วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP110. 😱☀️10 เทคนิคลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน

 😱☀️10 เทคนิคลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน




🔻ความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ 2 ทางหลักๆได้แก่

1.ทางหลังคา

2.ทางผนัง/กระจก


โดยสะสมความร้อนในตอนกลางวัน แล้วคายความร้อนตอนที่เรานั่งพักผ่อน ดูทีวี นอนหลับในตอนกลางคืน (ชีวิตโคตรอนาถา) ดังนั้นเราจึงรวบรวมข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลให้บ้านร้อนมาอ่านกันค่ะ (เคยเขียนไว้เกือบหมดแล้ว รวมย่อมาทีเดียว)


🔻 ปัจจัยที่ทำให้บ้านร้อน


1.การเลือกสีหลังคา และสารที่ผสมในการสะท้อนความร้อน

- สีหลังคาโทนสีอ่อน สีขาว สีเทา สีเขียว สีส้ม เป็นโทนที่ไม่สะสมความร้อน ส่วนโทนเข้ม ได้แก่น้ำตาลเข้ม น้ำเงินเข้ม สีแดง ดันเป็นโทนสีที่ดูดความร้อนไว้มากที่สุด ทำให้เกิดความร้อนที่วัสดุและใต้หลังคา

ผลวิจัย : https://kruvijai.files.wordpress.com/2010/11/23-eng-fiesolsupapornkonlayut.pdf


2.ช่องเปิดระบายอากาศสำหรับหลังคา

- การออกแบบให้มีช่องเปิดระบายอากาศ ช่วยลดความร้อนใต้หลังคาได้ถึง 20 องศา ในกรณีที่เป็นหลังคาทึบไม่มีช่องเปิด อุณหภูมิอยู่ที่ 60 องศา ส่วนที่มีช่องเปิดอยู่ที่ 40 องศา

- ช่องเปิดได้แก่ ฝ้าระบายอากาศชายคา , ช่องลมหน้าจั่ว , การซ้อนหลังคา 2 ชั้น 


3.ชนิดกระเบื้องที่เลือกใช้มีผลต่อการอมความร้อนคายความร้อน

- การเลือกวัสดุหลังคามีผลต่อการอมและถ่ายเทความร้อน หากวัสดุนั้นมีความหนา มวล ที่บาง เช่น หลังคาเมทัลชีท จะมีการถ่ายเทความร้อนสูงทำให้ใต้ฝ้าเพดานมีอุณหภูมิที่สูงแต่จะถ่ายเทความร้อนตอนกลางคืนได้ไว ส่วนกระเบื้องซีเมนต์ร้อนน้อยกว่าแต่พอกลางคืนก็ถ่ายเทความร้อนได้ช้ากว่า


4.การติดแผ่นสะท้อนความร้อน หรือฉนวนต่างๆ

- การติดแผ่นสะท้อนความร้อนใต้กระเบื้องมุงหลังคา ช่วยลดความร้อนที่สะสมภายในหลังคาได้เป็นอย่างดี


ผลวิจัยข้อ 2,3,4 : https://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/06/014-%E0%B8%9B%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7.pdf


5.รูปทรงหลังคา

- หลังคาที่เหมาะแก่การระบายความร้อนคือ มากที่สุดยกให้ทรงมะนิลา (หน้าจั่ว + ปั้นหยา) แบบเรือนไทย เพราะมีชายคาครบ 4 ด้าน มีหน้าจั่วเพื่อใส่ช่องระบายอากาศ

- หลังคาอีกแบบคือ หลังคา 2 ชั้นที่มีการยกหลังคาด้านบนและใส่ช่องระบายอากาศ เนื่องจากความร้อนมักลอยตัวสูงขึ้นบนสุดหลังคา การยกหลังคา 2 ชั้นช่วยพัดเอาความร้อนออกไปได้


6.การติดพัดลมระบายอากาศ

- การดูดอากาศภายในบ้านขึ้นไปบนหลังคาและดูดจากบนกระเบื้องหลังคาออกไป ถือเป็นการดูดความร้อนออกไปโดยไวและไม่ต้องรอให้อุณหภูมิภายในแบะภายนอกแตกต่างกันเหมือนกลางวันกับกลางคืนถึงจะระบายความร้อนออกไปได้


7.การเบิ้ลผนังก่อหรือผนังเบาในด้านทิศใต้และทิศตะวันตก

- เนื่องจากการเบิ้ลผนังจะเกิดช่องว่างทางอากาศ ซึ่งอากาศนี่แหละที่ทำตัวเป็นฉนวนกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง

- การจะเบิ้ลผนังก่อ 2 ชั้นควรปรึกษาวิศวกร


8.การยื่นชายคายาว

- การยื่นชายคาทางด้านทิศใต้และตะวันตก ช่วยลดแสงแดดที่จะปะทะกับกำแพงบ้านได้ ช่วยลดการอมความร้อนในตัวผนัง


9.การปลูกต้นไม้และปลูกหญ้าบริเวณนอกบ้าน

- การปลูกต้นทรงพุ่ม มีใบ ควรปลูกให้ตัวพุ่มอยู่สูงกว่าช่องหน้าต่าง เพื่อให้ลมสามารถพัดเข้าหน้าต่างได้ อีกทั้งลมที่ผ่านใต้ต้นไม้ก่อนเข้าบ้านจะถูกลดอุณหภูมิลง

- การปลูกหญ้าหรือวางวัสดุขรุขระ มากกว่าการเทคอนกรีต จะช่วยลดแสงสะท้อนจากพื้นคอนกรีตที่สะท้อนเข้าบ้านได้  (เห็นคนชอบเทคอนกรีตเป็นผืนใหญ่รอบบ้าน )


10.การไม่ขวางทางลม

- ลมนั้นมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บางที่เป็นช่องลมก็บีบมาทางทิศใต้หรือทิศตะวันตกได้เช่นกัน  ควรเปิดช่องเปิดทางด้านนี้

- ตามตำรา ตามเวปทั่วไปมักแนะนำให้เอาห้องน้ำ ห้องเก็บของวางทิศใต้ .... ลมไม่เข้าบ้านนะจ๊ะ อย่าขวางทางลม เพราะเราบังคับลมไม่ได้ จงเปิดทางรับลมจ้า


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น