🌈 อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก อิฐชนิดไหนต้องแช่น้ำก่อน?
เคยสงสัยมั้ย ? ทำไมอิฐแต่ละประเภทถึงต้องแช่น้ำบ้าง ไม่แช่น้ำบ้าง? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้จักอิฐแต่ละประเภทกันก่อน
🧱อิฐมอญ
- อิฐมอญหรืออิฐแดง ในอดีตทำจากดินแม่น้ำ มีเนื้อละเอียดปนทราย ปัจจุบันใช้ดินจากที่ลุ่ม เป็นดินเหนียวชั้นดี ผสมกับแกลบ ขี้เถ้าและน้ำ
- อิฐที่ผ่านการเผาอย่างเพียงพอจะมีค่าการดูดน้ำเพิ่มขึ้น 10% หากแช่ทิ้งไว้ 24 ชม.
- เมื่ออิฐหักออก จะมองเห็นเนื้อภายในคล้ายหินและแน่นมาก ไม่มีรูพรุน ไม่มีรอยแตกร้าว
🧱อิฐมวลเบา
- อิฐมวลเบาทำมาจากทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่มและผงอะลูมิเนียม
- มีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา (ลอยน้ำได้)
- ผ่านการอบไอน้ำแรงดันสูง ซึ่งก็คือการบ่มน้ำรูปแบบหนึ่ง จึงทำให้อิฐมีสีขาว
🧱อิฐบล็อก
- อิฐบล็อกหรือคอนกรีตบล็อก เป็นวัสดุผสมจากซีเมนต์ หินเกล็ด ทรายหยาบ และน้ำ
- ผสมแล้วนำเข้าเครื่องอัดเป็นก้อน แล้วนำไปตากแดดตากลม
- มีน้ำหนักมาก จึงได้ออกแบบให้มีรูกลวงเพื่อลดน้ำหนักลง
จากตอนแรกสับสน งุน งง งง งวยมากว่า เอ๊ะบางผู้ผลิตบอกอิฐมวลเบาถึงจะพรุนแต่ไม่ดูดน้ำ อ้าวถ้าไม่ดูดน้ำทำไมไม่เอามาก่อห้องน้ำล่ะ? ดูในคลิปเอาอิฐมวลเบาแช่น้ำ 4 ชั่วโมงก็จม เอ๊ะๆๆๆ จนบังเอิญไปเจอวิจัยชิ้นนึงก็ถึงบางอ้อเลยว่า ตกลงอิฐแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ดูรูปประกอบเอาดีกว่า
งานวิจัยเกี่ยวกับการดูดน้ำของอิฐต่างๆ
http://www.tsme.org/home/phocadownload/MENETT21/amm/amm32/the%20effect%20of%20air%20bubbles%20on%20absorb%20moisture%20%20in%20construction%20materials%20of%20building%20amm32.pdf
📌สาเหตุที่ต้องแช่น้ำในอิฐมอญก่อน
- อิฐมอญนั้นมีค่าการดูดน้ำ 10-17% จึงต้องแช่ให้อิ่มตัวก่อน ไม่งั้นตอนก่อผนัง อิฐจะไปดึงน้ำจากปูนก่อ ทำให้อัตราส่วนของปูนก่อเปลี่ยนไป สูญเสียน้ำ ทำให้การยึดเกาะและกำลังเปลี่ยนไป
- อิฐมอญผ่านการเผามา จึงทำให้ตัวมันแห้งมากพร้อมดูดน้ำเสมอ
- ตัวอิฐมอญนั้นเป็นเนื้อตัน ไม่มีรูพรุนจึงไม่อุ้มน้ำในรูพรุน
- อิฐมอญจะไปดึงน้ำจากปูนฉาบเช่นกัน ทำให้อัตราส่วนปูนฉาบเปลี่ยนไป ผนังร้าว แตก
- วิธีดูความอิ่มตัว คือ แช่จนฟองอากาศไม่พุ่งออกมา ก็ทำการผึ่งให้ผิวแห้งก่อนแล้วค่อยนำไปก่อ
- หลังก่อเสร็จก็ต้องบ่มอิฐ หลังฉาบก็ต้องบ่มผนังเพราะซีเมนต์จะทำปฏิกริยากับน้ำ จึงต้องลดการสูญเสียน้ำเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
📌สาเหตุที่ไม่ต้องแช่อิฐมวลเบาก่อน
- อิฐมวลเบามีค่าการดูดซึมสูง มีรูพรุนเยอะ หากนำไปแช่น้ำจะมีการดูดซึมน้ำมากเกินไป อุ้มน้ำ น้ำแทนที่โพรงอากาศ เมื่อนำไปก่ออิฐเกิดการคายน้ำ ไปสลายปูนกาวที่ใช้ก่ออิฐทำให้การก่อไม่สมบูรณ์ เสียสภาพการยึดเกาะ
- ปูนก่อปกตินำมาก่อไม่ได้ เนื่องจากมันไม่จับตัวกับคอนกรีตมวลเบา จึงต้องใช้ปูนก่อพิเศษ
- ต้องใช้ปูนฉาบสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ เนื่องจากจะผสมสารอุ้มน้ำช่วยไม่ให้เนื้อปูนเสียน้ำเร็ว
📌สาเหตุที่ไม่ต้องแช่อิฐบล็อกก่อน
- ตัวมันเองมีรูพรุนเล็กๆอยู่เต็มไปหมด ถ้าแช่น้ำก็จะยิ่งเพิ่มน้ำหนักให้ตัวมันอีก เพราะตัวมันดูดน้ำอยู่ที่ 10%
- อิฐบล็อกมีสีเทาเพราะยังไม่ผ่านกระบวนการบ่มน้ำแปลว่ามันกระหายน้ำ
- ถ้าเอาไปแช่น้ำจนตัวมันอุ้มน้ำ พอตอนก่อมันคายน้ำออกจากรูพรุน ก็ทำให้ปูนก่อเสียสภาพการยึดเกาะ
🌟สรุป : เพราะรูพรุนนี่แหละ เจ้าปัญหา ดูดน้ำและคายออกทำให้การก่อเสียหาย เพิ่มน้ำหนักตัวมันเองอีก🌟
หลักการของเรื่องนี้ก็คือ ธรรมชาติของโลก เมื่อนำอะไรก็ตามไปลอยน้ำ ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ( 997 กก./ลบ.ม )วัตถุจะจมน้ำ ซึ่งอิฐแต่ละชนิดมีค่าความหนาแน่นอยู่แล้ว แต่เมื่อมันจมก็เพราะว่ามันอมน้ำจนทำให้ค่าความหนาแน่นของมันเปลี่ยนไปนั่นเอง
ปล.
อิฐมอญความหนาแน่น = 1,500 kg/m3 จมน้ำ
อิฐบล็อกความหนาแน่น = 1,800-2,000 kg/m3 จมน้ำ
อิฐมวลเบาความหนาแน่น = 500-700 kg/m3. ลอยน้ำ
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น