วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP54. 🌸🌸จ้างออกแบบบ้าน เชคอะไรบ้าง?🌸🌸

 🌸🌸จ้างออกแบบบ้าน เชคอะไรบ้าง?🌸🌸



วาระเร่งด่วนแห่งชาติ หลังจากเจอเคสนึงเลยคิดว่าต้องเขียนเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการจ้างออกแบบบ้าน เพราะสมัยนี้ต้องยอมรับว่า มีคนเข้ามาทำตำแหน่งสถาปนิกโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพกันเยอะมาก แล้วปัญหาก็ตามมาซึ่งเราจะมาบอกเหตุผลว่าทำไมต้องจ้างสถาปนิกที่ถือใบประกอบวิชาชีพ (ยังไม่หมดอายุด้วยนะ)


🪴อันดับแรก 3 Check!! ให้ผ่านก่อนทำสัญญา


🌈1.เชคใบประกอบวิชาชีพ


https://act.or.th/th/member_check/


ทำไมต้องเชคใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากคนที่ถือใบประกอบวิชาชีพกับไม่ถือใบประกอบวิชาชีพต่างกันตรงที่ จรรยาบรรณในวิชาชีพ  คนที่ถือใบอยู่จะยังคงอยู่ในร่อง รอย เพราะถ้าทำสิ่งใดให้เสื่อมเสียเกียรติก็จะต้องถูกสอบจรรยาบรรณและท้ายสุดถูกยึดใบวิชาชีพ ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวควบคุมที่ถูกสร้างขึ้นมา และที่สำคัญ วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพควบคุมเช่นเดียวกับ ทนาย หมอ วิศวะ ผู้จะทำอาชีพนี้ได้ต้องถือใบประกอบวิชาชีพ


ส่วนคนที่ไม่มีใบวิชาชีพคนพวกนี้มาออกแบบได้ไง? ก็เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจ มองว่าค่าออกแบบ 7% แพง จึงเบนเข็มไปหาคนที่ให้ราคาต่ำกว่าและก็ไม่มีความรู้เรื่องการสร้างบ้านสักนิดเลย คิดว่าใครก็ออกแบบได้


❌บทกำหนดโทษสำหรับผู้แอบอ้างเป็นสถาปนิก❌


มีความผิดทาง อาญา จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 71 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543


https://download.asa.or.th/03media/04law/aa/aa43-upd60.pdf


🌈2.เชคราคาค่าออกแบบ


ทำไมต้องเชคราคาค่าออกแบบก่อน? ก็เพราะสถาปนิกเขามีเรทที่ใช้กันในการออกแบบ ปกติทั่วไปคือ 7%  แล้วไอ้ 7% ที่ว่าครอบคลุมงานออกแบบอะไรบ้าง ขอให้เข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมจะได้เข้าใจมากขึ้น


หน้าที่ 7-8 https://www.act.or.th/th/home/assets/images/link/9bd4afd28b1cecf89d1b990856c882bb.pdf


หากจะสรุปง่ายๆคือ


1. ขั้นตอนการบริการก่อนการออกแบบ

2.ขั้นตอนการออกแบบร่าง

3.ขั้นตอนการพัฒนางานออกแบบ

4.ขั้นตอนการจัดทำแบบและเอกสารขออนุญาต

5.ขั้นตอนการจัดทำแบบและเอกสารสำหรับก่อสร้าง

6.ขั้นตอนการให้บริการคัดเลือกผู้ก่อสร้าง

7.ขั้นตอนบริการช่วงการก่อสร้าง


ที่ต้องอธิบายนั่นเพราะมีบางคนตีความว่า 


- "การจ้างออกแบบนั้นถึงแค่ข้อ 3" การจะทำข้อ 4,5 ได้ ต้องแยกสัญญาจ้างอีก 1 ฉบับ ทำให้เกิดการเสียค่าออกแบบซ้ำซ้อน และได้แค่แบบดีไซน์ซึ่งไม่สามารถเอาไปให้สถาปนิกคนอื่นทำต่อได้ เพราะผิดลิขสิทธิ์จะทิ้งก็ไม่ได้เสียค่าออกแบบไปแล้วหลายหมื่น ก็ต้องทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งแบบขออนุญาตและแบบก่อสร้าง

- ซึ่งหากยึดตามที่สภาสถาปนิกกำหนด ขั้นตอนสุดท้ายของการออกแบบจริงๆคือ ข้อ 5 (เข้าไปอ่าน) ดังนั้น 7% ก็ควรจะได้ถึงข้อนี้

