วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565

EP53. 🍀แบบไหนเข้าข่ายดัดแปลงอาคารและต้องขออนุญาต☘️

 🍀แบบไหนเข้าข่ายดัดแปลงอาคารและต้องขออนุญาต☘️



ถ้าเอาตามหลักเกณฑ์ ก็แทบจะไม่มีหลังไหนที่ไม่ต้องขออนุญาต เพราะ % การคิดในแต่ละหัวข้อช่างน้อยนิด แต่ข้อดีคือ เมื่อมันต้องขออนุญาต วิศวกรก็จะต้องมาเกี่ยวข้องด้วยและต้องมาเชคโครงสร้างอาคาร ไม่ค่อยมีใครเอาอาคารใหม่มาดัดแปลงหรอก ช้ำหมด ส่วนใหญ่ก็อาคารเก่า ดังนั้นมันควรจะต้องมีวิศวกรมาเชคโครงสร้าง


อีกอย่าง เราต้องทราบและเข้าใจเบื้องต้นก่อนที่ว่า "ดัดแปลง" นั้นคือแบบไหน เพราะที่อื่นบอกแต่เนื้อหาว่ากี่ % แล้วก็แบบ อิหยังว๋ะ!! แล้วมันคิดยังไง แต่เราก็ไปสรรหารูปมาให้เข้าใจตรงกันกับเขต ท้องที่ อบต เทศบาลกันเลยว่ามันคือแบบไหน


📌แบบไหนไม่ต้องขออนุญาต? (แนะนำดูรูปประกอบ)


1.การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ


🔻เช่น คานของเดิมเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่มันผุ พัง ก็ไปแก้เป็นคานเหล็กมารับแทน 


2. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิม ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือเกินร้อยละ 10


🔻เช่น ผนังเดิมมีหน้าต่างบานใหญ่ แต่แก้ใหม่เอาหน้าต่างออกแล้วก่ออิฐปิดหมด แบบนี้ถือเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้าง


3. การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละ 10


🔻เช่น การยื่นคานออกไปทำเป็นระเบียง แบบนี้เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้คาน


4. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้น รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน


🔻เช่น พื้นบ้านของเดิมเคยเป็น Double space คือทะลุถึงกัน แต่เกิดว่าอยากจะทำเป็นพื้นที่ใช้สอยแทน ถ้าเกิน 5 ตรม. ก็เข้าข่าย


5. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตรโดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน


🔻เช่น หลังคาดาดฟ้าตึกแถวแต่ก่อนมีแค่บางส่วน ทีนี้อยากปิดเต็มๆ เกิน 5 ตารางเมตร


6. การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัยและแจ้งพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ

 

ที่มาเนื้อหา : ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(2528)ออกตามในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 65 (พ.ศ.2558) การกระทำต่อไปนี้  ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร


📌ก่อสร้าง ดัดแปลง โดยไม่ขออนุญาตมีโทษอย่างไร

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/128160066471285/?d=n


----------------------------------------------

💟รวมบทความที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน

https://www.facebook.com/100889769198315/posts/130453836241908/?d=n

-----------------------------------------------


ที่มารูปภาพประกอบ : http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan13/p3.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น