กระจกที่ใช้กันมีแบบไหนบ้าง?




2.1 กระจกโฟลตใส (Clear float glass) เป็นกระจกรูปแบบพื้นฐานในการนำไปทำกระจกชนิดอื่นๆ


- กระจกเทมเปอร์ และกระจกกึ่งนิรภัย
- กระจกลามิเนต
- กระจกเคลือบผิวประเภทต่างๆ
2.2 กระจกโฟลตสีตัดแสง (Tinted float glass) ซึ่งการเกิดสีนั้นเกิดจากการผสมออกไซด์ของโลหะชนิดต่างๆ จนทำให้เกิดเป็นสีขึ้น เช่น สีเขียว สีเทา สีฟ้า ยิ่งสีเข้มมากก็ยิ่งลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มาก



3.1 กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered safety glass) คือ การนำเอากระจกธรรมดาหรือกระจกที่มีปริมาณของโลหะที่ผสมเข้าไปในสัดส่วนที่น้อย มาทำให้อ่อนตัวลงอีกครั้งและทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้กลายเป็นกระจกที่มีความแข็งแรงกว่าเดิม 5-10 เท่า เวลากระจกแตกจะเป็นเมล็ดข้าวโพด
ไม่ร่วงหล่น


(หากใช้ในส่วนโดนน้ำ เมื่อทำเป็นกระจกเทมเปอร์ลามิเนตควรหลีกเลี่ยงฟิล์ม PVB)
3.2 กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) คือ การนำเอากระจก 2.1 กระจกโฟลตใส (Clear float glass) มาทำให้อ่อนตัวลงอีกครั้งและทำให้เย็นตัวแบบช้าๆ วิธีการนี้เพิ่มความแข็งแรงให้กระจกเดิม 2-3 เท่า เวลาแตกจะเป็นรูปปากฉลาม
แต่ไม่ร่วงหล่น


4.1 กระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass) กันความร้อนด้วยการเคลือบผิวหน้าด้านหนึ่งให้สะท้อนแสงได้สูง จึงทำให้ข้างนอกทึบแสง มองจากข้างนอกไม่เห็นแต่คนข้างในมองเห็น สบายตา มักนิยมใช้ในตึกสูงๆ ตึกใหญ่ๆ


4.2 กระจกแผ่รังสีต่ำ(Low-E Glass) กระบวนการเหมือนกระจกสะท้อนรังสีแต่เติมโลหะเงินบริสุทธิ์ลงไปเคลือบผิวหน้าเพื่อแก้ปัญหาอุณหภูมิแตกต่างกันของกระจก จึงทำให้ประสิทธิภาพในการกันแสงลดลง

5.1 กระจกฉนวน (Insulation Glass) คือ กระจกประกอบกัน 2 แผ่นแบบเว้นช่องตรงกลาง โดยช่องตรงกลางจะใส่สารดูดความชื้น ฉนวน หรือก๊าซเฉื่อย ซึ่งกระจกแบบนี้สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีมาก


5.2 กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass) คือ กระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกันโดยยึดด้วยแผ่นฟิล์ม PVB (Poly Vinyl Brutyal) , SGP (Sentry Glass) , EVA (ethylene-vinyl acetate copolymer) หรือ พวกเรซิน เมื่อเวลากระจกแตกจะไม่หลุดออกมาเนื่องจากมีตัวกลางในการประสานกระจก


- สามารถเลือกชนิดกระจกที่จะมาประกบกันได้ตามการใช้งานและความต้องการ
- สามารถเลือกชนิดตัวกลางในการประสานกระจกได้ ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามความต้องการ เช่น ลดความร้อน ลดเสียง

- ฟิล์ม PVB มีหลายสีสัน เหมาะกับงานห้างโชว์สินค้าใช้กระจกแผ่นใหญ่ เพราะฟิล์มตัวนี้ไม่เหมาะกับส่วนที่โดนน้ำ น้ำจะซึมเข้าฟิล์มตามขอบ ดังนั้นถ้าจะใช้กระจกลามิเนตฟิล์ม PVB กับ ห้องน้ำ ราวกันตกนอกบ้าน หรือส่วนที่โดนน้ำนั้นไม่ควรอย่างยิ่งหากจะใช้ควรซีลขอบให้ดี และไม่เหมาะกับบานประตูที่ต้องเปิดเข้า-ออกตลอด จะทำให้ตัวกระจกแยกออกจากฟิล์ม
- ฟิล์ม SGP มีสีเดียวคือ สีใส ไม่กลัวน้ำ ทนความชื้น ดังนั้นฟิล์มตัวนี้จึงเหมาะกับกระจกลามิเนตที่ใช้ในส่วนที่โดนน้ำ และความแข็งแกร่งนั้นมากกว่า PVB ถึง 100 เท่า จึงสามารถใช้ความหนากระจกได้น้อยกว่าฟิล์ม PVB ราคาจึงแพงและใช้เฉพาะโครงการใหญ่ๆ
สรุป : การเลือกกระจกมาใช้งานในบ้านสมัยปัจจุบัน
1.กระจกสีตัดแสง (Tinted float glass)
2.กระจกธรรมดา ใช้การติดฟิล์มเพิ่ม
3.กระจกเทมเปอร์ เหมาะสำหรับห้องน้ำ ราวระเบียง ประตู หน้าต่างบานใหญ่
4.กระจกลามิเนต การเลือกใช้แต่ละที่ในบ้านขึ้นอยู่กับฟิล์มด้วย
ส่วนแบบอื่นๆ น่าจะเกินความต้องการและราคาเกินความต้องการของงานบ้านๆเล็กๆทั่วไป
**หากบทความนี้มีส่วนไหนที่ผิดพลาดไป สามารถให้ข้อมูลและแก้ไขเพิ่มเติมได้ค่ะ
อ้างอิงเนื้อหา : จุลสาร ACS https://www.eptg-acsc.co.th/mix.../images/Column/column5.pdf
ข้อมูลประกอบอื่นๆ https://krajok.com/lamidelam/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น