- ข้อ 6 นั้นสถาปนิกช่วยทำได้

- ข้อ 7 เป็นจรรยาบรรณวิชาชีพ


📌เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่พยายามย่อยทุกสิ่งมาเพื่อให้คนเข้าไปอ่านกฎและข้อระเบียบต่างๆที่ทำให้ผู้ว่าจ้างมีข้อมูล จะได้ไม่เสียหายหนักหนา ทุกอย่างที่หยิบยกมาคือข้อมูลจากสภาแบะสมาคมสถาปนิก แต่ถ้าไม่เข้าไปอ่านเราก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะเรื่องพวกนี้ก็เหมือนกฎหมาย จะอ้างว่าไม่รู้ก็จะเสียเปรียบตอนทำ "สัญญา" ทันที  


📌ทางสมาคม เขาบอกว่าใช้อัตราค่าออกแบบได้ทั้ง 2 ตัว คือสูงสุด 7% กับ 8.5% ดูว่าเข้าเกณฑ์ไหน  ตัว 7%  สามารถหาอ่านได้ในคู่มือสถาปนิก https://www.yotathai.com/yotanews/manual-architect-2547 หน้า 159  แต่ตัวล่าสุด 8.5% เป็นกฎกระทรวง เน้นภาครัฐแต่ใช้กับการออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้ยังมีอยู่

https://act.or.th/uploads/legal/72/architect_rate62.pdf


🌈3.เชคการจ่ายงวดงาน


ข้อนี้สัมพันธ์กับข้อ 2 โดยขั้นตอนการออกแบบ 7 ข้อ ทางสมาคมก็ได้มีไกด์ไลน์การแบ่งงวดงานไว้ให้สถาปนิก ต้องบอกก่อนว่า เรื่องนี้ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงแนวทางการแบ่งงวดงาน


❌ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินค่าออกแบบคิดตามสมาคมสถาปนิกกำหนด❌


1.ตกลงว่าจ้าง 10%

2.อนุมัติแบบร่างขั้นต้น 20%

3.ส่งมอบแบบก่อสร้างและเอกสารอื่นๆ 60%

4.ประกวดราคาค่าก่อสร้างจบ 5%

5.งานก่อสร้างแล้วเสร็จ 5%

*****รวมเงินค่าออกแบบ  100%*****

📌ในกรณีที่จะล้มเลิกทำการจ้างในข้อ 2 ให้จ่ายเงินเพิ่มอีก 10% จนครบ 40%


ที่มา : หน้า 19 https://download.asa.or.th/New56/3ร่างมาตรฐาน.pdf


การจ้างออกแบบทุกคนก็มุ่งหวังที่จะต้องได้แบบก่อสร้างเพราะการได้แค่ดีไซน์มันเอาไปให้คนอื่นใช้ออกแบบต่อไม่ได้ ดีเทล การคิดทุกอย่างคนทั่วไปก็ไม่รู้ลึกซึ้งเท่าคนออกแบบ จะเอาไปให้คนอื่นแกะแบบเขียนแบบก่อสร้างก็อาจจะขาดๆเกินๆ การที่ต้องดู % การจ่ายงวดงานเพื่ออัตราส่วนว่าสมเหตุสมผลไหม จะได้แบบก่อสร้างต้องเตรียมเงินไว้กี่ % ตีเป็นเงินกี่บาท จ่ายหลายหมื่นได้แค่ช่วงดีไซน์ OK มั้ยกับงบประมาณที่ควรจะเป็น


❌Step ของมันคือ 1.ดูค่าออกแบบก่อนว่าคิดกี่ % 2.ดูการแบ่งจ่ายงวดออกแบบ นำจำนวนเงินค่าออกแบบมาย่อย


ปล.ในระหว่างข้อ 2-3 บางคนอาจจะมีการซอยงวดเพื่อความยืดหยุ่นกับจำนวนเงิน 60% โดยแบ่งเป็น เมื่อตกลงให้ทำแบบก่อสร้าง จ่าย 30%  เมื่อได้แบบก่อสร้างจ่ายอีก 30%


จำไว้เสมอนะคะ อ่านสัญญาก่อนเซ็นสัญญา ถ้าเซ็นสัญญาไปแล้ว ถือว่าตกลงกันแล้ว มาอ่านเจอทีหลังแล้วรู้สึกเสียเปรียบแก้อะไรไม่ได้แล้วนะคะ...


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น