วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP63. 🟨⬛️ ปูกระเบื้อง EP.1 : ปูซาลาเปา Vs ปูขี้หนู

 🟨⬛️ ปูกระเบื้อง EP.1 : ปูซาลาเปา Vs ปูขี้หนู



หลายคนอาจจะคุ้นชื่อการปูกระเบื้องแบบซาลาเปาแต่แบบขี้หนูอาจจะสงสัยว่ามันเป็นอย่างไร ควรจะปูแบบไหนดี หรือไม่ควรจะปูทั้ง 2 แบบเลยจะดีกว่า? 


เนื่องจากทางเราก็พยายามจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปูกระเบื้องที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ(ผู้ผลิตสินค้าโดยตรง) เพราะพอไปเปิดดูยูทูปก็แบบเขียนว่าวิธีที่ถูกต้องต้องแบบนี้ แต่ผู้ผลิตเขาไม่แนะนำเอ๊ะจังได๋!!! งั้นเรามาลองดูข้อมูลกันค่ะ


💟 ปูแบบซาลาเปา


- คือการปูกระเบื้องโดยการเอาปูนก่อผสมน้ำมาโปะเป็นก้อน กลมๆลงบนกระเบื้องแล้วก็คว่ำติดกับพื้นผิว เหมาะกับกระเบื้องแผ่นเล็ก

- สมัยนี้ไม่น่าจะมีคนทำกันแล้วเพราะกระเบื้องนับวันยิ่งนิยมปูแผ่นใหญ่มันปูแล้วไม่เต็มแผ่น โบ๋ตรงขอบ เวลาเดิน วางของ มีของกระแทกก็แตกง่าย

- โพรงอากาศภายใน เมื่อน้ำแทรกซึมลงไปได้ ก็ทำให้กระเบื้องร่อน เป็นเชื้อรา

- สมัยก่อนที่ทำกันเพราะเนื่องจากกระเบื้องมีขนาดเล็ก เวลากดกระเบื้องลงไปเพื่อปรับระดับปูนก็กระจายไปด้านข้าง เกิดโพรงน้อยแต่สมัยนี้กระเบื้องแผ่นใหญ่มากจึงไม่เหมาะที่จะทำแบบนี้แล้ว


💟 ปูแบบขี้หนู / ขุยหนู


- วิธีนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ช่างมาก


- ปูแบบขี้หนูบางคนก็บอกว่าเป็นการปูแบบเปียก แต่ความจริงแล้วมันเป็นการปูแบบกึ่งแห้งกึ่งเปียก เพราะส่วนผสมที่นำมาทำผสมจนเป็นปูนปรับระดับนั้นค่อนข้างร่วน ไม่เปียก ไม่แห้ง โดยผสมปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำเพียงเล็กน้อย ไม่ให้ปูนเหลวจนเกินไป เวลากำเป็นก้อน ไม่เหลวติดมือ ร่วนเหมือนขี้หนู

- โดยปกติปูนซีเมนต์มักจะต้องผสมน้ำให้ได้อัตราส่วนเนื่องจากปูนอาศัยน้ำในการทำปฏิกริยาบ่มตัวเองเพื่อให้มีความแข็งแรง แต่การผสมปูนเพื่อปูขี้หนูนั้นใช้น้ำน้อย การจะให้มันแข็งแรงนั้นใช้เวลาช้าและเมื่อแห้งแล้วก็ไม่แข็งแรง

- การปูแบบนี้จะใช้ปูนขี้หนูเป็นปูนปรับระดับไปในตัว โดยเวลาปูจะเห็นถึงความหนาของปูนประมาณ 5 เซนติเมตร

- การปรับระดับกระเบื้องให้ได้ระดับนั้นเกิดจากกาดกดไล่อากาศให้ปูนนั้นยุบจนได้ระดับ 

- บางช่างมีการใช้ปูนกาวช่วยโดยทาที่หลังกระเบื้องและบนปูนเพื่อช่วยให้กระเบื้องยึดเกาะปูนปรับระดับได้ดี 

- การใช้ปูนกาวช่วยให้ด้านบนไม่เกิดโพรงอากาศเล็กๆแต่ด้านล่างเมื่อปูนปรับระดับแห้งก็ยังคงมีโพรงอากาศ

- หากน้ำซึมลงกระเบื้องลงไปขังในชั้นปูนปรับระดับได้ ก็ทำให้เกิดเชื้อรา กระเบื้องร่อนเช่นกัน

- การผสมปูนแต่ละครั้งก็มีระยะเวลา ต้องรีบทำให้เสร็จก่อนที่ปูนจะหมดอายุ ช่างมักผสมปูนทีละน้อยและปูทีละแผ่น


จากข้อมูลที่สรุปมาทั้ง 2 แบบ จะเห็นว่ามีข้อเสียเยอะ และการปูแบบขี้หนูก็เป็นที่นิยมของช่างเสียด้วย การปูขี้หนูนั้นมีความคล้ายคลึงกับการปูด้วยปูนเปียกต่างกันตรงวิธีการผสมปูนที่ใช้ในการปรับระดับ ในบทความ EP.2 เราจะมาพูดถึงการปูปูนเปียก Vs การปูปูนกาวกันค่ะ เพื่อที่จะได้มีข้อมูลแบบครบว่าแบบไหนคือวิธีที่ดีที่สุด


🔴 ความรู้เรื่องระดับพื้นในบ้าน ส่วน Section 


- ปกติระดับที่ใช้อ้างอิงในแปลนบ้านจะเป็นระดับ Finishing เช่น กระเบื้อง 

- โดยเมื่อนับไล่ระดับจะ Finishing จะได้  กระเบื้อง+ปูนปรับระดับรวมกัน 5 เซนติเมตร

- ถัดจากปูนปรับระดับลงไปจะเป็นปูนเทโครงสร้างพื้นประมาณ 5 เซนติเมตร

- ถัดจากปูนปรับระดับลงไปจะเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูป


ช่างส่วนใหญ่มักไม่เทปูนปรับระดับให้เสร็จและรอให้แห้งก่อนค่อยปูกระเบื้อง ส่วนใหญ่มักผสมปูนทีละน้อยและปูกระเบื้องพร้อมกันไปในตัวทีละไม่กี่แผ่น


💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n


📍อ้างอิงการปูซาลาเปา Vs ขี้หนู


จากผู้ผลิต Sika : https://tha.sika.com/th/knowledge/how-to-tile-procedures.html


จากผู้ผลิตจระเข้ : https://www.jorakay.co.th/blog/owner/tiling/what-is-a-steamed-bun-crab-why-is-it-a-method-of-tiling-that-technicians-should-not-use


ภาพประกอบ : ปูนตราจระเข้ , อิฐแดง


#ปูขุยหนู #ปูขี้หนู #ปูกระเบื้อง #ปูซาลาเปา #ปูกระเบื้องแบบไหนดี #งานกระเบื้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น