ปูนแดง = Portland Cement คือ ปูนที่ใช้ในงานโครงสร้าง มีแรงอัดสูงใช้ในการเทโครงสร้าง พื้น เสา ตอม่อ คาน สังเกตุโดยถุงปูนจะใช้สีแดง
ปูนเขียว = Silica Cement ใช้ในงานก่อฉาบ มีกำลังอัดน้อยใช้สำหรับงานฉาบปูน งานก่ออิฐ งานก่อ งานฉาบและปูกระเบื้อง สังเกตุโดยถุงปูนจะใช้สีเขียว
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ปูนก่อทั่วไปและปูนก่อสำเร็จ ถ้าแบบทั่วไปต้องนำไปผสมปูนก่อ 1 ส่วน : น้ำ 3 ส่วน : ทราย 1 ส่วน ส่วนปูนก่อสำเร็จผสมน้ำใช้ได้เลย
ประเด็นคือ อยากให้เจ้าของดูว่า ตอนผสมปูนงานโครงสร้างเขาเอาปูนถุงสีเขียวหรือแดงมาให้ ต้องใช้งานให้ถูกประเภท
ปูนซีเมนต์ขาว = มีลักษณะลื่น เหนียว เหมาะสำหรับงานปูพื้นยาแนว ตกแต่ง ฉาบบาง ซ่อมแซมผนัง เสาคาน และสามารถผสมสีฝุ่นได้เมื่อต้องการสีสัน
ปูนดำ = ปูนปอร์ตแลนด์ประเภท 3 ให้กำลังอัดสูงในระยะแรก ถอดแบบไว ใช้ในงานพวก แผ่นพื้นสำเร็จรูป เสาไฟ เสาเข็มอัดแรง สังเกตุโดยถุงปูนจะใช้สีดำ
ปูนในชื่ออื่นๆ
ปูนเค็ม = ปูนซีเมนต์ที่ผสมกับทรายในอัตราส่วนปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อทราย 2.5 – 3 ส่วน เพื่อให้มีความเหนียวในตัวเอง เหมาะสำหรับการนำไปฉาบผนังในครั้งแรก ช่วยให้ปูนยึดเกาะผนังได้ดี หรือจับเซี้ยม จับปุ่ม ข้อเสียคือ มีการหดตัวสูงจึงไม่เหมาะกับการนำไปปูกระเบื้อง
ปูนจืด = ปูนซีเมนต์ที่ผสมกับทรายในอัตราส่วนปูนซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อทราย 3-4 ส่วน เพื่อให้มีความเหนียวน้อย ง่ายต่อการปรับแต่ง เหมาะสำหรับการนำไปฉาบผนังในครั้งที่ 2 ช่วยให้ผนังเรียบเนียน
ปูนกาว = กาวซีเมนต์ เป็นปูนซีเมนต์สำเร็จรูปประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในปูนมอร์ต้าร์ ใช้สำหรับการปูกระเบื้องโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติพิเศษในการยึดเกาะสูงกว่าปูนสำเร็จทั่วไป แห้งช้าจึงสามารถปรับแต่งระดับกระเบื้องได้
ปูนซีเมนต์ = ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) มีลักษณะเป็นผงสีเทา ทำมาจาก ดินเหนียว หินปูน ส่วนผสมอื่นๆ เช่นยิปซั่ม อลูมิน่า เมื่อนำปูนซีเมนต์มารวมกับ น้ำและมวลรวมจะได้ออกมาเป็นคอนกรีต
ปูนเกราท์ / ปูนนอนชริ้ง = Non Shrink Grout แปลว่าไม่หดตัว เป็นปูนทรายผสมเสร็จมีกำลังรับรับกำลังแรงอัด แรงดัด และการยึดติดสูง ไม่หดตัวเมื่อแข็งตัว เหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก งานซ่อมแซมโครงสร้าง งานเทฐานรากเครื่องจักร
คอนกรีตผสมเสร็จ = คอนกรีตที่ผสมพร้อมใช้งานจาก Plant ปูน มีอายุประมาณ 2 ชม. หลังจากนี้คือไม่สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างได้
-----------------------------------------------
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประกอบไปด้วย 5 ประเภท และปูนผสมอีก 2 ประเภทดังนี้
1.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 : ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป งานก่อสร้างบ้าน ตึก อาคาร งานโครงสร้าง ข้อเสีย ไม่ทนต่อสารที่เป็นด่าง
2.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement) หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 2 : เหมาะกับการใช้งานที่โดนน้ำเค็มไม่มาก มีการทนต่อซัลเฟตปานกลาง หรือใช้กับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำหรือดิน ใช้ในงานก่อสร้างที่มีขนาดปานกลาง อย่าง ตอม่อ หรือ รากฐาน
3.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูงเร็ว ( High Early Strength Portland Cement) หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 3 : เนื้อปูนละเอียดกว่าปูนประเภทอื่นๆ แข็งตัวได้ไว เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมเวลาและการเร่งถอดแบบ เช่น พื้นสำเร็จรูป เสาเข็มอัดแรง
4.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low Heat Portland Cement) หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 4 : ใช้ในงานที่ต้องใช้ปูนกับน้ำ ลดการคายความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างปูนกับน้ำในขณะปูนแข็งตัว ทำให้ไม่เกิดการแตกร้าว นิยมในงานสร้างเขื่อน
5.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภททนซัลเฟตสูง (Sulfate Resistance Portland Cement) หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 5 : เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่สัมผัสกับน้ำและดิน ซึ่งมีซัลเฟตไม่สูงมาก บ้านติดทะเล พื้นที่ติดคลองมีน้ำทะเลซึมได้ใช้ปูนตัวนี้
หมายเหตุ : ในกรณีที่บ้าน อาคาร หรือโครงสร้างอยู่ใกล้กับทะเล หรือมีเกลือจำนวนมากๆ มักมีตัวละลายซัลเฟท จำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทห้า หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดต้านทานซัลเฟตได้สูง
6. ปูนซีเมนต์ผสม หรือ ปูนซีเมนต์ซิลิก้า : เป็นปูนซีเมนต์ผสมกับทราย หินปูน ในอัตราส่วน 1:4 ทำให้แข็งตัวช้า เหมาะกับงานก่อ ฉาบ งานที่ไม่ได้รับแรงมาก
7. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดสีขาว : เหมาะกับการใช้ในงานตกแต่ง ปิดโถส้วม เนื้อปูนเป็นสีขาว จึงทำให้สามารถผสมสีเข้าไปได้
อ้างอิงเนื้อหา : https://www.cpacacademy.com/.../cpa.../E-CEMENTAPP%20U04.pdf
----------------------------------------------
รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น