วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP72.🏠🏘สร้างบ้าน 1 หลัง มีโครงสร้างพื้นอะไรบ้าง?

 🏠🏘สร้างบ้าน 1 หลัง มีโครงสร้างพื้นอะไรบ้าง?



ในการสร้างบ้านธรรมดา 1 หลังนั้น มีโครงสร้างพื้นทั้งหมด 3 แบบที่ใช้ในการออกแบบบ้านในปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 3 แบบล้วนมีการใช้งานในแต่ละ Function ของบ้านที่แตกต่างกัน โดยจะขอแยกตามประเภทโครงสร้างพื้นดังนี้


💟 พื้นหล่อในที่ 


- สัญลักษณ์ในแบบ S (Slab) เช่น S1 , S2

- วิธีการทำพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบดั้งเดิม โดยสมัยก่อนจะใช้โครงสร้างพื้นประเภทนี้เกือบทั้งหลังในงานสร้างบ้าน (ยกเว้นที่จอดรถ) 

- ปัจจุบันใช้เฉพาะส่วนที่มีการขังน้ำเกิดขึ้น ได้แก่ ห้องน้ำ ระเบียง ดาดฟ้า ครัวไทย(แล้วแต่ออกแบบ) รวมไปถึงส่วนหน้าบันไดทางขึ้นชั้น 2

- มีความยุ่งยากในการตั้งไม้แบบ เข้าพื้น ผูกเหล็กพื้น การเทคอนกรีต ซึ่งเสียเวลาในการก่อสร้างเยอะกว่า เสียค่าไม้แบบเพิ่มขึ้น

- ระดับหลังคานกับระดับหลังพื้นหล่อเท่ากันโดยจะเว้นคานไว้หน่อยนึง ไว้เทหล่อพร้อมกับพื้น ยกเว้นในส่วนห้องน้ำหรือส่วนลดระดับที่จะต้องลดระดับพื้นลงไป

- ตัวพื้นจะมีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร + ความหนาปูนปรับระดับและกระเบื้อง 5 เซนติเมตร รวมความหนา 15 เซนติเมตร

- เนื่องจากตัวพื้นเป็นคอนกรีตหล่อ จึงสามารถผสมสารบางชนิดลงในเนื้อคอนกรีต ช่วยลดโพรงอากาศ ป้องกันการรั่วซึมในส่วนหนึ่ง (คนละชนิดกับแบบทา)


💟 แผ่นพื้นสำเร็จรูป 


- สัญลักษณ์ในแบบ PS (Plank Slab ),SP ในวงกลม แสดงทิศทางลูกศรการวางแนวแผ่นพื้น

- เป็นวิธีการทำพื้นรูปแบบใหม่ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นวิธีปกติไปแล้ว

- ใช้ในส่วนที่ไม่โดนน้ำ ได้แก่ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร เป็นต้น 

- มีความรวดเร็วขึ้น และประหยัดค่าไม้แบบได้เยอะ เนื่องจากแผ่นพื้นมีความแข็งแรงเมื่อนำมาพาดบนคานก็เหมือนเป็นไม้แบบไปในตัว

- พื้นสำเร็จที่ใช้กันปัจจุบันสำหรับบ้านพักอาศัยปกติ มีความหนา 5 เซนติเมตร ส่วนความยาวอยู่ที่ 4.50-5.00 เมตร 

- หากช่วงเสามีความยาวเกิน 3 เมตรขึ้นไป ควรติดตั้งค้ำยันใต้ท้องพื้นให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตแนะนำ และควรเช็คความแข็งแรงของทั้งค้ำยัน และพื้นส่วนที่ตั้งค้ำยันว่าจะไม่ทำให้ค้ำยันเกิดการแอ่น ทรุด เสียหาย ไม่งั้นจะเกิดปัญหากับ

- โดยปกติจะหล่อคานให้เสร็จก่อนแล้วค่อยวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป 5 เซนติเมตร + Topping 5 เซนติเมตร + ปูนปรับระดับแบะกระเบื้อง 5 เซนติเมตร ซึ่งวิธีนี้จะแตกต่างกับแบบหล่อในที่ทั้งในวิธีการก่อสร้างและระดับของคาน

- เมื่อเป็นแผ่นพื้นสำเร็จ ทำให้ปูนโครงสร้างพื้น (Topping) มีความหนาเพียง 5 เซนติเมตร จึงไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในพื้นที่ส่วนที่มีน้ำขังหรือต้องโดนน้ำ เพราะจะเกิดการรั่วซึมได้ง่าย ด้วยส่วนนี้จึงไม่เหมาะกับการนำไปทำดาดฟ้าด้วยนะคร้าาาา

- วิศวกรกำหนดพื้นวางทางไหนก็วางตามแนวนั้น


ประเภทของแผ่นพื้นที่นิยมใช้ในการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/133263892627569/?d=n


💟 พื้นหล่อในที่วางบนดิน 


- สัญลักษณ์ในแบบ GS (Ground Slab)

- เป็นการหล่อพื้นวางบนดิน นิยมใช้ในส่วนของโรงจอดรถ โดยมักจะเว้นช่องว่างห่างจากตัวคาน (Gap) เพื่อเวลาพื้นทรุดตัวจากน้ำหนักรถ จะได้ไม่ไปดึงโครงสร้างบ้าน

- ปัจจุบันการออกแบบพื้นส่วนโรงจอดรถ มักไม่มีคานด้านหน้าแล้ว


ในครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงปัญหาในการเขียนแบบก่อสร้างในส่วนงานพื้น ที่แบบมักจะขัดกันระหว่างแบบสถาปัตยกรรมและแบบโครงสร้าง ว่าเป็นอย่างไรและต้องอ้างอิงแบบส่วนไหน

-----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น