วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP59. ☘️ทำไมกรุงเทพถึงอยู่ในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว?

 ☘️ทำไมกรุงเทพถึงอยู่ในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว?



ทั้งๆที่ไม่มีรอยเลื่อนอยู่แถวกรุงเทพเลย แต่กรุงเทพและจังหวัดอื่นใกล้เคียง กลับมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ จนทำให้ต้องประกาศเป็นเขตพื้นที่ที่ต้องออกแบบให้อาคารสาธารณะต้องรองรับการเกิดแผ่นดินไหว นั่นเป็นเพราะอะไร เรามาอ่านข้อมูลกันค่ะ


💟 รอยเลื่อนที่ใกล้กรุงเทพมากที่สุดอยู่ที่ไหน?


รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ห่างจากกรุงเทพประมาณ 300 กิโลเมตร

- ขยับตัวล่าสุด เวลา 22.18.41 น.วันที่ 21 ก.ค.64 ขนาด 3.7 ความลึก 2 กิโลเมตร


💟รอยเลื่อนอยู่ตั้งไกล แรงสั่นสะเทือนจะส่งผลกับกรุงเทพหรอ?


ลำพังรอยเลื่อนขยับตัวเล็กน้อยอาจจะไม่รุนแรงมาถึงกรุงเทพ แต่ข้อเสียเปรียบของประเทศไทยคือ ตัวอย่างการเกิดแผ่นดินไหวแบบรุนแรงนั้นไม่มี ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวมีน้อยจึงไม่สามารถหาข้อมูลได้ว่า ถ้ารอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ขยับตัวแบบรุนแรงจะส่งผลมาถึงภาคกลางตอนล่างที่เป็น "แอ่งกระทะดินเหนียวขนาดใหญ่" แค่ไหน?  


บทความวิจัยเกี่ยวกับอาคารในกรุงเทพกับแผ่นดินไหว โดย นคร ภู่วโรดม , มานะ จันทะสด : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/eit-researchjournal/article/download/147569/108658/


โดยประเทศไทยก็ได้มีการประชุมจากผู้เชี่ยวชาญ สภาวิศวกร ถึงความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้น โดยยกเคส "อาคารถล่มในไต้หวัน" วันที่6 ก.พ.59 ขนาด 6.4 ริกเตอร์ เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากมีสภาพพื้นที่คล้ายคลึงกันเนื่องจากเป็นดินอ่อน


อ่านเพิ่มเติม : https://d.dailynews.co.th/bangkok/379831/


💟 ทำไมภาคกลางตอนล่างถึงเป็น "แอ่งกระทะ"


จากการสำรวจธรณีวิทยาพบว่าภาคกลางตอนล่างมีลักษณะเป็นแอ่งขนาดใหญ่ มีชั้นหินฐานราก (bedrock) อยู่ลึกลงไป 500-1,000 เมตร ส่วนชั้นบนสุดเป็นชั้นดินกำเนิดใหม่ในยุคฮอโลซีน (Holocene) ซึ่งมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อนที่มีความหนาบางไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ


หากเทียบกับรูปแผนที่อ่าวไทยโบราณ 5,000 ปีก่อนก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าทำไมพื้นที่ภาคกลางตอนล่างถึงเป็นดินอ่อน


ที่มารูปภาพภาคกลางตอนล่าง 5,000 ปีก่อน

: http://www.dmr.go.th/download/digest/รายงานจำแนกเขต%20กรุงเทพมหานครฯ%20.pdf


💟 แผ่นดินไหว ส่งผลอย่างไรกับแอ่งกระทะ?


"ดินเหนียวกรุงเทพฯ” เป็นแอ่งดินขนาดใหญ่ (Soil basin) ลักษณะธรณีวิทยาแบบนี้มีคุณสมบัติขยายความรุนแรงแผ่นดินไหวได้ แต่มันก็ไม่ได้ขยายทุกช่วงความถี่ 


และเนื่องจากแผ่นดินไหวเป็นคลื่นพลังงานที่วิ่งมามาตามธรณี เมื่อเข้าไปในแอ่งนี้ คลื่นจะทะลุออกไม่ได้แต่จะเกิดปรากฎการณ์สั่นพ้องไปมา (Basin resonance) ทำให้เกิดการสะสมพลังงานอยู่ในแอ่ง เป็นการขยายคลื่นแผ่นดินไหวในแอ่งดินอ่อน (Basin amplification) 


🔻เคสกรณีศึกษา : เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งแผ่นดินไหวอยู่ไกลประมาน 300-400 กิโล แต่เมื่อคลื่นพลังงานเคลื่อนที่มาถึงแอ่งลักษณะนี้ส่งผลให้กรุงเม็กซิโกซิตี้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก


ข้อมูลอ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม : https://researchcafe.org/bangkok-earthquake/


💟จังหวัดใดบ้างที่ได้รับผลจากแอ่งกระทะ


และด้วยเหตุนี้เอง ประเทศไทยจึงออกกฎหมายมาเพื่อรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอนาคตโดยมีแอ่งกระทะภาคกลางลงไปด้วย ถูกจัดอยู่ในบริเวณที่ 2 


▪️บริเวณที่ 2  บริเวณที่มีความเป็นไปได้ว่าอาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพในระดับปานกลาง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว 


- ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พังงา ภูเก็ต ระนอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี 


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบเรื่องการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่ 2564 :

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/129649272989031/?d=n


 ----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น