที่อยู่ตรงรอยต่อของแยกหลังคาตรงที่กระเบื้องมักมาชนกันเป็นทางรับน้ำเรียก "ตะเฆ่ราง"
ประเภทของหลังคา : https://www.facebook.com/100889769198315/posts/143391031614855/?d=n
5.อกไก่ - หากเป็นหลังคาจั่ว ปั้นหยา มะนิลา หรือหลังคาที่มีการบรรจบกันของ Slope นั้น "อกไก่คือตัวรับน้ำหนักด้านบนสุด สังเกตุจากเป็นท่อนยาวๆอยู่บนสุดแล้วก็มีจันทันพาดหลายๆชิ้น ซึ่งปลายจันทันด้านบนจะถ่ายน้ำหนักลงมาอีกที ส่วนปลายจันทันด้านล่างพาดลงอะเส
6.อะเส - คือ โครงสร้างเหล็กที่วิ่งรอบหัวเสาด้านนอกและถูกยึดด้วยเพลทเหล็กหัวเสา หากเป็นหลังคาที่มี Slope ฝั่งเดียว ก็จะไม่มีอกไก่ แต่ตัวรับน้ำหนักปลายจันทัน 2 ข้างจะมีชื่อว่า "อะเส" แทน
7.ดั้ง - ดั้งคือตัวรับอกไก่ด้านบนและตัวรับดั้งก็คือ "ขื่อ" หากเป็นหลังคา slope ทางเดียวแบบเมทัลชีท ดั้งก็คือตัวรับอะเสตัวที่อยู่สูงกว่า
8.ขื่อ - คือตัวที่ซอยออกจากอะเสเพื่อใช้รับดั้งในแนวตั้ง
📌สรุป :
การถ่ายน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา > แป > จันทัน > อกไก่หรืออะเส > เพลทหัวเสาและเสา
การถ่ายน้ำหนักอกไก่ > ดั้ง > ขื่อ > อะเส > เพลทหัวเสาและเสา
🎉ความจริงยังมีอีกหลายตัว แต่ถ้า Basic ก็ตามนี้เลย
-----------------------------------------------
💟 ข้อควรระวังเรื่องหลังคา
- ควรใช้ Slope ตามคู่มือที่แนะนำเพื่อป้องกันการย้อนของน้ำฝน
- ยิ่งหลังคามีช่วงกว้างมากเท่าไหร่ การใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีแผ่นเล็ก ก็ยิ่งส่งผลให้ตัวโครงหลังคามีขนาดสูงใหญ่ เพราะต้องใช้ Slope เยอะ และการใช้โครงสร้างเหล็กเยอะก็แพง แถมต้องรับน้ำหนักตัวมันเองด้วย กระเบื้องด้วย
- เมื่อหลังคามีขนาดใหญ่ การสะสมความร้อนในหลังคามีสูงขึ้นตามขนาดความใหญ่
- การมุงกระเบื้องบางชนิดต้องดูทิศทางลมฝนเพื่อป้องกันน้ำย้อนเข้าด้านข้าง
- สำหรับหลังคาปั้นหยา ที่มีอกไก่ด้านบน มักมีปัญหาคือ ช่างตัดอกไก่สั้นไป แก้ปัญหาโดยใส่ระยะความยาวอกไก่และระบุให้เชคหน้างานอีกที
- การเชื่อมโครงหลังคา ช่างมักไม่ทากันสนิมซ้ำ
- สำหรับโครงหลังคาที่มีการรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคามากๆ เช่น หลังคาคอนกรีต ควรได้รับการออกแบบการวิศวกร
- ในส่วนของตะเข้สัน,ตะเฆ่สัน,สันหลังคา ควรติดตั้ง "ดรายเทค" สำหรับการป้องกันการรั่วซึม ซึ่งจำเป็น
- ส่วนตรงกระเบื้องมุงหลังคาที่มาชนกันตรงตะเฆ้รางควรตัดกระเบื้องที่ชนกันให้ห่าง 3 เซนติเมตร และติดตั้งรางน้ำตะเฆ้
- หากเป็นโครงหลังคาสำเร็จรูป แนะนำให้ส่งให้เขาคำนวณตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อจะได้ตรวจสอบข้อจำกัด ปัญหาและเตรียมราคาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
- ส่วนเรื่องการมุง สำหรับหลังคาแผ่นเล็ก รอยต่อเยอะ ผสมรูปแบบหลังคาหลายแบบแนะนำจ้างช่างมุงโดยตรงดีกว่าเพราะมันซับซ้อนกว่าเมทัลชีทเยอะ ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องถามช่างแหละเอาใครมามุงเพราะเท่าที่ทราบมาราคาช่างมุงเก่งๆแพงอยู่
- ใครอยากอ่านเรื่องมุงหลังคาคอนกรีตเพิ่มเติม : https://www.scgbuildingmaterials.com/Media/Default/2020/roof/Cpac/PDF/2_Manual_CPAC.pdf ละเอียดมาก
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น