วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP95. 🚧 สนิมเหล็กในคอนกรีตเกิดได้อย่างไร?

 🚧 สนิมเหล็กในคอนกรีตเกิดได้อย่างไร?



เรื่องนี้เกี่ยวพันไปถึงระยะ Covering คอนกรีตในงานโครงสร้าง หลายคนรู้ว่าต้องหนุนลูกปูนเท่านั้น เท่านี้ แล้วทำไมการหุ้มคอนกรีตถึงต้องมีระยะบังคับ แล้วคอนกรีตช่วยอะไรได้? เรื่องนี้เป็นความสงสัยล้วนๆ จึงไปหาข้อมูลมาแบ่งปันค่ะ


📌รูพรุนในเนื้อซีเมนต์เกิดจาก?


ปูนซีเมนต์เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วก็จะเกิดการเซ็ทตัวกลายเป็นเพสต์ (Paste) และทำหน้าที่ยึดมวลรวมต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน และมวลรวมนี่เองที่มักจะทำให้เกิดรูพรุนในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากอนุภาคของซีเมนต์ที่มีเหลี่ยมคม จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซีเมนต์กับมวลรวม 


📌สนิมเกิดได้อย่างไร?


เมื่อคอนกรีตมีช่องว่างอยู่ภายในเนื้อของมัน อากาศ น้ำ สารเคมี เกลือ ฯลฯ ก็แทรกตัวเข้าสู่เนื้อคอนกรีตและเข้าไปกัดเซาะเนื้อเหล็กที่ฝังอยู่ในคอนกรีตทำให้เกิดสนิมขึ้น ดังนั้นการหนุนลูกปูนจึงจำเป็นอย่างมากเพื่อให้เหล็กเสริมนั้นถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อซีเมนต์



📌คอนกรีตช่วยป้องกันสนิมได้อย่างไร?


การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในขั้นตอนการแข็งตัวของคอนกรีตที่เรียกว่า "ไฮเดรชั่น" นั้น ทำให้น้ำที่เข้าไปทำปฏิกริยากับซีเมนต์เกิดการสร้างสารชนิดใหม่คือ Calcium Silicate Hydrate และ Calcium Hydroxide ทำให้คอนกรีตมีความเป็นด่างอย่างมาก (ค่า pH ประมาณ 12.6 – 13 ) ส่งผลทำให้เหล็ก( ph 7-8) ที่ถูกคอนกรีตห่อหุ้มนั้นเกิดฟิล์ม (Passivity) ทำให้ไม่เกิดสนิมนั่นเอง 


📌 แถวไหนเสี่ยงสนิมไวที่สุด


พื้นที่แถบชายทะเลเนื่องจากมีคลอไรด์เยอะ ดังนั้นการสร้างบ้านแถวชายทะเลควรจะต้องผสมน้ำยาคอนกรีตในเนื้อคอนกรีต และยิ่งโครงสร้างที่อยู่ในดิน ติดดิน ใกล้ดิน ควรมีระยะ Covering เหล็กตามมาตรฐานกำหนด


คลอไรด์ : ปัญหาสนิมจากคลอไรด์พบได้บ่อยกว่าปัญหาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเราจะพบเห็นอาคารหรือโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่น้ำกร่อย หรือพื้นที่ดินเค็ม เกิดปัญหาปูนแตกชำรุดเพราะเหล็กเสริมเป็นสนิม อันเนื่องมาจากคลอไรด์แพร่ผ่านคอนกรีตเข้าไปทำลายออกไซด์ฟิล์มของเหล็กได้อยู่ทั่วไป


อ้างอิงเนื้อหา : https://www.skcconcrete.com/14666592/หลักการทำงานของซีเมนต์

http://www.thaimp.co.th/article/article9/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น