🚾 ท่อระบบสุขาภิบาลบ้านๆใช้แบบไหน
โดยปกติงานประปาบ้านๆเนี่ยจะมีแค่ไม่กี่แบบ แต่ต่างกันตรงที่การใช้งาน ซึ่งการใช้งานเนี่ยแหละที่ทำให้มันมีความต่างในการเลือกใช้ และด้วยความที่งานบ้านเล็กๆมันมีรายละเอียดไม่เยอะก็เลยจะสรุปให้กระชับและนำไปใช้งานได้เลยค่ะ
🔻ท่อประปา ท่อน้ำดี (CW) 3/4",1/2"
ประเภทท่อ : PVC ,ท่อพีวีซี ( Poly Vinyl Chloride )
สี : ฟ้า
ความหนา : 13.5
สัญลักษณ์ในแบบ : CW ( Cold water)
การใช้งาน : ใช้แรงดันในการส่งน้ำ / ท่อเมน 3/4" ท่อแยกเข้าสุขภัณฑ์ 1/2"
🔻ท่อโสโครก (S) 4"
ประเภทท่อ : PVC ,ท่อพีวีซี ( Poly Vinyl Chloride )
สี : ฟ้า
ความหนา : แนะนำ 8.5
สัญลักษณ์ในแบบ : S (Soil pipe)
การใช้งาน :ใช้ท่อขนาด 4"
Slope ท่อ : 1:50 ( ทุก 100 ซม.ลดระดับจากแนวราบ 2 ซม.) หรือต่ำกว่านี้ก็ได้นะแต่ต้องไม่ลืมว่า Slope เยอะก็กินพื้นที่ใต้ฝ้าเพดานเยอะ
ข้อต่อ : ต้องใช้ข้อต่อ 45 แทน 90 , ใช้ข้อต่อ 3 ทางตัว Y แทนข้อต่อ 3 ทาง 90(ตัวT) ไม่งั้นไหลไม่สะดวก
🔻ท่อน้ำทิ้ง (W) 2,3,4"
ประเภทท่อ : PVC ,ท่อพีวีซี ( Poly Vinyl Chloride )
สี : สีฟ้า (ไม่แนะนำสีเทา)
ความหนา : แนะนำ 8.5
สัญลักษณ์ในแบบ : W (Waste pipe)
การใช้งาน : จากสุขภัณฑ์ 2" ระเบียง 3" และหลังคา RD. 4"
Slope ท่อ : 1:50-100
ข้อต่อ : ต้องใช้ข้อต่อ 45 แทน 90 , ใช้ข้อต่อ 3 ทางตัว Y แทนข้อต่อ 3 ทาง 90(ตัวT) ไม่งั้นไหลไม่สะดวก
(ท่อที่มีขนาด Dia. 80 mm (3")และเล็กกว่า ให้ใช้ความลาดเอียง ไม่น้อยกว่า1 : 50. 2. ท่อที่มีขนาด Dia. 100(4") - 150(6") mm ให้ใช้ความลาดเอียงไม่ น้อยกว่า 1 : 100)
🔻ท่ออากาศ (V)
ประเภทท่อ : PVC ,ท่อพีวีซี ( Poly Vinyl Chloride )
สี : สีฟ้า (ไม่แนะนำสีเทา)
ความหนา : แนะนำ 8.5
สัญลักษณ์ในแบบ : V (Vent pipe)
การใช้งาน : แนะนำใช้ขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดท่อที่ต่อแยกออกมา เช่น ท่อโสโครก 4" ท่ออากาศใช้ 2"
ข้อแนะนำ : ปลายท่ออากาศปิดด้วยข้อต่อ 3 ทาง
🔻ท่อน้ำร้อน (H) 1/2"
ประเภทท่อ : PP-R(80) SDR6(PN20)
สี : เขียว
ความหนา : SDR6 (PN20)
สัญลักษณ์ในแบบ : H (Hot water)
การใช้งาน : ท่อขนาด 1/2"
หมายเหตุ : PN10 เหมาะกับน้ำอุ่น PN20 เหมาะกับน้ำร้อน
อ่านเรื่องท่อ PPR เพิ่ม : https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/78/ContentFile1536.pdf
🔻ท่อระบายน้ำรอบบ้าน (AC)
ประเภทท่อ : ท่อซีเมนต์ใยหิน ,PVC
ขนาด : แนะนำ 8" ซีเมนต์ใยหิน
สัญลักษณ์ในแบบ : AC (Asbestos Cement Pipe)
การใช้งาน : ท่อระบายน้ำรอบบ้านต่อเข้าบ่อพักทุกๆระยะประมาณ 6 เมตร
Slope ท่อ : 1:200
หมายเหตุ : สำหรับท่อที่ต้องฝังใต้ดิน ใต้อาคาร ในส่วนที่มีการทรุดตัว ควรใช้ท่อ PE เนื่องจากยืดหยุ่นได้ดี และควรใช้ท่อ pvc ที่มี มอก. (แนะนำตราช้าง กับ ท่อน้ำไทย)
📌 ท่อกับฝ้าเพดานเป็นของคู่กัน
ปัญหานี้มักเกิดในส่วนของการออกแบบห้องน้ำแล้ววางตำแหน่งช่อง Shaft ไว้ไกลแสนไกลทำให้ท่องานระบบห้องน้ำที่ต้องวิ่งไปลง Shaft ต้องพาดผ่านหลายห้องและกินพื้นที่เหนือฝ้าเพดาน อีกทั้งยังไม่ได้มีการออกแบบให้ Block ช่องงานระบบในตัวคานอีกทำให้ท่อต่างๆต้องวิ่งใต้ท้องคานเท่านั้น
ตัวอย่าง : ท่อโสโครก (S) พาดยาว 6 เมตร Slope 1:50 หมายความว่า ทุกๆ 1 เมตรท่อจะลดระดับลง 2 เซนติเมตร ถ้าพาดยาว 6 เมตร แปลว่าท่อต้องลดระดับจากใต้ท้องคาน 12 เซนติเมตร + ขนาดท่อ 10 เซนติเมตร
สรุป : ต้องมีพื้นที่ระหว่างฝ้าเพดานกับใต้ท้องคานอย่างน้อย 22 เซนติเมตร
📌ผลที่ตามมา
- ถ้าต้องการความสูงใต้ฝ้าเพดาน 2.80 เมตร
- บวกพื้นที่งานระบบไปอีก 22 เซนติเมตร
- บวกโครงสร้างคาน+พื้นแบบสำเร็จไปอีก 55 เซนติเมตร
- จะได้ความสูงระหว่างพื้นชั้น 1 และชั้น 2 เท่ากับ 2.80 + 0.22+ 0.55 = 3.57 เมตร
🔻🔻ดังนั้น เข้าใจหรือยังทำไม Shaft ถึงต้องอยู่ใกล้ห้องน้ำมากที่สุดหรืออยู่ใต้ห้องน้ำเลย 🔻🔻
เรื่องนี้จะไปเกี่ยวข้องกับงานบันไดในโพสก่อนหน้าที่เขียนไปสามารถอ่านได้ที่ : https://www.facebook.com/100889769198315/posts/147075484579743/?d=n
----------------------------------------------
💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n
-----------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น